?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
21 พฤศจิกายน 2567, 23:00:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
 61 
 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2567, 05:23:18 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
เราโกรธเขา
เรายินดีกับความโกรธ
พอใจในความโกรธอันนั้น
อยากโกรธเขานั่นแหละเรียกว่า
ยินดีพอใจในวิสัยของมาร
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

 62 
 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2567, 08:23:40 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
เราทุกคนที่เป็นชาวพุทธ
จงพากันเข้าใจ
ที่เกิด ของพุทธศาสนา
และรู้จัก วิธีนำคำสอนของพระพุทธเจ้า
มาปรับปรุงชีวิตประจำวันของตน
ให้เห็นคุณค่าประโยชน์ขึ้นมา
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๓

 63 
 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2567, 05:40:34 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ในตัวของเรามี กิเลส เต็มไปหมด
ความขี้เกียจ เหน็ดเหนื่อย
ความไม่พยายามที่จะ ละกิเลส
ปล่อยตามใจ
อันนั้นเลยเป็น กิเลส ซ้อนเช้ามาอีกตัวหนึ่ง
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๑

 64 
 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2567, 06:17:45 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
อุปสมานุสสติคือ ให้ระลึกถึงความสงบเป็นอารมณ์
สงบจาก โลภ โกรธ หลง ได้แก่พระนิพพาน
สงบได้นานก็ได้ นิพพานมาก
สงบได้ชั่วครู่ก็ได้ นิพพานชั่วครู่
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะ เทสรังสีรำลึก

 65 
 เมื่อ: 30 กันยายน 2567, 05:48:22 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
เมื่อทำทาน รักษาศีล ภาวนาแล้ว
จิตใจก็เบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใส
จิตใจก็ผ่องใสบริสุทธิ์
มี สติ ตั้งมั่นอยู่ตลอดเวลา
เรียกว่า รวบรวมเอาบันไดทั้ง ๓ ขั้น
มาไว้ในตัวของเราครบบริบูรณ์แล้ว
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๓๕

 66 
 เมื่อ: 29 กันยายน 2567, 06:02:15 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
สังฆานุสสติ

 67 
 เมื่อ: 29 กันยายน 2567, 05:58:49 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
รู้อะไร ก็ไม่เท่ารู้จิต
เห็นจิตของเรานี้ว่า
มันคิดดี คิดชั่ว คิดหยาบ คิดละเอียด
เห็นอยู่เสมอ เสมอ
จนกระทั่งมันวางความนึกคิด
รวมลงไปเป็น เอกัคตารมณ์ เอกัคคตาจิต
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๔
 

 68 
 เมื่อ: 28 กันยายน 2567, 07:36:27 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ที่วุ่นวายอยู่ในโลกเรานี้
ก็เพราะจิตไม่ได้สงบ
อบรมจิตไม่ถึง มันจึงยุ่ง
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕๐

 69 
 เมื่อ: 27 กันยายน 2567, 05:48:12 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
#การทำสมาธิภาวนา
#การทำกรรมฐาน
" ภาวนา...คือ การทำจิตใจให้แน่วแน่ เป็นอารมณ์อันเดียวเรียกว่า...ทำสมาธิภาวนา
จะยืน เดิน นั่ง นอน หรือจะอะไรก็ตาม
ถ้าจิตนิ่งแน่วแน่เป็นหนึ่ง ในอารมณ์อันหนึ่งอันเดียวแล้วเรียกว่า สมาธิภาวนา
แท้ที่จริงพระพุทธศาสนา ของเรานั้นสอนเรื่องภาวนาโดยส่วนมาก
ระลึกถึงทาน ก็เรียกว่า ภาวนาแน่วแน่อยู่ในอันนั้นเรียกว่า จาคานุสสติ
ระลึกถึงศีลก็เรียกว่า ศีลานุสสติ
คนที่ไม่มีภาวนานั้น จิตใจฟุ้งซ่าน มันส่งส่ายไม่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า ภาวนาไม่เป็น
พระเที่ยวป่าเขา เรียกว่า พระกัมมัฏฐาน
แท้จริงพระกัมมัฏฐาน มิใช่มีเฉพาะพระที่เที่ยวป่า
พระอยู่ตามบ้าน ก็มี กัมมัฏฐา เหมือนกัน
แม้ที่สุดฆราวาสที่มีครอบครัวอยู่ ก็มีเหมือนกัน
เว้นแต่ไม่พิจารณากัมมัฏฐานของตนเท่านั้นแหละ
กัมมัฏฐาน ๕ มีอยู่ในตัวของเรานี้แล้วทุกคน คือ...เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ
แต่เราไม่พิจารณาให้มันเห็นชัดขึ้นมาในใจ ของตน ก็เลยเข้าใจว่ากัมมัฏฐานของตนไม่มี
ขอให้พิจารณาลงไปเถิดอย่างน้อย วันหนึ่ง ๆ
ขอให้ได้สัก ๕ นาที ๑๐ นาที ก็เป็นการดี
ทำอะไรอยากให้ได้มาก ๆ จึงจะเอา มันไม่ได้หรอก
ดูแต่ตัวต่อทำรัง หรือปลวกทำเรือนอยู่ของมันก็แล้วกัน ค่อยทำไปวันละนิดวันละหน่อย หลายวันเข้า มันหากโตเองหรอก
เราทำสมาธิภาวนาก็เหมือนกัน
แต่เราทำสมาธิภาวนายังดีกว่าต่อทำรัง หรือปลวกทำเรือนเสียอีก
เพราะสิ่งที่เราจะต้องทำมีอยู่พร้อมแล้ว
ส่วนต่อและปลวกนั้น เขาต้องขนเอาสิ่งก่อสร้างมาจากที่อื่น เรายังได้เปรียบสัตว์เหล่านั้นอักโข
ขอให้ตั้งใจทำให้จริงจังและทำความเลื่อมใสพอใจในกัมมัฏฐาน ของตนให้แน่วแน่เต็มที่
ทำนิดเดียว ก็จะเป็นยิ่งใหญ่ไพศาล
เมื่อทำทุก ๆ วัน วันละนิดวันละหน่อย มันหากจะมีวันหนึ่ง โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็น มันหากเป็นเอง
คราวนี้ละ เราจะประสบโชคลาภอย่างยิ่ง อย่าบอกใครเลย ถึงบอกก็บอกไม่ถูก
เป็นของรู้เอง และซาบซึ้งเฉพาะตนเองคำว่าภาวนานี้
ขี้เกียจ และปวดเมื่อยแข้งขา จะหายไปเอง
อย่างปลิดทิ้ง จะมีแต่อยากทำภาวนาสมาธิอยู่ร่ำไป."
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

