?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
21 พฤศจิกายน 2567, 19:03:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
 81 
 เมื่อ: 03 กันยายน 2567, 06:09:52 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit

ทำความรู้เท่าอยู่
เห็นโทษในการที่จิตจะก้าวไปนั้น
เห็นโทษในการที่จิตอยู่นี่
เห็นโทษทั้งหน้าและหลัง
จึงปล่อยวางตรงนี้เรียกว่า ตัดกระแสจิตไม่ให้มันก้าวไปเกิด
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

 82 
 เมื่อ: 03 กันยายน 2567, 06:04:44 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
เราถือพุทธศาสนา
เลื่อมใสเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนานั้น
เชื่อมั่นถึงขนาดไหนกัน
ให้พากันตั้งปัญหา
ถามขึ้นในใจของตน
แล้วตรวจตราดูความเชื่อมั่นของตน
นี่เป็น หลักสำคัญ
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๖

 83 
 เมื่อ: 02 กันยายน 2567, 06:48:22 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
กิเลสมิใช่จิต จิตไม่ใช่กิเลส
แต่จิตไปยึดเอากิเลสมาปรุงแต่งให้เป็นกิเลส

ถ้าจิตกับกิเลสเป็นอันเดียวกันแล้ว
ใครในโลกนี้จะชำระกิเลสให้หมดได้
จิตและกิเลส เป็นแต่นามธรรมเท่านั้น
หาได้มีตัวมีตนไม่

จิตที่ส่งไปทางตา หู เป็นต้น
ก็มิใช่ตา หู เป็นกิเลส
แต่จิตกระทบกับอายตนะ จึงเป็นเหตุให้เกิดกิเลสเท่านั้น

เมื่อตาเป็นต้น กระทบกับรูป ให้เกิดความรู้สึก แล้วความรู้สึกนั้นก็หายไป
(แต่)จิตไปตามเก็บเอาความรู้สึกนั้นมาเป็นอารมณ์ จึงเกิดกิเลส ดีแลชั่ว รักแลชังต่างหาก

ผู้ไม่เข้าใจ ไปหลงว่าจิตเป็นกิเลสไปแก้แต่จิต ตัวกิเลสไม่ไปแก้
ไม่ได้แยกจากจิตให้ออกกิเลส
อย่างนี้แก้เท่าไรก็แก้ไม่ออก เพราะแก้ไม่ถูกจุดสำคัญของจิต

จิตไปหลงยึดเอาสิ่งสารพัดวัตถุ เครื่องใช้ต่างๆ มาเป็นของกูๆ
ติดมั่นอยู่ในสิ่งนั้นๆ มันเลยเป็นกิเลส
แต่สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันเป็นอยู่อย่างไร มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น
มันหาได้ไปเป็นตามความหลงยึดมั่นถือมั่นของเราไม่ "

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

 84 
 เมื่อ: 01 กันยายน 2567, 08:36:37 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
กิเลสที่มันติดอยู่กับวัตถุก็ดี
หรือมันข้องเกี่ยวอยู่ที่ใจก็ดี
ให้พารู้จักจาคะ รู้จักสละ
สละแล้วจึงค่อยเบา
ไม่สละจาคะแล้วมันหนักเป็นทุกข์
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗๕

 85 
 เมื่อ: 30 สิงหาคม 2567, 09:01:19 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
"ให้รู้จักพอ"
-------------
" .. ความสุขของใจนั้นมันอยู่ที่ความพอ คือว่า "พอ"
มันก็หยุดทันที อะไรทั้งหมดหยุดหมด
จะมี จะจนหยุดหมด คำว่า "พอ"
ในที่นี้มิใช่ไม่หา "หาแต่เป็นผู้รู้จักพอเป็น"
หาไปทำไม ตายแล้วเอาไปด้วยไม่ได้

"เมื่อยังมีชีวิตเป็นอยู่ก็ต้องหาต้องรับประทาน"
ไม่หาก็ไม่มีรับประทานรับประทานพออยู่ได้
เมื่อไม่รับประทานก็ต้องตาย
"ชีวิตความเป็นอยู่มันบังคับให้ต้องทำอย่างนั้น แต่เมื่อตายแล้วก็ไม่
เอาอะไรไปด้วย"
เพียงแต่เกิดมายุ่งเกี่ยวด้วยเรื่องต่าง ๆ ให้ทำความชั่วนานาชนิด
"แล้วทิ้งไว้ให้จิตรับเคราะห์กรรมคนเดียว" ดังนั้นทุกคนจึงควรคิด .. "
"ปุจฉาวิสัชนาต่างประเทศ"
พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์
(หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี)

 86 
 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2567, 06:57:14 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ใจที่หยุด ไม่คิดนึกปรุงแต่ง
มันลงถึงความดับ
มันจึงปลอดโปร่ง โล่งหมด
ไม่คับแคบ ไม่เดือดร้อนวุ่นวาย
มีอิสระในตัว ไม่มีอะไรบังคับ
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๕

 87 
 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2567, 06:04:13 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
หากเป็นผู้ไม่ประมาทคิดถึงชีวิตที่หมดไป
เราจะตั้งสติให้มั่นคงให้แน่วแน่ลงไป
ถึงชีวิตมันหมดไปแต่ตัวสติของเรายังอยู่ นั่นคือ
คุณงามความดี ความดีนั้นไม่หมดสิ้นไป
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

 88 
 เมื่อ: 26 สิงหาคม 2567, 07:24:58 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
การชำระต้องให้เห็นโทษของความคิดนึก ความปรุงความแต่ง
เมื่อเห็นโทษของพรรค์นั้นแล้วก็ วางของพรรค์นั้นหมด
ยังเหลือแต่จิตผู้เดียว อันนั้นแหละตัวสมาธิแล้ว
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

 89 
 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2567, 06:29:40 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
เมื่ออารมณ์ทางชั่วเข้ามาปักอยู่กับจิตกับใจ
ทำให้จิตไม่ให้สงบได้
จำเป็นต้องใช้อารมณ์ทางดีต่อสู้
เอาชนะความชั่ว ด้วยความดีของเรา
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๙


 90 
 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2567, 05:54:55 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
วิสัยของอายตนะทั้ง๖ นั้น
มี ชอบ กับ ไม่ชอบ เท่านั้น
แล้วปล่อยวางเสีย
ไม่ไปยึดเอามาเป็นอารมณ์
ใจ เฉยอยู่กลางๆ ไม่เป็นโลก
อยู่เหนือโลก พ้นจากโลก
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๕

หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!