ชีวประวัติ พระอาจารย์ใหญ่ มหาปาน อานันโท อดีตเจ้าสำนักวัดมหาพุทธวงศาป่าหลวง ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
23 พฤศจิกายน 2567, 15:05:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชีวประวัติ พระอาจารย์ใหญ่ มหาปาน อานันโท อดีตเจ้าสำนักวัดมหาพุทธวงศาป่าหลวง  (อ่าน 13243 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
tar
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 352
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 284

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 63%
HP: 0.1%




ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2557, 01:55:27 »

ชีวะประวัติ พระอาจารย์ใหญ่ มหาปาน อานันโท




ชาตะ 25 ตุลาคม 1911 (พ.ศ 2454)
มรณะ 18 พฤษภาคม 1968 (พ.ศ 2511)
ชนมายุได้ 58 ปี
เพศฆารวาส 17 ปี บวชเป็นเณร 3 พรรษา
อุปสมบทเป็นพระ 38 พรรษา

ชีวิตวัยเด็ก ท้าวน้อยใจบุญ



พระอาจารย์ใหญ่ มหาปาน อานันโท มีชื่อเดิมว่า ท้าวปาน แก้วชมภู เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ 1911 ตรงกับวันพุธ มื้อขึ้น 4 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ 2454 (ปีกุล) เวลา 7 โมงเช้า บ้านเมืองพ้อง ตาแสงเมืองพ้อง เมืองสองคอน (ละหาน้ำ) แขวงสะหวันนะเขต บิดาชื่อว่า ทิดแสม แก้วชมภู มารดา ชื่อนางแต้ม ต่อมาบิดาได้รับยศเป็นเจ้าเมืองแสน มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 4 คนคือ
1.นางเม่น
2.นางเคน
3.ท้าวโปง
4.ท้าวปาน (พระอาจารย์ใหญ่ มหาปาน อานันโท)

ในวัยเด็กท้าวปานบ่ได้เรียนหนังสือ ด้วยว่าสมัยนั้น ยังบ่มีโรงเรียนรัฐ ไปทั่วเถิงในเขตชนบท ท้าวปานจึงเติบใหญ่อยู่กลางท่งนา ขี่หลังควายไปเลี้ยงแต่ละมื้อซ่อยพ่อแม่เฮ็ดเวียกไฮ่การนาอย่างดุหมั่น รับหน้าที่ดูแลสัตว์เลี้ยง หย้อนจั่งซั่นท้าวปานจึงเติบใหญ่จากการหล่อเลี้ยงด้วยความฮักแพง และผูกสัมพันธ์กับสัตว์เลี้ยงของตน พอปานว่าพวกมันเป็นหมู่เพื่อนผู้สนิทสนมของท้าว ด้วยว่าบ้านอะหอโคกเป็นบ้านน้อยๆตั้งใหม่ (แยกออกจากบ้านเมืองพ้องไป) อยู่ใกล้ป่ารกดงเสือ และแต่ละปีก็มีควายของชาวบ้านจำนวนบ่น้อย ถืกเสือมาล่าไปเป็นอาหาร ท้าวปานเติบใหญ่มาในบรรยากาศแบบนี้ เห็นสัตว์เลี้ยงที่ตนฮักแพงคุ้นเคยค่อยๆตายจากไปอย่างทุกข์ทรมาน มีความสงสารงัวควายยิ่งนัก พอเติบใหญ่เป็นบ่าวแวง ด้วยความที่อยากปกป้องคุ้มครองสัตว์เลี้ยงของตน ให้พ้นจากการราวีของเสือร้าย บ่าวน้อยปานจึงสละความม่วนซื่นในวัยหนุ่ม ขอพ่อไปเรียนมนต์ปราบเสือ จากอาจารย์ที่เป็นชาวกุลา โดยผู้เป็นพ่อต้องเสียค่าคายให้เป็นความตู้ตั้งว่าโตหนึ่ง จากนั้นบ่าวน้อยปานก็ทำหน้าที่ดูแลสัตว์ซ่อยครอบครัว มาอย่างตลอดปลอดภัย

