?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
22 พฤศจิกายน 2567, 14:18:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: [1]
1  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: หลวงปู่แสง ญาณวโร เมื่อ: 27 มิถุนายน 2555, 12:10:20
กราบหลวงปู่แสง ญาณวโรด้วยเศียรเกล้า เสาร์-อาทิตย์นี้ หลานน้อยคนนี้คงได้ไปกราบหลวงปู่อีกครับ ที่บ้านเวินชัย อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร


วันเสาร์นี้มีโอกาสคงได้เจอกันนะครับท่านfon-dekwat  wan-e042 wan-e042 wan-e042
2  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: **ญาท่านน้อย วัดทุ่งนางโอก ยโสธร** เมื่อ: 19 มิถุนายน 2554, 07:31:22
พึ่งกลับมาจากนอกพื้นที่ครับ
"คนบ้านศา " สายไม้บรรทัดหลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย ตัวจริงมาแล้วครับ ข้อมูลแบบเต็มๆ ที่ผมทราบมาก็ประมาณนี้ครับ เหลือเฉพาะข้อมูล ที่เกีี่ยวข้องกับหลวงพ่อแดง ที่ต้องหาข้อมูลหลักฐานกันต่อครับ ส่วนเหรียญหลวงปู่จะตามเก็บไว้เยอะๆๆๆ รอแลกแร่ป่าติ้ว ของ
"คนบ้านศา" 555555

ส่งมาโลดครับ พอมีแบ่งให่อยู่ แร่ป่าติ้วหลวงตา 555+
3  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: **ญาท่านน้อย วัดทุ่งนางโอก ยโสธร** เมื่อ: 17 มิถุนายน 2554, 12:59:34
ส่วนวัตถุมงคลที่หลวงปู่สร้างจะนำมาลงให้อีกครั้งนะครับ (แต่ถ้าเดาไม่ผิด คุณพี่vs12 น่าจะพอมีวัตถุมงคลของหลวงปู่เยอะพอสมควรนะครับ) ถ่ายองค์สวยๆมาลงโชว์บ้างนะครับ
4  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: **ญาท่านน้อย วัดทุ่งนางโอก ยโสธร** เมื่อ: 17 มิถุนายน 2554, 12:51:48
                                    ตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์

                         
ท่านหลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย    สุวโจ   ท่านรับผิดชอบบริหารงานทางคณะสงฆ์ในเขตตำบลทรายมูล    และ  ตำบลไผ่  ในการบรรพชาและอุปสมบทแก่กุลบุตร    รวมทั้งการเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านผือฮี ด้วยดี     
         
                            -    เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านผือฮี
                            -    เป็นพระอุปัชฌาย์     


