?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
21 พฤศจิกายน 2567, 16:07:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
 21 
 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2567, 18:06:56 
เริ่มโดย maxna - กระทู้ล่าสุด โดย maxna
เส้นทางการศึกษาแนวทางการปฏิบัติ
พระอาจารย์คณิน สุนฺทโร (พระอาจารย์หนุ่ม) เสาหลักสายธรรมอุตฺตโมบารมี(สายอุตฺตมะอุตฺตโม)
ท่านเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน พัฒนาตนเองอยู่ตลอด ท่านมีความเข้าใจทั้งการปฏิบัติตามแนวทางขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และท่านเป็นผู้มีความเข้าใจในวิชาอักขระเลขยันต์ ท่านจึงเป็นที่ปรึกษาให้กับคณะครูธรรม

 22 
 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2567, 18:00:02 
เริ่มโดย maxnaka - กระทู้ล่าสุด โดย maxna
การสืบทอด

 23 
 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2567, 06:37:27 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
เรื่องความทุกข์ต่างๆ พระองค์ไม่แก้หรอก
พระองค์แก้เหตุของทุกข์ต่างหาก
คนใดถ้าไม่เอาทุกข์มาเป็นอารมณ์ ไม่มีทางที่จะพ้นจากทุกข์ได้
คนเราถ้าหากไม่เห็นทุกข์ด้วยตัวเองแล้ว มันจะเห็นทางพ้นทุกข์ได้ที่ไหน
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
เทสโกวาท 212/8

 24 
 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2567, 06:35:01 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
เมื่อเรามีชีวิตอยู่สมบูรณ์บริบูรณ์
เรามีสติ มีอุบายปัญญา
มีความสามารถที่จะชำระ
ไม่ให้จิตวุ่นวายส่งส่าย
จนเข้าถึงใจได้
อันนั้นเป็นของสำคัญมาก
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๕

 25 
 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2567, 06:09:12 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ความเมตตาปรารถนาหวังดี อันนั้นได้ชื่อว่าให้ทานโดยแท้
เขาทำทาน ปรารถนาหวังดีแก่เรา เราแผ่เมตตาถึงเขา ก็เรียกว่าให้ทาน ได้ให้น้ำใจเป็นทาน ให้อภัยทาน นั้นเป็นเครื่องสนองตอบแทนซึ่งกันและกัน
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
การทำทานโดยลำดับ
วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

 26 
 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2567, 06:54:25 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ถ้าหากว่ารักษาศรัทธาของตนให้แน่วแน่เต็มที่ เต็มเปี่ยมอยู่เมื่อใดแล้ว อันของเล็กๆน้อยๆ ที่ว่าเราปฏิบัตินั่นแหละ เป็นของเล็กๆ น้อยๆ หรอก หากมันสมบูรณ์บริบูรณ์ทุกสิ่งทุกประการ เต็มเปี่ยมทุกประการแล้ว มันเป็นผลให้เกิดประโยชน์ ทําความบริบูรณ์ให้ดีขึ้นมา
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
รักษาฐานะของเราให้เต็มที่สมบูรณ์
วันที่ ๖ ม.ค. ๒๕๒๘