โชคชะตากับผ้าเหลือง
เมื่อท้าวปานใหญ่เป็นบ่าวอายุ 17 ปี (พ.ศ 2471) ทิดเสม หรือเจ้าเมืองแสน ผู้เป็นบิดาก็เจ็บป่วยและเสียชีวิตอย่างกระทันหัน ท้าวปานจึงบวชเณรส่งศพพ่อในพิธีส่งสการ ทำอิดก็ว่าบวชแล้วสิกโลดแต่ทางญาติพี่น้อง แม่และเอื้อยขอให้อยู่ต่อฮอดมื้อแจกเข้า เลิกมุงคุณ สามเณรปานก็อยู่ในผ้าเหลืองต่อ ตามจิตใจปรารถนาและความร้องขอของครอบครัว แต่มื้อแจกเข้าผ่านไปแล้ว จิตใจของเณรหนุ่มก็เปลี่ยนไป ด้วยรู้ว่าการเข้ามาบวช แม่นเป็นโอกาศพิเศษสิได้เรียนหนังสือ ท่านจึงขออยู่ต่อ คิดว่าพออ่านออกเขียนได้แล้วจึ่งสึก และอันนี้ก็สอดคล้องกับความมุ่งหวังของญาติพี่น้อง ที่อยากให้มีสมาชิกในครอบครัวบวชเรียน สมเณรปานเริ่มมีความคิดอยากจะเรียนหนังสือให้รู้เทศน์ รู้สูตรธรรมหลายขึ้นแล้ว ดังนั้นจึงอยู่ต่อมาจนอายุครบ 20 ปี ก็ได้สมบทเป็นพระภิกษุ ในปี ค.ศ 1931 (พ.ศ 2574) นั้นเอง โดยได้รับฉายาว่า คูบาปาน อานันโท โดยแม่นยาท่านเกด เป็นเจ้ามูลศรัทธาสร้างกองบวชถวาย และยาท่านจันทา เป็นองค์อุปัชฌาย์ ยาท่านจูม เป็นกรรมวาจาก้ำขวา ยาท่านสิ้วเป็นกรรมวาจาก้ำซ้าย

ในการตัดสินใจบวชเรียนนี้ คูบาปาน ได้ตั้งปณิธานหมั้นแก่นว่า จะต้องศึกษาร่ำเรียนให้สำเร็จ 3 อย่างนี้ เป็นต้นคือ
1.เป็นนักเทศน์เสียงดี เพื่อเผยแผ่ธรรมะ
2.เรียนมูลกัจจายนะ (มูลเดิม) ให้ได้
3.อยู่ให้ครบ 4 ปี เพื่อว่าถ้าสึกออกมาก็จะสามารถเป็นหมอลำ ลำแก้โจทย์ได้

ดั่งนั้นเมื่อเป็นภิกษุมีพรรษาแล้ว ก็ออกแสวงหาซอกสำนักวัด บ่อนมีคูบาอาจารย์ส่าลือ ในเขตภาคใต้ของลาวหลายสำนัก เช่น วัดบ่หิน วัดเสาลีก วัดหัวดง ในเขตเมืองอุบล (ประเทศไทย) วัดสีทอนจนเรียนสำเร็จคัมภีร์ทั้งห้า ตามหลักสูตรมูลเดิม แล้วกลับมาตั้งโรงเรียนปรับปรุการสอนมูลกัจจายนะอยู่ที่บ้านเมืองพ้อง จากนั้นก็ขึ้นมาเวียงจันทร์ในปี ค.ศ 1935 (พ.ศ 2480) เพราะได้รู้ข่าวว่าอยู่เวียงจันทร์มีโรงเรียปริยัติธรรม ของพุทธบัณฑิตสภา จันทะบุรี ที่วัดจัน โดยมีสมเด็จเจ้าเพชรราช เป็นนายกสภา และมีคูอาจารย์ เช่น มื้อลางท่านยาพ่อมหาแก้ว ราชวงศ์ มื้อลางท่านมหาสิลา วีระวงศ์ เป็นต้นสอนอยู่