                         การสร้างรูปเหมือนและเหรียญรูปเหมือน          หลวงปู่พระอุปัชฌาย์น้อย     สุวโจ

                   ด้วยความความศรัทธาของชาวบ้านทุ่งอีโอก  ที่มีต่อ    หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์น้อย  สุวโจ  จึงได้สร้างรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริง  ไว้สักการะบูชา   ๒  องค์   ปัจจุบันนี้ประดิษฐานอยู่ที่มณฑปข้างพระอุโบสถ  และ ในศาลาการเปรียญชั้นล่าง   เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทุ่งนาง-โอก  ในปี  พ.ศ.  ๒๕๑๐   ชาวบ้านทุ่งอีโอก   โดยการนำของ  หลวงพ่อพระปลัดชัชวาล     อุตฺตโมได้สร้างเหรียญรูปเหมือนของท่านหลวงปู่  (  รูปไข่  )  เป็นที่ระลึกแจกแก่ประชาชน   มีจำนวนทั้งสิ้น   ๒๕๑๐    เหรียญ   เท่าปี พ.ศ.  ที่สร้าง    ส่วนพิธีพุทธาภิเษกนั้น๒  คงจะเป็นการฝากในงานพิธีต่าง   ๆ  ที่จัดขึ้นในเขตกรุงเทพ  ฯ    และ  คงเป็นพิธีใหญ่มีพระเถราจารย์ผู้ทรงศีลาจารวัตร    เข้า ร่วมพิธี  เป็นแน่    แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของศิษยานุศิษย์   และ   ประชาชน   จนกระทั่งในปี  พ.ศ.  ๒๕๑๘   ท่านหลวงพ่อพระปลัดชัชวาล    อุตฺตโม   (  หลวงปู่หยุย  )  จึงได้จัดสร้างเหรียญกลมขนาดเล็ก  แต่ไม่ทราบจำนวนในการจัดสร้างขึ้น   พร้อมกับการจัดสร้างเหรียญรูปไข่ขนาดเท่ารุ่นแรก โดยที่ ท่านหลวงพ่อพระปลัดชัชวาล     อุตฺตโม   ได้จัดสร้างเหรียญรูปเหมือนโดยใช้เหรียญรุ่นแรกเป็นแบบ   (  พ.ศ. ๒๕๑๐  )   เพียงแต่แกะรูปหลวงปู่ขึ้นใหม่  และด้านหลังเหรียญยันต์แบบเดิม หากแต่มีวงกลมเดียว   ขนาดเท่าเดิมแต่ก็ไม่ทราบจำนวนในการจัดสร้างอีก  เพื่อให้ประชาชนบูชาและเก็บไว้เป็นที่ระลึกถึง   พระคุณของหลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย    สุวโจ   เหรียญรุ่นแรกเป็นเนื้อทองดอกบวบ  เหรียญเล็กเป็นเนื้อทองเหลือง   และ  เหรียญรูปไข่ เป็นเนื้อทองแดง
5  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: **ญาท่านน้อย วัดทุ่งนางโอก ยโสธร** เมื่อ: 17 มิถุนายน 2554, 12:50:16
มรณภาพ

                     
                  เมื่อหลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย     สุวโจ    ได้เกิดอาพาธในวัยชรา    ชาวบ้านทุ่งอีโอก จึงได้ไปกราบอาราธนานิมนต์ท่าน   จากวัดบ้านผือฮี   มาอยู่ที่วัดบ้านทุ่งอีโอก  โดยเอารถไปรับท่านมาและมีเหตุอัศจรรย์ในวันไปรับนั้น   โดยเป็นการบอกเล่าของ      พ่อใหญ่ทองหล่อ   บุญศรี      พ่อใหญ่มี ไชยรักษ์  และ  พ่อใหญ่เสริม    ไชยรักษ์   ให้ฟังว่า   ครั้นพอรถมาถึง ท่านหลวงปู่ก็ได้ขึ้นไปนั่งเรียบร้อยแล้ว   พอจะออกเดินทางรถคันนั้นกับไม่สามารถสตาร์ทติดได้  จึงได้ไปเก็บดอกไม้มานิมนต์หลวงปู่ท่าน   อีกครั้งหนึ่ง รถจึงสตาร์ทติด   ครั้นพอหลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย    สุวโจ   มาอยู่ที่วัดบ้านทุ่งอีโอก   แล้ว โดยเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านทุ่งอีโอกทุกครัวเรือน    และในวันที่หลวงปู่มรณภาพนั้น  ได้มีเหตุการณ์หลาย ๆ  อย่างเกิดขึ้น   ท่านหลวงปู่มาอยู่ที่วัดบ้านทุ่งอีโอก ประมาณ  ๑   อาทิตย์  ท่านก็ได้มรณภาพลง    ในปี  พ.ศ.  ๒๕๐๔   รวมสิริอายุได้    ๘๗   ปี   ๖๔ พรรษาในสมณเพศ    ที่กุฎีหลังเก่า    ( อยู่ตรงด้านหน้าห้องสมุดในปัจจุบัน )       นับเป็นการสูญเสีย    พระอริยสงฆ์    ผู้สุปฏิปันโน  ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ดำเนินตามรอยพระบาทขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า   อย่างแท้จริงหลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย       สุวโจ    ท่านเป็นเสมือนร่มโพธิ์ของพระภิกษุสงฆ์   และ ชาวบ้านทุ่งอีโอก    ชาวบ้านผือฮี   ชาวบ้านทรายมูล    ชาวบ้านนาโป่ง และชาวบ้านไผ่   อย่างแท้จริง
         
