***ประวัติหลวงปู่เกลี้ยง เตชธัมโม*** ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
25 พฤศจิกายน 2567, 08:15:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ***ประวัติหลวงปู่เกลี้ยง เตชธัมโม***  (อ่าน 31981 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
konlathai
Full Member
***

พลังน้ำใจ : 57
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 77

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 7 : Exp 9%
HP: 0%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 16 สิงหาคม 2555, 15:32:52 »


      ประวัติหลวงปู่เกลี้ยง เตชธัมโม     วัดศรีธาตุ (โนนแกด) บ้านโนนแกด ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

     เดิมชื่อ เกลี้ยง คุณมานะ เกิดวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๔๕๐  ณ บ้านก้านเหลือง ตำบลหมากเขียบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
เป็นบุตรของนายบุญมี คุณมานะ และนางผิว คุณมานะ มีพี่น้องทั้งหมด ๗ คนด้านการศึกษา
     หลวงปู่เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาในโรเรียนวัดบ้านโนนเกด  จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และเรียนต่อ ม.๓ จบในปี ๒๔๖๖ จึงออกมาช่วย  มารดาประกอบอาชีพ เพื่อช่วยเหลือครอบครัว ในปี พ.ศ.๒๔๖๗ ทางราชการ รับสมัครผู้ที่จบประถมปีที่ ๔ เข้าสมัครเป็นครูช่วยสอน หลวงปู่ไปสอบและสอบผ่านจึงได้มีโอกาสเป็นครูช่วยสอน ครั้งแรกที่โรงเรียนบ้านโนนแกด สอนได้สองเดือน ทางราชการให้ย้ายไปช่วยสอนที่โรงเรียนบ้านโพรง ตำบลไพรบึง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเวลา ๓ ปี ๖ เดือน

การศึกษาด้านธรรม
     ในขณะที่สอนหนังสืออยู่นั้น สุขภาพร่างกายของหลวงปู่ไม่ค่อยสู้ดีนักจึงขอลาออกมาเพื่อรักษาตัว เมื่อสุขภาพดีขึ้นแล้ว หลวงปู่จึงขอลาบวชสามเณรที่วัดบ้านโนนแกด ด้วยความยากเรียนต่อ กอปรกับได้เคยทำการสอนมาแล้วจึงมองเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงขออนุญาตเจ้าอาวาสไปเรียนนักธรรมที่วัดบ้านดวนใหญ่ กิ่งอำเภอวังหิน (ในขณะนั้น) จังหวัดศรีสะเกษเรียนนักธรรมตรีที่สนามหลวง ซึ่งมีพระ สามเณร ไปสอบจำนวน ๔๗ รูปปรากฏว่า หลวงปู่เกลี้ยงและพระภิกษุสิงห์ สอบผ่านแค่ ๒ รูป เท่านั้นจากนั้นก็เรียนต่อนักธรรมโทที่จังหวัดบุรีรัมย์ ในขณะที่ศึกษานักธรรมโทอยู่นั้นทางราชการก็มีหมายเรียกให้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร หลวงปู่จำเป็นต้องลาสิกขาด้านความรู้ความสามารถพิเศษ
     หลวงปู่ได้อาศัยความรู้เดิมประสบการณ์ที่เคยมีนาในขณะรับราชการทหาร เคยออกรบสงครามมหาเอเชียบูรพา ในการรักษาพยาบาล หลวงปู่ช่วยชาวบ้านรักษาพยาบาลด้วยสมุนไพร ผู้คนที่เจ็บป่วยก็หายป่วย จึงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปจนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา

การอุปสมบท
     เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๘ หลวงปู่ได้อุปสมบท ณ วัดบ้านแทง ตำบลซำอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีพระเกษตรศีลาจารย์ วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ ขณะอายุ ๖๗ ปี  หลวงปู่ได้รับสมณศักดิ์ พระครูโกวิทพัฒโนดม พร้อมตาลปัตรพัดยศ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๔ ถึงปัจจุบัน