ฮอดปี ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) สอบได้ประกาศนียบัตรประถมปริญญาเอก มหาเปรียญ 3 ประโยค ที่สำนักวัดจันทร์ เวียงจันทร์ และได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนบาลี อยู่วัดอูบมุง เพราะขณะนั้นแม่นทางพุทธบัณฑิตสภา จันทะบุรีกำลังขยายโรงเรียนปริยัติธรรมออกทั่วประเทศ ในขณะที่สอนอยู่นี่พระอาจารย์ใหญ่มหาปาน ก็สืบต่อศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดจันทร์และไปสอบทุกๆปี เถิงฮอด ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2487) ท่านก็สอบได้มหาเปรียญ 6 ประโยคเวลานั้นอยู่สำนักวัดจันทร์ ยังบ่มีชั้นธรรมสูงกว่านี้ จึงยุติการเรียน แล้วออกเทศนาสั่งสอนออกตนญาติโยมในบ้านต่างๆ โดยจำพรรษาอยู่วัดเวียงแว่บ้านสีฐานเหนือ เมืองสีโคดตะบอง รวมเป็นเวลา 3 ปี นับรวมกับเวลาศึกษาร่ำเรียนและเทศนาสั่งสอนเผยแผ่พระธรรมคำสอนที่เวียงจันทร์เป็นเวลา 9 ปี


พลัดพรากเพื่อศึกษา

ใน ค.ศ. 1946 (พ.ศ. 2489) เกิดกรณีพิพาดระหว่างฝรั่งกับสยาม มีสงครามกลางเมืองย่อยๆ มีระเบิดแตกอยู่กลางเมืองเวียงจันทร์และมาตกใส่ที่วัดเรื่อยๆ พระอาจารย์ใหญ่มหาปาน อานันโท เห็นว่าบ่ปลอดภัย จึงตัดสินใจหนีศึกข้ามไปอำเภอศรีเชียงใหม่ (ฟากน้ำของเบื้องตรงกันข้าม) พร้อมด้วยพระอาจารย์สีทน พระอาจารย์มหาสมบูรณ์ โดยพักเซาอยู่เมืองศรีเชียงใหม่คืนหนึ่งก็ล่องเรืออีก 2 คืนจึ่งฮอดเมืองหนองคาย ได้เข้าพักอยู่วัดโพธิ์ชัย และจำพรรษาอยู่ที่นั้นจนฮอด ค.ศ 1951 (พ.ศ. 2494)

ในระหว่างนี้ ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัด มิคะทายะวัน บ้านน้ำสวยดงแขม พระอาจารย์มหาปานได้ทดลองปฏิบัติวิปัสนาธุระ โดยอดเข้าฮอด15มื้อ แต่บ่บรรลุผล เมื่อยอ่อนทรมานร่างกายเกินไป จึงเปลี่ยนวิธีการเยียวยาร่างกาย แล้วตัดสินใจเดินทางไปบางกอก ติดต่อหาวัดบ่อนที่จะได้ศึกษาทางวิปัสนากัมมัฏฐานอันลึกซึ้ง ในที่สุดก็ได้ไปอยู่วัดมหาธาตุ บางกอก ประเทศไทย สำนักของพระพิมลธรรม (พระพิมลธรรม อาจ อาสภเถระ) โยมีพระภาวนาพิรามะเถระ (สุก ปวโร) เป็นวิปัสนาจาร ณ ที่นี้เองที่พระอาจารย์ใหญ่มหาปาน ได้ศึกษาร่ำเรียนพระอภิธรรมรำพระอาจารย์ชาวพม่าด้วย