 
              อนึ่ง  พระภิกษุสงฆ์และชาวบ้าน    ได้เก็บรักษาสังขารของหลวงปู่  ไว้นานประมาณ  ๑   ปีกับอีก   ๕ -  ๖   เดือน  จึงได้มีการประชุมเพลิง   ณ.  เมรุชั่วคราววัดบ้านทุ่งอีโอก   ปี  พ.ศ.  ๒๕๐๕โดยประมาณ    กลางเดือน   ๕    ด้านหลังพระอุโบสถหลังเก่า ๑    ส่วนวัตถุมงคลนั้น  ๒ หลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย   ท่านได้สร้างไว้หลายอย่าง ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
 

        ๑. พระพิมพ์พระพุทธ   ปางมารวิชัย   เนื้อชินเงินและเนื้อระฆัง   ขนาด   ๒  คูณ   ๓    นิ้ว   
             ไม่ทราบจำนวน
        ๒. พระพิมพ์พระพุทธ   ปางสมาธิ   เนื้อชินเงินและเนื้อระฆัง   ไม่ทราบจำนวน
        ๓.  พระพิมพ์พระพุทธ   ปางมารวิชัย   เนื้อครั่ง    ไม่ทราบจำนวน
        ๔. ตะกรุด  ไม่ทราบจำนวน