* 00003.jpg (12.62 KB, 263x191 - ดู 7128 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
chanatip
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2555, 10:17:17 »

เมตตา วาจาสิทธิ์ อายุยืน รวยสมปรารถนา

?พระธาตุวัดบ้านโนนแกด? เป็นโบราณสถานที่มีความเก่าแก่แห่งหนึ่งใน จ.ศรีสะเกษ เดิมเป็นพระธาตุที่ก่อด้วยอิฐทั้งองค์ มีลักษณะคล้ายพระธาตุพนม ส่วนยอดจะกลม ที่ยอดพระธาตุจะมีฉัตรสำริดหลายชั้นและมีกระดิ่งโลหะเมื่อลมพัดจะมีเสียงดัง ในทุกวันพระจะมีแสงลอยออกจากยอดพระธาตุ จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านให้ความนับถือแห่มากราบไหว้สักการบูชาตลอดอย่างต่อเนื่อง แต่ต่อมาองค์พระธาตุได้ล้มลงมาในช่วงเวลาใกล้เคียงกับพระธาตุพนมล้ม ชาวบ้านที่เคยไปเคารพกราบไหว้ต่างรู้สึกเสียดายได้ช่วยกันนำชิ้นส่วนที่สำคัญเก็บไว้

ต่อมาในสมัยที่ หลวงปู่เกลี้ยง เตชธมฺโม หรือ พระครูโกวิทพัฒโนดม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน มาจำพรรษาที่วัดบ้านโนนแกด ได้มีศรัทธาร่วมกับคณะกรรมการวัดและพระผู้ใหญ่ในจังหวัด วางแผนบูรณะ โดยเชิญเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร มาดำเนินการขุดกรุฐานองค์พระธาตุ พบโบราณวัตถุมีค่ามากมาย อาทิ พระพุทธรูปทองคำ ๑๖ องค์ ผอบบรรจุพระบรมธาตุ ๑ ใบ พระพุทธรูปเงิน ๑ ถาด บาตรพระ ๓ ใบ ดาบโบราณ ๑ เล่ม แหวนประดับพลอย ๔ วง และอื่น ๆ อีกหลายรายการ จึงได้จัดสร้างห้องเก็บไว้ อย่างปลอดภัย

เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรที่ดำเนินการขุด ให้ความเห็นว่าพระธาตุบ้านโนนแกดมีอายุกว่า ๑,๔๐๐ ปี ก่อนล้มลง เคยได้รับการบูรณะมาแล้ว ๑ ครั้ง การบูรณะครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นการบูรณะครั้งที่ ๒ องค์พระธาตุวัดโนนแกดนั้นเป็นที่ศรัทธาของประชาชนชาวเมืองศรีสะเกษและใกล้เคียงมาก เช่นเดียวกับ ?หลวงปู่เกลี้ยง? ที่มีอายุ ๑๐๓ ปี มีญาติธรรมจากทั่วประเทศเดินทางมากราบนมัสการขอพรเป็นประจำ เป็นพระสงฆ์นักพัฒนาและมีวิชาความรู้ทางด้านพระคาถาอาคมที่นำมาช่วยสงเคราะห์ชาวบ้าน

หลวงปู่เกลี้ยง เป็นชาวบ้านก้านเหลือง ต.หมากเขียบ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ มีนามเดิมว่า ?เกลี้ยง คุณมานะ? เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๔๕๑ หลังเรียนจบมัธยม ๓ เข้าเป็นครูช่วยสอนที่โรงเรียนบ้านโนนแกด สอนได้ประมาณ ๒ เดือน ทางราชการให้ย้ายไปช่วยสอนที่โรงเรียนบ้านโพรง ต.ไพรบึง อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ เป็นเวลา ๓ ปี ๖ เดือน