ในเวลาเพียง 7 เดือน พระอาจารย์ใหญ่ มหาปาน สำเร็จการศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างมีผลอันดีแล้วก็ได้รับนิมนต์ขึ้นธรรมมาสเทศนาทดลองความปรีชาสามารถอยู่ที่วัดมหาธาตุระยะหนึ่ง มาฮอด ค.ศ. 1954 (พ.ศ 2496) ออกตนญาติโยมเมืองหนองคาย บ้านดงแขม ก็ไปนิมนต์ขอเอาพระอาจารย์ใหญ่ คืนมาอยู่หนองคายอีก เมื่อมาอยู่วัดบ้านดงแขมแล้ว พระอาจารย์ใหญ่ก็จัดการเผยแผ่วิปัสนากัมมัฏฐานออกอย่างกว้างขวาง เฮ็ดให้เกิดมีศรัทธาและมีชื่อเสียงโด่งดัง ในฐานะพระนักปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน มีเจ้าศรัทธาออกตนญาติโยมถวายทานสร้างกุฏิ อยู่วัดเนินพะเนาว์ ในเมืองหนองคายขึ้นฮอด 25 หลัง

ด้วยความคึดห่วงหาบ้านเก่าเมืองเกิดอยู่บ่แล้ว พระอาจารย์ใหญ่มหาปาน จึ่งเทียวข้ามฝั่งมาเวียงจันทร์ ทั้งเยี่ยมยามและเทศนาสั่งสอนออก

ตนญาติโยม วัดที่เคยอยู่จำพรรษาแต่ก่อนเช่น วัดอูบมุง วัดสีฐาน วัดเซียงแว่ จนเป็นที่ส่าลือกันทั่วเมืองเวียงจันทร์

คืนสู่ปิตุภูมิ
ฟื้นฟูวัดมหาพุทธวงศาป่าหลวง เวียงจันทร์ใน พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) ออกตนญาติโยมเถ้าแก่อาวุโสในเมืองเวียงจันทร์ ยาพ่อ พิมโพ พิลา พันเดด เป็นเถ้าได้พร้อมกันไปนิมนต์พระอาจารย์ใหญ่คืนมาอยู่ประเทศชาติบ้านเกิด เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสอนสืบต่อไป เซิ่งเผิ่นกะบ่ขืนศรัทธา หลังจากคืนมาแล้วทำอิดเพิ่นกะได้ไปจำพรรษาอยู่ วัดสว่างธรรมาวาศ ต่อมาได้ค้นหาสถานที่บ่อนเหมาะสม เพื่อตั้งสำนักวิปัสนากัมมัฏฐาน ให้เป็นศูนกลางแห่งการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาอยู่ประเทศลาว พอดีมาพ้อวัดเก่าแห่งหนึ่งเซิ่งเกือบร้องไปแล้ว แต่เป็นวัดที่มีมาแต่โบราณการ จึงได้ตกลงบูรณะปฏิสังขรณ์คืนคือ วัดมหาพุทธวงศาป่าหลวง หรือวัดโสกป่าหลวงในปัจจุบัน


วัดมหาพุทธวงศาป่าหลวง เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีมานานแต่สมัยก่อนคือวัดพุทธวงศาป่าหลวง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของนครหลวงเวียงจันทร์ ตามหนังสือของอุรังคธาตุบอกว่าวัดแห่งนี้ เป็นวัดพระอรหันต์สมัยก่อน มีลวงกว้างหนึ่งหลักกิโลเมตรมณฑล มีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อว่า พระมหาพุทธวงศ์ องค์เป็นใหญ่อยู่วัดนี้แต่คราวก่อน เซิ่งมีใบประวัติศาสตร์ชาติลาวล้านช้าง มีอายุการณ์ผ่านมาประมาณ 300 กว่าปีล่วงแล้ว โดยมีพระราชครูโพนสะเม็ก หรือพระครูโพนสะเม็ก (ยาคูขี้หอม) เป็นผู้ให้กำเนิด แต่การเวลาที่บ้านเมืองถืกเผาผลาญ และถืกทำลายมาหลายครั้งหลายคราว ถืกปะปล่อยเป็นป่ารกร้าง หลายเป็นสวนเป็นนาประชาชนไปส่วนหนึ่ง ยังหลงเหลือแต่ซากสิมเก่า พระเจ้าห้าพระองค์ ฯลฯ ยังมีให้เห็นเซิ่งชาวบ้านก็บ่ได้ทำลาย จากการสำรวจทางโบราณคดีร่วมกับคณะสงฆ์และบ้านเมือง ก็ลงความเห็นว่า ควรบูรณะวัดนี้ขึ้นเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนา ฝ่ายวิปัสนากัมมัฏฐานขึ้น จึ่งนำความไปเจริญพร รายงานต่อพระยาคำม้าว พระยาคำม้าวจึ่งเห็นว่าขอนิมนต์พระอาจารย์ พยายามแผ่ผายเอานำออกตนญาติโยมตื่มให้กว้างเท่าที่จะกว้างได้ ให้เถิงขอบเขตเก่าของวัด