    ส่วนรูปภาพที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้   ถ่ายก่อนหลวงปู่ท่านมรณภาพ   ๕ ? ๖  วัน  และได้กราบขออนุญาตหลวงปู่ก่อน  แต่ก็ต้องถ่ายถึง  ๓   ครั้ง  จึงติดเป็นภาพเดียวที่มีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
6  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: **ญาท่านน้อย วัดทุ่งนางโอก ยโสธร** เมื่อ: 17 มิถุนายน 2554, 12:47:37
                           หลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย  สุวโจ พระสุปฏิปันโน  ผู้ควรแก่การกราบไหว้
                      เมื่อหลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย    สุวโจ   ได้อุปสมบทแล้ว    คงจะศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ   และ  หัวข้อพระกรรมฐาน     การเจริญสมณธรรม    ธรรมะต่าง  ๆ   จากพระอุปัชฌาย์    ก็คือ    สำเร็จลุนจากนั้นคงจะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน       ธุดงค์ไปตามสถานที่อันสงัด     กับพระอุปัชฌาย์     และพระอริยสงฆ์รูป  อื่น  ๆ    เพื่อแสวงหาโมกขธรรม    จนเป็นที่พอใจแล้ว     ภายหลังจากนั้นจึงมาอยู่ประจำที่วัดบ้านทรายมูล   กับ  ท่านพระปลัดอ่อนตา    ผู้เป็นอาจารย์   ต่อมาเมื่อวัดบ้านผือฮีว่างเจ้าวัด  (  เจ้าอาวาส  )  ชาวบ้านผือฮี จึงได้พากันมาขอหลวงปู่ กับ ท่านพระปลัดอ่อนตา  เพื่อไปเป็นเจ้าวัดปกครองดูแลต่อ  ท่านพระปลัดอ่อนตา จึงได้อนุญาตตามที่ขอนั้น หลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย จึงได้มาเป็นเจ้าวัดที่วัดบ้านผือฮี   (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลนาสะไมย์   อำเภอเมืองยโสธร  )  และท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์  ตามลำดับ  รับผิดชอบในเขตตำบลทรายมูล  และ ตำบลไผ่   ตามลำดับ   (  ปัจจุบันเป็นอำเภอทรายมูล    เมื่อวันที่   ๒๖   กรกฎาคม  พ.ศ.  ๒๕๒๗  )  โดยเป็นที่เคารพของประชาชนทั้งใกล้และไกล  แต่ละวันจะมีประชาชนมาให้หลวงปู่รดน้ำมนต์ ให้ทุกวัน หรือแม้แต่มาขอรับวัตถุมงคลจากหลวงปู่ท่าน  ท่านก็เมตตาสงเคราะห์ให้ทุกคน   แต่หลวงปู่ก็จะกล่าวสอนให้ทุกคนตั้งมั่นอยู่ในความดี   ไม่ประมาทในการดำรงอยู่  และให้ประพฤติในทางที่ชอบ
                พระภิกษุสิงห์   รตินฺธโร  (  ผิวแดง   )  และในปัจจุบันท่านมีอายุ   ๖๘  ปี  ได้เล่าถึงข้อวัตรของหลวงปู่ท่านอย่างหนึ่งว่า ขณะที่ท่านบวชตอนเป็นหนุ่ม  เมื่อหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์น้อย   สุวโจ  มาที่วัดบ้านทุ่งอีโอก   ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับทุกครั้ง    หลวงพ่อ  จะเรียกประชุมสงฆ์   เพื่อกล่าว ขอขมาลาโทษ ที่อาจจะเกิดโดยไม่ตั้งใจ   ถึงแม้ท่านจะเป็นพระผู้ใหญ่   แต่ก็ไม่รังเกียจที่จะกระทำต่อผู้อ่อนกว่าเลยและเป็นข้อวัตรที่หลวงพ่อกระทำทุกครั้งเมื่อมาที่วัดบ้านทุ่งอีโอก
               อีกตัวอย่างหนึ่งพ่อใหญ่จารย์ครูอ่อน   คำศรี    และ    พ่อใหญ่ทองหล่อ   บุญศรี  และ  พ่อ-ใหญ่เสริม ไชยรักษ์๑  เล่าให้ฟังตรงกันว่า   แม้แต่ผักที่มีผู้นำมาถวาย  หากยังมีรากติดอยู่สามารถนำไปปลูกได้อีก  หากยังไม่ได้ทำ  กัปปิยะ๒  ท่านก็จะไม่ฉัน  และ   พ่อใหญ่ทองหล่อ   บุญศรี  กับ   พ่อใหญ่เสริม   ไชยรักษ์  ได้เล่าต่อไปอีกว่า   หลวงปู่ท่านจะชอบทำบั้งไฟจุด   และจะบอกว่า   บั้งไฟบั้งนี้  จะไปตกตรงน้ำสร้าง ( บ่อน้ำ )  นั้นนะ บั้งไฟก็ไปตกตรงนั้น  จริง  ๆ   หลายต่อหลายครั้งที่ท่านบอกก็เป็นไปตามนั้น และยังเล่าต่อไปอีกว่า   หลวงปู่ท่านเป็นผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์  ในการกล่าว
เมื่อศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์    ได้ซักถามถึงคาถาอาคม   หลวงปู่จะบอกว่าให้ทุกคนยึดมั่นในความดี   ปฏิบัติดี   มีอยู่ครั้งหนึ่ง  ท่านเล่าว่า   เมื่อท่านเดินทางมาจากยโสธร  มาบ้านทุ่งอีโอกได้พบกับฝูงควาย   ซึ่งสมัยก่อนจะไม่ผูกเชือกและเจ้าของปล่อยให้หากินเป็นฝูง  เมื่อพบกับพระภิกษุควายมักไล่ขวิดเพราะสีของจีวรนั่นเอง    ควายฝูงนี้ก็เหมือนกันได้วิ่งโถมเข้าหาท่าน   ท่านเล่าให้ศิษย์เหล่านั้นฟังมีจารย์ครูอ่อน   อยู่ด้วย    ว่าท่านได้แผ่เมตตาให้ฝูงควายฝูงนั้นแต่ฝูงควายยังวิ่งวนเวียนอยู่รอบตัวท่านอย่างประสงค์ร้าย    โดยไม่ยอมหนีไปจากท่านเลย   ท่านจึงท่องคาถาว่า
           
                                                                               นะจังโง      โมจังงัง      นะบ่ไป      โมมาบ่ได้
                                                                      พุทโธ   นะนะกัตตัง     อะหังพุทโธ    สาธุ   สาธุ   สาธุ   ฯ
 

