?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
02 เมษายน 2568, 16:02:08 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
 31 
 เมื่อ: 02 มีนาคม 2568, 05:37:13 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ขันธ์ อายตนะต้องใช้มากเป็นพิเศษ ตลอดเวลาทุกลมหายใจเข้าออก
หากสติไม่กล้า ปัญญาไม่พอ ไม่เห็นโทษในอุปาทาน เบื่อหน่ายในสังขาร
ปัญญาไม่รู้เท่าต่อเหตุการณ์เสมอแล้ว ก็จะมีแต่ทำให้จิตมืดมิดมึนเมา
เหมือนนักดื่มสุรา ดื่มหนักเข้าจนทำรสเผ็ดร้อนกลายเป็นรสอร่อยหวานไปเลย
ยิ่งดื่มก็ยิ่งแต่จะหวาน (มีดมีแต่ใช้ หาเวลาลับแลขัดไม่ได้ มีดนั้นก็มีแต่ทื่อเข้าทุกที
ผลที่สุดก็ใช้ไม่ได้ต้องเป็นของทิ้ง)
ฉะนั้น หากขันธ์อายตนะ ยังมีอยู่ตราบใด
สติและปัญญาจำต้องใช้อยู่ตราบนั้น และใช้มากขึ้นเป็นลำดับ

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

 32 
 เมื่อ: 01 มีนาคม 2568, 05:46:11 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
(3) ถาม ทำบุญอะไร มากและน้อยอย่างไร จึงจะได้บุญมาก

(3) ตอบ ทำบุญอย่างหนึ่ง ทำทานอย่างหนึ่ง ทำกุศลอย่างหนึ่งไม่เหมือนกัน แต่ลงที่เจตนาอันเดียวเป็นรากฐาน
ทำบุญ นั้น มีเจตนาศรัทธาเป็นทุนก่อน จะมีวัตถุหรือไม่ก็ตาม ศรัทธานั้นเต็มเปี่ยมบริบูรณ์อยู่ในใจแล้ว ยิ่งมีวัตถุสิ่งของเป็นเครื่องแสดงให้ไปก็ยิ่งเพิ่มศรัทธาขึ้นเป็นทวีคูณ นี่เรียกว่าบุญ บุญคือความยินดีในสิ่งที่ตนให้แล้วเกิดเต็มเปี่ยมขึ้นมาในใจ

ทำทาน นั้น จะมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม คิดจะให้แล้วก็ให้ไปเลย ไม่ว่าสิ่งของอะไรทั้งหมด ถ้ามีเจนาศรัทธาเลื่อมใสในบุคคลผู้รับและสิ่งที่ตนให้นั้น หรือเอ็นดูต่อบุคคลผู้รับนั้นแล้วให้ไปเรียกว่าทาน สมดังคำว่า ทานัง เทติ เทก็หมายความว่า เทให้ ทอดให้ ให้สิ่งของจึงเรียกให้
สรุปได้ว่า ทำทานคือ ให้สิ่งของพัสดุนั้นไม่ว่ามากหรือน้อย หยาบหรือละเอียด ไม่ปรารถนาผลตอบแทน แต่มีเมตตาจิตเป็นพื้นฐาน แม้ที่สุดให้ด้วยแก้ความรำคาญ เรียกว่า ทำทาน

การทำบุญนั้น ต้องมีเจตนาศรัทธาเป็นพื้นฐาน ก็การให้นั่นแหละเรียกว่า ทำบุญ จะให้สิ่งของอะไรมากและน้อย หยาบและละเอียดก็ตาม ให้แล้วหวังผลตอบแทน เช่น ปรารถนาว่า ด้วยอำนาจอานิสงส์ที่ข้าพเจ้าได้ทำบุญแล้วในครั้งนี้ ขอให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติเป็นต้น

การกุศล นั้น คือ ทำบุญทำทานนั่นเอง แต่เป็นกุศโลบายของท่านผู้รู้ทั้งหลายที่จะให้พ้นจากความยากและความหิวทั้งปวง ทำไปเพื่อให้ใจผ่องใสสะอาดไม่พึงปรารถนาสิ่งใดๆทั้งสิ้น แม้แต่จิตคิดจะทำภาวนาสมาธิก็เช่นเดียวกัน