ด้วยบารมีธรรมที่สูงส่งคือ ความเยือกเย็นแห่งพลังเมตตาจิตของพระอาจารย์ใหญ่มีต่อ สัพสัตว์ได้แผ่รัศมีออกไปอย่างบ่มีขอบเขต ญาติโยมที่ศรัทธาเลื่อมใสก็บริจาค ที่ดินให้เพื่อให้เป็นที่ก่อสร้างที่พัก เป็นกุฏิชั่วคราขึ้น แล้วต่อมาก็กลายเป็นกุฏิถาวรหลายขึ้น ตามลำดับชาวบ้านผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในที่ดินทั้งหลายก็พากันมอบถวาย ให้พระอาจารย์ได้เนื้อที่วัดรวมทั้งหมด ประมาณ 625 ไร่





จึ่งอาจเว้าได้ว่านับแต่ พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1958) เป็นต้นมา พระพุทธศาสนาในประเทศลาว ได้ฟื้นฟูชูชีพขึ้นมาอีก หลังจากยุคพุทธบัณฑิตสภา จันทะบุรี และโรงเรียนปริยัติธรรมต่างๆ ที่ก่อตั้งมาแต่สมัยนั้น เสื่อมถอยลงหย้อนภาวะสงครามและเหตุการณ์ความบ่สงบภายใน และในครั้งนี้แม่นมีสำนักวัดมหาพุทธวงศษป่าหลวงเป็นศูนย์กลาง และมีพระอาจารย์ใหญ่ มหาปาน อานันโท เป็นเจ้าสำนัก มาฮอด พ.ศ. 2500 สำนักวิปัสนากัมมัฏฐานก็แผ่ขยายออกไปในแขวงต่างๆ คือ เวียงจันทร์ คำม่วน วัดตะปือ หลวงพระบาง แและสะหวันนะเขต ทั้งหมดมีเถิง 19 แห่ง (บ่รวมสำนักแขวงหนองคายอีก 11 แห่ง)

ในการดำเนินภารกิจอันสำคัญแห่งการเผยแผ่พุทธรรมคำสอนนี้ พระอาจารย์ใหญ่ก็ได้นำพา บรรดาศิษย์ศานุศิษย์ ออกตนญาติโยม วารสารชื่อว่า "พุทธวงศ์" ออกเผยแผ่อยู่เป็นเวลา 9 ปี

พระอาจารย์ใหญ่ มหาปาน อานันโม บ่เพียงแต่เป็นเจ้าสำนักวัดมหาพุทธวงศาป่าหลวง เท่านั้น แต่ท่านยังได้ขยายกิจการเผยแผ่คำสอนพุทธศาสนา ให้กว้างออก ตามที่ท่านได้ตั้งปณิธานไว้อย่างมีผลสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ ดังนี้
1.ขยายสำนักวิปัสนากัมมัฏฐานออกได้ใน 4 แขวง
2.จัดตั้งโรงเรียนพระอภิธรรม
3.จัดตั้งโรงเรียนเลี้ยงเด็กอนาถา (กำพร้า)
4.จัดตั้งโรงเรียนอบรมศีลธรรมเยาวชน วันอาทิตย์
5.จัดตั้งกระบอกเสียงเผยแผ่ธรรมะ คือ วารสาร "พุทธวงศ์"
6.จัดตั้งพระพุทธรูปใหญ่ให้เป็นหอสมุด



