?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
21 พฤศจิกายน 2567, 22:58:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
 71 
 เมื่อ: 24 กันยายน 2567, 11:06:34 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
จะต้องพิจารณาให้เห็นว่า คือ
ใจมันไปเกี่ยวข้อง มันจึงไม่สงบ
ใจไม่เกี่ยวข้อง มันก็ไม่มีเรื่องอะไร
เมื่อเห็นชัดแล้วก็ปล่อยวางเสีย
มันก็หมดเลยเรื่องนั้น
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๐

 72 
 เมื่อ: 23 กันยายน 2567, 06:58:54 
เริ่มโดย อนัตตา - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
รูปขาวดำ

 73 
 เมื่อ: 23 กันยายน 2567, 06:44:10 
เริ่มโดย อนัตตา - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
รูปถ่ายขาวดำ หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร วัดถ้ำผาผึ้ง อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ รุ่นแรก

 74 
 เมื่อ: 23 กันยายน 2567, 06:36:38 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
สติ ตั้งไว้ที่ใจ
กำหนดรู้เท่าจิตใจอยู่ตลอดเวลา
จิตจะคิดจะนึกทั้งดีและชั่ว
ระลึกได้อยู่เสมอ
มันก็ไม่มีหนทาง
ที่จะไปทำชั่วได้ คิดชั่วได้
ไม่มีหนทางที่จะเที่ยวได้

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕๗


 75 
 เมื่อ: 22 กันยายน 2567, 06:40:45 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ความรู้ที่รู้จริง จะต้องรู้แล้วปล่อยวาง
ไม่หลงเข้าไปยึดถือเอาความรู้นั้นมาเป็น อัตตา หรือ อนัตตา...
เมื่อตรวจดูจิตของตนก็ย่อมผ่องใสสะอาด
พอๆกับความรู้ ความสงบไม่ยิ่งหย่อน
เป็นความรู้ที่ปราศจากการปรุงแต่งใดๆ ทั้งหมด....
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
(ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์ รหัส 4 หน้า 127)

 76 
 เมื่อ: 21 กันยายน 2567, 07:05:08 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
การเพ่งพิจารณาเห็นทั้งคุณและโทษ
เห็นเหตุที่จะให้เกิดโทษ
เห็นเหตุที่จะให้เกิดคุณ
ชัดแจ้งประจักษ์ด้วยใจแล้ว
ทอดธุระปล่อยวาง
เรียกว่า การยอมสละด้วยปัญญา
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๓๓

 77 
 เมื่อ: 20 กันยายน 2567, 06:24:30 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ให้เห็นตัวของตนอยู่เสมอ
รู้ตัวของตนอยู่เสมอ
ทำแล้วให้ปล่อยวาง ให้เข้าหาตัวเองนี้
นิ่งแน่วอยู่เสมอ อันนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ประมาทโดยแท้
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๙๑


 78 
 เมื่อ: 11 กันยายน 2567, 10:25:03 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ข้าพเจ้าเป็นคนตรงต่อความจริง
จึงไม่อยากให้ใครเขียนชีวประวัติในเมื่อตายไป
เรารู้เรื่องของเราเอง เขียนเองดีกว่า
ตายแล้วเขาเขียนตามใจชอบเขา
เมื่อเขาเกลียดเรา เขาก็จะต้องเขียนตามอารมณ์ที่เขาเกลียด
บางทีเกลียดกันด้วยเหตุผลเล็กๆน้อยๆ
เขาอาจพรรณนาความชั่วของเรายืดยาว จนเกินกว่าความจริงก็ได้
ตรงกันข้าม เมื่อเขารักและชอบใจเราแล้ว
เขาก็จะเขียนยกย่องชมเชยเรา ให้เลอเลิศจนเกินความเป็นจริงไปก็ได้......
คำนำหนังสืออัตตโนประวัติ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

 79 
 เมื่อ: 11 กันยายน 2567, 10:15:44 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
การละการทิ้งการปล่อยวาง
ไม่ต้องไปเรียกร้องคนอื่น
เราทำเฉพาะคนเดียวเรา
ทำลงไปในขณะเดียวนั่นแหละ
ไม่ต้องเลือกกาลเลือกเวลาเลือกสถานที่อะไรทั้งหมด
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

 80 
 เมื่อ: 10 กันยายน 2567, 06:24:54 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
#ธรรมอาศัยโลก
#โลกอันใด_ธรรมอันนั้น
ธรรมต้องอาศัยอยู่กับโลก
ไม่มีโลก ธรรมก็อยู่ไม่ได้
ผู้เห็นธรรม รู้ธรรมก็คือ ผู้มารู้มาเห็นโลกตามความเป็นจริง แล้วเบื่อหน่ายคลายจากโลกเอง
ถ้ารู้เท่า รู้เรื่อง มันเป็นธรรมทั้งหมด
ผู้ปฏิบัติจะเห็นความดีความชั่วของตนตรงนั้นแหละ
เมื่อไม่มีโลกแล้ว ธรรมก็ไม่ทราบว่าจะเอาไปตั้งไว้ตรงไหน
จะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
โลกอันใด ธรรมก็อันนั้น
จะเป็นโลกหรือเป็นธรรม อยู่ที่การฝึกฝนอบรมต่างหาก
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!