ในช่วงที่สอนหนังสืออยู่นั้น สุขภาพร่างกายของท่านไม่ค่อยดีนัก จึงขอลาออกมารักษาตัว เมื่อสุขภาพดีขึ้นแล้ว ได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านโนนแกด ท่านเล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา อีกทั้งมีประสบการณ์ด้านการสอนมาแล้ว จึงขออนุญาตเจ้าอาวาสไปเรียนนักธรรมที่วัดบ้านดวนใหญ่ กิ่งอำเภอวังหิน จ.ศรีสะเกษ

หลังจากนั้นหลวงปู่เกลี้ยง ได้เข้ากรุงเทพฯไปเรียนนักธรรมตรีที่สนามหลวง โดยมีพระภิกษุสามเณร ไปสอบ ๔๗ รูป ปรากฏว่าหลวงปู่เกลี้ยงและพระภิกษุสิงห์ สอบผ่านแค่ ๒ รูป เท่านั้น เมื่อจบแล้วได้กลับมาเรียนต่อนักธรรมโทที่จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ยังไม่ทันสำเร็จ ทางราชการก็มีหมายเรียกให้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร ท่านจึงลาสิกขาออกไปช่วยชาติ หลังปลดประจำการแล้ว ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษที่เคยมีมาในขณะรับราชการทหาร สมัยออกรบสงครามมหาเอเชียบูรพา ช่วยชาวบ้านรักษาพยาบาลด้วยสมุนไพรจนหายจากการเจ็บป่วยจำนวนมาก ทำให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ขณะอายุ ๖๗ ปี หลวงปู่เกลี้ยงได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านแทง ต.ซำ อ.เมือง จ.ศรีสะ เกษ โดยมีพระเกษตรศีลาจารย์ วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม ต.เมืองใต้ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูประศาสน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์บุญทัน เป็นพระอนุสาวนา จารย์ ได้ฉายาว่า ?เตชธมฺโม? จากนั้นได้เริ่มศึกษากรรมฐานโดยออกธุดงค์ไปเรียนวิชาจากหลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ชอบ รวมทั้งหลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์ สุดยอดเกจิอาจารย์แห่งบุรีรัมย์ จนมีความชำนาญทั้งด้านพระกรรมฐาน และพุทธาคม จากนั้นได้เดินทางมาอยู่ที่วัดบ้านโนนแกด

หลวงปู่เกลี้ยง ไม่เคยหยุดนิ่งในการช่วยเหลืองานพระศาสนา และงานเพื่อส่วนรวมของประชาชน โดยเฉพาะงานบูรณะพัฒนาวัดโนนแกด ได้สร้างสรรค์และนำความเจริญมาสู่วัดจนเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน อีกทั้งยังให้ความเมตตาช่วยเหลือวัดวาอารามต่าง ๆ ใน จ.ศรีสะเกษอย่างเต็มที่ และที่ผู้คนยอมรับนับถืออย่างมากก็คือ การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบเคราะห์ชะตากรรมต่าง ๆ ด้วยตำรับยาแพทย์แผนโบราณ อีกทั้งเป็นพระที่สำเร็จอภิญญาญาณ สามารถทำนายทายทักเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ และมีวาจาสิทธิ์ พูดคำไหนเป็นคำนั้น โดยลูกศิษย์หลาย ๆ คนได้พบเจอประสบการณ์ความมหัศจรรย์ในตัวหลวงปู่เกลี้ยง

นอกจากนี้ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ดำรงตนแบบสมถะ ไม่ยึดติดในลาภยศสรรเสริญ มักจะสั่งสอนญาติโยมด้วยข้อธรรมชี้นำแนวทางแห่งการสร้างความดี เพื่อใช้การดำเนินชีวิต ด้วยคุณงามความดีได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ ?พระครูโกวิทพัฒโนดม? พร้อมตาลปัตรพัดยศ เมื่อ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๔ และเนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธ.ค. ๕๒ มหาเถรสมาคมมีมติให้เลื่อนชั้นจากตำแหน่งพระครูเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอก เป็นเทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก เนื่องจากหลวงปู่เกลี้ยงมีอายุมากถึง ๑๐๓ ปีแล้ว จึงได้นำพระบัญชา
ตราตั้งมาถวายแก่หลวงปู่เกลี้ยงที่วัด