นอกจากนี้ยังมีสิ่งก่อสร้างเป็นอาคารวัตถุ เพื่อศาสนกิจอีกหลวงหลาย เป็นต้นกุฏิสำหรับนักปฏิบัติธรรม พัทธสีมา หอไหว้ ศาลาโรงธรรมสำนักพุทธวงศ์ หอสมุดชั่วคราว โรงเรียนปริยัติธรรม เรือนเยาวชน เรือนพักนักปฏิบัติธรรม

ในขณะดำรงค์ตำแหน่งในคณะบริหารเผยแผ่พระพุทศาสนาแห่งนี้ พระอาจารย์ใหญ่ มหาปาน ได้เดินทางไปร่วมกองประชุมเกี่ยวกับพุทธศาสนาระดับนานาชาติหลายครั้ง เช่น อินเดีย กัมพูชา สีลังกา ไทย





แต่แล้วในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) นั้นเอง พระอาจารย์ใหญ่ได้เกิดอาพาธ เจ็บท้องและถืกนำส่งเข้าปัวที่โรงหมอเชษฐาธิราช (โอบี) ในทันที ท่านหมอบ่งมติพพะยาด (โรคภัยของเพิ่น) ว่าเป็นพะยาดเกี่ยวกับตับ การปัวดำเนินตต่อฮอดเช้าวันที่ 18 เดือนเดียวกันนั้นความเจ็บป่วยก็บ่ทุเลาเบาบางลง แล้วพระอาจารย์ใหญ่ มหาปาน อานันโท ผู้มีชีวิตรุ่งเรื่องในพรหมจรรย์ ที่มีอุปการคุณอันยิ่งใหญ่ต่อชาวพุทธลาว ก็ได้อำลาจากโลกนี้ไปอย่างสงบ ท่ามกลางความเศร้าโศกของบรรดาศิษย์สานุศิษย์ พ่อแม่พี่น้องชาวพุทธบริษัท ที่จะจารึกจดจำคุณงามความดีอันมากมาย ของพระอาจารย์ใหญ่ ไว้อย่างบ่มีมื้อจืดจาง

สรุป
ตลอดในระยะเวลา 11 ปี แห่งการเป็นเจ้าสำนักวัดมหาพุทธวงศาป่าหลวง เวียงจันทร์ พระอาจารย์ใหญ่ มหาปาน อานันโท ได้สำเร็จภารกิจ อันสูงส่งของท่าน ด้วยการเพิ่มพูลบารมีแก่กล้า มีลูกศิษย์และศรัทธาญาติโยมอยู่ทั่ ประเทศ มีผลงานที่เป็นบทเทศนาโอวาทคำสอน เซิ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนา เป็นมูลมรดกให้แก่พุทธศาสนิกชนลาวรุ่นหลัง ได้ศึกษาเรียนรู้อย่างหลวงหลาย





**หากท่านต้องการประวัติพระอาจารย์ใหญ่แบบฉบับเต็มไปหาอ่านได้ในหนังสือ ชีวิตและผลงานของพระอาจารย์ มหาปาน อานันโท
เรียบเรียงโดย: พระอาจารย์ ทองพันวะระโท (สุก ไชยะราช)
พิมพ์เป็นธรรมทานเนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตะการของพระอาจารย์ใหญ่ มหาปาน อานันโท
ตุลาคม นครหลวงเวียงจันทร์ ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553)
จัดพิมพ์โดย: โครงการพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนา (ค.พ.พ)


**แปลไทยโดย จันดี สีเวินไชย  wan-e042

thxby15841ส่องสนามเมืองนักปราชญ์, บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน, PN3, คนโก้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 กุมภาพันธ์ 2557, 02:39:32 โดย tar » บันทึกการเข้า

รับเช่าพระลาวยอดนิยม http://www.fb.com/tar.kamanit
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!