 27 
 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2567, 06:52:34 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
นักปฏิบัติ อย่าเพิ่งมุ่งหมายให้มันสูงเกินไป เรามุ่งหมายแต่เพียงว่าในธรรมวินัยที่เราจะต้องปฏิบัติ จะต้องประพฤติ จะต้องให้อยู่ในขอบเขตในธรรมวินัยนี้เท่านั้นก็เพียงพอก่อนคือว่า
ที่เราเป็นภิกษุ สามเณร ให้รักษาฐานะของเราให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์เสียก่อน อย่าไปมุ่งเกินไป เมื่ออันนี้เต็มเปี่ยมแล้ว ให้เกิดศรัทธาพอใจเลื่อมใส ยินดียิ่งในข้อวัตรปฏิบัติ ในความประพฤติของตนนั้น อยู่ในขอบเขตของธรรมวินัยนั้น เอาเท่านั้นเสียก่อน
อุบาสกอุบาสิกา ก็เหมือนกันนั่นแหละ ครั้นหากว่าเขาปฏิบัติอยู่ในขอบเขตของอุบาสกอุบาสิกา ไม่เกินขอบเขต ไม่ล่วงเลยขอบเขต และไม่ลดหย่อนต่ํากว่าอุบาสกอุบาสิกาสมบูรณ์ในข้อวัตรปฏิบัติของอุบาสกอุบาสิกา นั่นก็เรียกว่าสมบูรณ์แล้ว
ธรรมวินัยอันนี้ อุบาสกอุบาสิกา ภิกษุสามเณร ต่างคนก็พากันรักษาหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์บริบูรณ์ทุกประการ นี้ก็เรียกว่าบํารุงพระพุทธศาสนา เชิดชูพระพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามเพียงพอแล้ว อย่าไปมุ่งหมายเกินไป โดยเฉพาะภิกษุสามเณรเห็นว่า เป็นผู้ปฏิบัติเคร่งครัดหรือสูงกว่าอุบาสกอุบาสิกา จะให้ดียิ่งขึ้นไป อันนั้นเป็นความเข้าใจผิด บางทีอุบาสกอุบาสิกาปฏิบัติสมบูรณ์บริบูรณ์ในหน้าที่ของตน มีความเชื่อมั่น อาจจะถึงความบริสุทธิ์หรือถึงมรรคผลนิพพานก่อนพระก็ได้ ถ้าพระเรายังย่อหย่อนก็อาจจะไม่ถึงเขาก็ได้
เหตุนั้นจึงว่า ถ้าหากว่ามุ่งหมายปรารถนาเกินขอบเขต แต่ว่าเราไม่รักษาความดีความงาม ไม่รักษาศรัทธาความเชื่อมั่นของตนให้เต็มสมบูรณ์บริบูรณ์ เมื่อปรารถนาเช่นนั้น มันเกินขอบเขตไป มันจึงได้ชื่อว่า รักษาฐานะของตนไว้ไม่ได้ เมื่อรักษาฐานะของตนไว้ไม่ได้แล้ว คราวนี้พิจารณาไป ทําไปก็เลยย่อหย่อนท้อถอย ไม่เห็นคุณงามความดีของตน ก็เลยท้อถอยย่อหย่อน ก็เลยเสื่อมศรัทธา เลยไม่เป็นผลเป็นประโยชน ์
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
รักษาฐานะของเราให้เต็มที่สมบูรณ์
วันที่ ๖ ม.ค. ๒๕๒๘

 28 
 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2567, 05:39:21 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ปัญญาในทางพุทธศาสนา – ปัญญาทางโลก
----------------------------------------------
ปัญญาในทางพุทธศาสนา ท่านบอกว่า เมื่อคิดนึกปรุงแต่งสารพัดทุกอย่างมีความรู้รอบ เข้าใจทุกสิ่งทุกประการตามความเป็นจริงหมดแล้ว มันหยุด อันนั้นเรียกว่าปัญญา อันที่จะให้มันหยุดนั้นมีปัญญามากทีเดียว จะทางธรรมหรือทางโลกก็ตาม ที่มันนึกคิดมันปรุงแต่งไปนั้น ไปรอบคอบรอบทาง ถ้ามี “สติ” ควบคุม มี “สัมปชัญญะ” รู้ตัวอยู่ มันหยุดคิด นั่นแหละ “ปัญญาในทางพุทธศาสนา”
“ปัญญาทางโลก” นั้นก็คิดไปเถิดไม่มีที่สิ้นสุด ตั้งแต่วันเกิดจนวันตายก็ไม่สงบสักที คิดแล้วๆเล่าๆกลับไปกลับมาอยู่นั่นแหละ วนเวียนอยู่นั่น จึงเรียกว่า “วัฏฏะ”
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จิต-ใจ-ปัญญา
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๒

 29 
 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2567, 06:03:37 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ถ้าหากเรามีสติควบคุมอยู่ระมัดระวังอยู่ จนถึงขนาดนั้นมันก็ยังตามมาคุกคามอยู่ แต่หากมีเวลาแก้ไขได้ ภัยอันตรายสำคัญที่สุดมันล้อมอยู่ เรื่องเหล่านี้จะไปหาที่ไหน? จะหลีกไปที่ไหน? มันตามไปอยู่ตลอดทุกเมื่อ อยู่วัดก็เหมือนกัน อยู่บ้านก็เหมือนกัน อยู่ป่าก็เหมือนกัน อยู่ที่ไหนๆ มันตามอยู่ตลอดเวลา ถ้าเห็นภัยตลอดเวลาเห็นทุกขณะแล้ว เราเป็นผู้มีสติระมัดระวังสังวรไม่ให้คิดชั่ว ไม่ให้คิดผิด ไม่ให้ส่งส่าย ตั้งใจระมัดระวังจิตใจของเราอยู่เป็นปรกติ อันนั้นจึงค่อยพ้นภัยอันตราย
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
ป่าของพระโยคาวจร
วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๗

 30 
 เมื่อ: 28 ตุลาคม 2567, 06:32:08 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ความตั้งใจจริงๆจังๆ เอากันจริงๆจังๆ ย่อมสำเร็จประโยชน์ของตน ตามสมควรแก่ฐานะของตน
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
อิทธิบาท ๔
วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!