บันทึกการเข้า
chanatip
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2555, 10:19:28 »

พระธาตุบ้านโนนแกด
   
   สถานที่ :: วัดบ้านโนนแกด ตำบลทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
   
   การเดินทาง :: จากจังหวัดศรีสะเกษ ถนนศรีสะเกษ-กันทรลักษ์ 8 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามถนนราดยางสาย หนองแคน-จันลม 7 กิโลเมตร  ถึงบ้านโนนแกดเลี้ยวขวาเข้าวัดบ้านโนนแกด 500 เมตร
   
  รายละเอียด :: พระศรีธาตุ เดิมเป็นพระธาตุที่ก่อด้วยอิฐทั้งองค์ จากการบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ ในบ้านโนนแกดเล่าว่าในสมัยที่ตนเองยังเป็นเด็กพระธาตุองค์ เดิมที่ยังมสภาพสวยงามลักษณะคล้ายพระธาตุพนม แต่ส่วนยอดจะกลมที่ยอดพระธาตุจะมีฉัตรสำริดหลายชั้นและ มีกระดิ่งโลหะเมื่อลมพัดจะมี เ สียงดัง ในทุกวันพระจะมีแสงลอยออกจากยอดพระธาตุ ชาวบ้านจึงเคารพ นับถือมากราบไหว้ สักการะบูชา ต่อมามีพวกกุลาเอาปืนมายิงกระดิ่งที่แขวนอยู่ฐานฉัตรบนยอดพระธาตุแล้วเอากระดิ่งไป ต่อมาพระธาตุได้ ล้มลงมาในช่วงเวลาใกล้เคียงกับพระธาตุพนม จังหวัดนครพนมล้มลงนั่นเอง ชาวบ้านชาวเมืองที่เคยไปเคารพกราบไหว้ต่างรู้สึกเสียดายและ ได้ช่วยกันนำชิ้นส่วนที่สำคัญเก็บไว้
   
   ท่ามกลางความเสียใจของพุทธศาสนิกชนนั้น หลวงปู่เกลี้ยง ได้มาจำพรรษาที่วัดบ้านโนนแกดและมีศรัทธาแรงกล้าที่จะบูรณะพระธาตุเจดีย์ ให้กลับมาดังเดิม จึงได้ร่วมกับคณะกรรมการวัดและพระผู้ใหญ่ในจังหวัดศรีสะเกษวางแผนบูรณะ โดยเชิญเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร มาดำเนินการขุดกรุฐานองค์พระธาตุ พบวัตถุโบราณมีค่ามากมาย อาทิ พระพุทธรูปทองคำ 16 องค์ ผอบบรรจุ พระบรมธาตุ 1 ใบ พระพุทธรูปเงิน 1 ถาด บาตรพระ 3 ใบ ดาบโบราณ 1 เล่ม แหวนประดับพลอย 4 วง และอื่นๆ อีกหลายรายการ จึงได้จัดสร้างห้องเก็บไว้ อย่างปลอดภัยจนถึงปัจจุบัน อายุพระธาตุ
   
   จากการลงความเห็นของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรที่ดำเนินการขุด ให้ความเห็นว่าพระธาตุ บ้านโนนแกดมีอายุกว่า 1400 ปี ก่อนล้มลงเคยได้รับการบูรณะมาแล้ว 1 ครั้ง การบูรณะครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ. 2527  เป็นการบูรณะครั้งที่ 2 ปัจจุบันประชาชนมีความเลื่อมในศรัทธาในองค์พระธาตุ และหลวงปู่เกลี้ยงเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ จึงมีญาติธรรมจากทั่วประเทศมานมัสการขอพร เป็นประจำ ความสำคัญ เป็นโบราณสถานที่เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วประเทศ  เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าทางด้านพระพุทธศาสนา ในภูมิภาค และในจังหวัดศรีะเกษ และศึกษาชุมชนโบราณและพัฒนาการของชุมชน
   
   ในบริเวณพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเมื่อต้นเดือน กันยายน 2548 นายชัยขรรค์ สีลวานิช นักโบราณคดีและคณะได้เดินทางไปสำรวจแหล่งโบราณคดีที่หมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง ได้สอบถามหลวงปู่เกลี้ยง  เจ้าอาวาสวัด และคณะกรรมการวัด หลวงปู่เล่าว่าพื้นที่บริเวณบ้านโนนแกด บ้านโนนตูม ชาวบ้านขุดค้นพบ วัตถุโบราณจำนวน มาก มีนักสะสม วัตถุโบราณมาซื้อถึงบ้าน บางแห่งขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณก็ได้นำกระดูก ขึ้นมาเผาทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปแล้วก็มีส่วนหม้อดิน คนโท โบราณและเครื่องเคลือบดินเผาบางส่วนได้นำมามอบให้หลวงปู่ เก็บรักษาไว้หลวงปู่ได้นำมาให้ นายชัยขรรค์ สีลวานิช  พิจารณาอายุ พบว่า เป็นภาชนะดินเผาลายเชือกทาบสีแดง 21 ใบ และแบบผิวเรียบ 1 ใบ สภาพสมบูรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นภาชนะดินเผา ยุคก่อนประวัติศาสตร์รุ่นเดียวกับ ภาชนะดินเผาบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีอายุประมาณ 3000 ปี ส่วนคนโทเท้าช้าง ไหสี่หู และกระปุกดินเผาเคลือบ เป็นภาชนะขอมโบราณอายุกว่าพันปี

บันทึกการเข้า
chanatip
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2555, 10:29:29 »



วัตถุมงคล หลวงปู่เกลี้ยง เพียง ๑๘ รุ่น ที่กล่าวถึง

๑.รุ่นแรก พ.ศ.๒๕๑๙
๒.รุ่นพิเศษ พ.ศ.๒๕๒๓
๓.พระสมเด็จพระธาตุ พ.ศ.๒๕๒๘
๔.รุ่น ๙ดี ๑๐ ดี พ.ศ.๒๕๓๒
๕.รุ่นเกลี้ยงทุกข์ พ.ศ.๒๕๓๕
๖.รุ่นหน้าหนุ่ม พ.ศ.๒๕๓๖
๗.ล็อคเก็ต รุ่นแรก พ.ศ.๒๕๓๖
๘.สมเด็จรูปเหมือน รุ่นแรกพ.ศ.๒๕๓๖
๙.รุ่นเกลี้ยงภัย พ.ศ.๒๕๓๘
๑๐.รุ่น พญาหนุมาน พ.ศ.๒๕๓๘
๑๑.รุ่นเกลี้ยงทุกข์(ไม่มีตัวเลข)พ.ศ.๒๕๓๘
๑๒.รูปเหมือนหล่อโบราณ พ.ศ.๒๕๔๐
๑๓.นั่งพาน หล่อโบราณ พ.ศ.๒๕๔๐
๑๔.รุ่นเกลี้ยงหนี้ พ.ศ.๒๕๔๒
๑๕.สมเด็จรูปเหมือนรุ่น๒ พ.ศ.๒๕๔๒
๑๖.รุ่นเกลี้ยงโศก พ.ศ.๒๕๔๕
๑๗.พระบูชารุ่นแรก พ.ศ.๒๕๓๑
๑๘.พระบูชา รุ่น ๒ พ.ศ. ๒๕๓๗

ข้อมูลจาก : จุ้ย เหลนปู่เกลี้ยง


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!