 70 
 เมื่อ: 25 กันยายน 2567, 05:29:18 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า ธรรมอย่างยิ่งทั้ง ๔ อย่างนี้เราได้ทำมาแล้ว
ซึ่งไม่มีใครจะทำได้เหมือนเรา แต่ก็ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ได้

ธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน
ธรรม ๔ อย่าง คือ
เกลียดอย่างยิ่ง ๑
กลัวอย่างยิ่ง ๑
ระวังอย่างยิ่ง ๑
ตบะอย่างยิ่ง ๑
เกลียดอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ
           เห็นร่างกายของตนและของคนอื่นเป็นของน่าเกลียด
           และทุกข์ทั้งหลายในโลกนี้เป็นของน่าเบื่อหน่ายแทบจะอยู่ไม่ได้เสียเลย
           นั่นเรียกว่า เห็นหน้าเดียว
           คนทั้งโลกพร้อมด้วยตัวของเราทำไม่จึงอยู่มาได้จนบัดนี้ เขาโง่หรือตัวเราโง่
           ท่านผู้รู้ทั้งหลายเห็นสภาพตามความเป็นจริงแล้วเกิดสลดสังเวชเบื่อหน่าย
            ถอนความยินดีในโลกด้วยอุบายแยบคายอันชอบแล้ว
กลัวอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ
            กลัวบาปอกุศลแม้แต่อาบัติเล็กๆ น้อยๆ ก็กลัวเป็นต้นว่า
            จะยกย่างเดินเหินไปมาที่ไหนก็กลัวจะไปเหยียบมดและตัวแมลงต่างๆ ให้ตายเป็นอาบัติ นั่นเรียกว่า ระวังส่งออกไปนอก
            พระวินัยท่านสอนให้ระวังที่ใจถ้าไม่มีเจตนาแกล้งทำให้ล่วงเกินก็ไม่เป็นอาบัติ
ระวังอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ สังวรกาย วาจา ใจ ไม่ให้เกิดกิเลสบาปอกุศลทั้งหลาย
            ซึ่งมันล่องลอยมาตาม อายตนะทั้ง ๖ นี้
            ระวังจนไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยินสิ่งต่างๆ จนเข้าไปอยู่ในป่าคนเดียว
            เวลาเข้าไปบิณฑบาตในบ้านก็เอาตาลปัตรบังหน้าไว้ กลัวมันจะเห็นคน
            อย่างนี้เขาเรียกว่า ลิงหลอกเจ้า
            กิเลสมันไม่ได้เกิดขึ้นที่อายตนะ แต่มันจะเกิดที่ใจต่างหาก
            ขอโทษเถิด คนตายแล้วให้ผู้หญิงคนสวยๆ ไปนอนด้วย มันก็นิ่งเฉย
            ผู้หญิงที่ไปนอนกลับกลัวเสียอีก
ตบะอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ
            นักพรตที่ทำความเพียรเร่งบำเพ็ญตบะธรรมที่จะให้พ้นจากทุกข์ในเดี๋ยวนั้น
            ทำความเพียรตลอดทั้งกลางวันกลางคืน ไม่คิดถึงชีวิตชีวาเลย
            เหมือนกับกิเลสมันเป็นตัวเป็นตนวิ่งจับผูกเอามาได้ฉะนั้น
            แท้จริงกิเลสมันวิ่งเข้ามาซุกอยู่ในความเพียร
            (คือ ความอยากพ้นจากทุกข์) นั่นเอง ไม่รู้ตัวมัน
             ความอยากทำให้ใจขุ่นมัว น้ำขุ่นทำให้ไม่เห็นตัวปลา
             ถึงแม้น้ำใสแต่ยังกระเพื่อมอยู่ก็ไม่เห็นตัวปลาเหมือนกัน
ความเกลียด ความกลัว ความระวัง และตบะ
             อย่างยิ่งทั้ง ๔ อย่างนี้ พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญมาแล้ว
             พระองค์ทรงเห็นว่าไม่เป็นไปเพื่อพ้นจากทุกข์ทั้งปวง จึงละเสีย
            แล้วทรงปฏิบัติทางสายกลางจึงทรงสำเร็จพระโพธิญาณ

จากหนังสือ ปุจฉาวิสัชชนาในประเทศ
โดย พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรํสี)
วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!