ทำบุญ ทำทาน ทำกุศล ไม่ว่ามากหรือน้อย วัตถุมิใช่ตัวบุญแท้ ตัวบุญแท้มันเกิดที่หัวใจ คือ เจตนาของบุคคลนั้นต่างหาก ถ้าเจตนาศรัทธาในขณะใด ในบุคคลใด ในสถานที่ใด ในที่นั้นๆได้บุญมาก ฉะนั้น บุญในพุทธศาสนานี้คนทำจึงไม่รู้จักหมดจักสิ้นสักที

พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาไว้สองพันกว่ามีแล้วว่า ทำบุญได้บุญเช่นไร มาในปัจจุบันนี้หรือในอนาคตต่อไปก็ได้อย่างนั้นเช่นเคย คนทำบุญมากเท่าไรก็จะได้บุญมากเท่าที่ตนนั้นสามารถจะรับเอาไปได้ เหมือนกับคนนับเป็นหมื่นๆแสนๆถือเทียนมาคนละเล่ม ไปขอจุดจากผู้ที่มีเทียนจุดอยู่แล้ว ย่อมได้แสงสว่างตามที่ตนมี เทียนเล่มโตหรือเล่มเล็ก ส่วนดวงเดิมที่ตนขอจุดต่อนั้นก็ไม่ดับ เทียนหลายดวงยิ่งเพิ่มแสงสว่างยิ่งๆขึ้นไปอีก
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
(หนังสือวิสัชชนาในประเทศ)

 33 
 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2568, 05:42:06 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
เราต้องพิจารณา ให้เห็นกองทุกข์ของกิเลส
คือ ความเร่าร้อน เศร้าหมองขุ่นมัว ที่มันเกิดขึ้นภายในจิตของเรา
เมื่อเห็นแล้วก็ต้องตั้งสติปัญญาซักฟอกชำระสะสาง
ให้จิตใจของเราบริสุทธิ์สะอาด

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี+
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๖

 34 
 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2568, 06:21:36 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ถ้าผู้ใดเห็นผิด รู้จักผิด แล้วละผิด ละชั่วนั่นเสียได้
ผู้นั้นถึงซึ่งพระธรรมแท้ นี่คือ การสร้างพระในพุทธศาสนาที่แท้จริง

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗

 35 
 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2568, 05:37:34 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
งานของจิต คือ มีสติ สัมปชัญญะ
ควบคุมอยู่ตลอดเวลา
คุมจิต รู้จิต อยู่ตลอดเวลา

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๔๑

 36 
 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2568, 05:34:44 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
การยึดอดีต ยึดอนาคต
เป็นเรื่องของโลกทั้งนั้น
เรื่องของโลกมันไม่มีสงบหรอก มีแต่ยุ่ง
ถ้าหากลงปัจจุบันเดี๋ยวนี้แล้ว
มันเป็นธรรม คือ เข้าถึงความเป็นกลาง

คติธรรม
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

 37 
 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2568, 05:39:07 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
เราทำบุญโดย สร้างกุศลจิต
สร้างจิตที่ผ่องใส  มีคุณงามความดี
เป็นจิตไม่ตระหนี่เหนียวแน่น
ไม่เกิดโทสะ ไม่เกิดมานะทิฏฐิ
จิตไม่ประกอบด้วยกิเลส
จึงเป็นบุญมหาศาล หาค่ามิได้

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕

 38 
 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2568, 05:34:21 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
หลักสำคัญอย่าไปลืม ตัวกลาง คือใจเดิม
เวลาอะไรมากระทบวุ่นวายส่งส่าย
ก็เข้าหาตัวกลางนั้นก็สงบได้
อันนั้นแหละเป็น การละวางอุปาทาน

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

 39 
 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2568, 06:21:20 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
 wan-e008
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕๔

 40 
 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2568, 05:52:52 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
การทำทาน
เป็นผลให้จิตใจอิ่มเอิบเบิกบาน
การที่จิตใจอิ่มเอิบเบิกบานมันเป็น อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตรงนั้นแหละ
จิตใจเบิกบานแล้วกายมันก็เบิกบาน
สุขะมันเกิดขึ้น วรรณะมันก็เกิดขึ้นมาด้วยกัน
มีความอิ่มอกอิ่มใจในการที่เราทำบุญ
ทำทานวันหนึ่งๆ เราทำทาน มันอิ่มใจขึ้นมาทุกวัน
ก็ได้ชื่อว่าเป็นของเราแล้วอันนั้น

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!