ปรากฏว่าฝูงควายได้หยุดวิ่งและเดินจากไป     คาถาบทนี้   หลวงปู่ท่านได้ใช้อีกต่อเมื่อท่าน  ได้เข้าปริวาส   ในบริเวณที่เป็นป่าและมีงูจงอางตัวขนาดแขน   เลื้อยมาแผ่แม่เบี้ยตรงหน้าท่าน   ท่านหลวงปู่   ได้แผ่เมตตา  และ  ท่องคาถาบทนี้   เป็นเวลาพอสมควร งูได้เลื้อยหนีไปไม่ทำอันตรายต่อหลวงปู่เลย
             พ่อใหญ่ทองหล่อ    บุญศรี   ชาวบ้านผือฮี  ได้เล่าให้ฟังเรื่องหนึ่งว่า    เมื่อคราวที่บ้านนาโป่งจัดงานบุญพระเวส   ได้มานิมนต์หลวงปู่ไปร่วมงานด้วย   พอถึงวันงาน   พ่อใหญ่ทองหล่อ  ท่านจึงได้ไปนิมนต์หลวงปู่ให้ไปพร้อมกัน    แต่หลวงปู่ได้บอกว่าให้เดินทางไปก่อน   จะไปกับเณรน้อย  ทีหลังให้ไปพบกันที่วัดบ้านนาโป่งเลย   โดยท่านหลวงปู่จะตามไปกับเณรทีหลัง   แต่พอพ่อใหญ่ทองหล่อ    ไปถึงวัดบ้านนาโป่ง  กับพบหลวงปู่นั่งรออยู่ก่อนแล้ว   โดยที่มีสามเณรกำลังนวดขาให้ท่านอยู่   แต่พอเข้าไปถามท่านก็บอกว่า   เดินมาพร้อมกันแล้วก็หัวเราะ ตามประสาคนแก่
           หลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย     สุวโจ    โดยมากท่านจะจำพรรษาที่วัดบ้านผือฮีเป็นหลัก   หรือ บางปี  ท่านหลวงปู่  ก็จะไปจำพรรษาที่วัดบ้านทรายมูล   หรือ  วัดบ้านนาโป่ง   และ  วัดบ้านไผ่  ตามลำดับ    ส่วนวัดบ้านทุ่งอีโอกนั้น   ท่านไม่ได้จำพรรษาอยู่เลย   แต่ท่านก็ได้เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการก่อสร้างพระอุโบสถ  (  หลังเก่า  )  จนแล้วเสร็จ    หลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย    สุวโจ   ท่านได้สร้างระฆัง ทองเหลืองไว้หลายลูก   โดยมอบถวายให้แก่วัดหลายวัดด้วยกันที่วัดทุ่งอีโอกก็ได้รับ   (   แต่ได้เอาไปหล่อเป็นพระประธานในอุโบสถหลังเก่าแล้ว เมื่อปี  พ.ศ.   ๒๕๑๗   )    ที่วัดบ้านผือฮี     ในปัจจุบันนี้ยังเหลืออยู่   
7  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: **ญาท่านน้อย วัดทุ่งนางโอก ยโสธร** เมื่อ: 17 มิถุนายน 2554, 12:45:40
การบรรพชาและอุปสมบท

                            หลวงปู่  เป็นผู้เลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งได้บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ   ๑๙  ปี กับพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในละแวกนี้   คือ   พระปลัดอ่อนตา   (  ไม่ทราบนามฉายา   )    โดยไป บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านทรายมูล  ( ในปัจจุบัน  คือ วัดบูรพารามใต้ มีท่านเจ้าคุณหลวงพ่อพระราชสุตาลงกรณ์      (  เดือน    สิริธมฺโม    ป.ธ.  ๔  )    เป็นเจ้าอาวาสและรองเจ้าคณะจังหวัดยโสธร  ) และ  คาดว่า  ท่านหลวงปู่คงจะเป็นศิษย์ใกล้ชิด   ของอาจารย์   เหตุเพราะหลวงปู่เคยเล่าให้ พ่อใหญ่จารย์ครูอ่อน    คำศรี   ขณะที่ท่านบวชอยู่นั้นฟังว่า    เมื่อครั้งหลวงพ่อเป็นสามเณรได้ธุดงค์ไปกับพระอาจารย์  คือ     พระปลัดอ่อนตา    เพื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  ไปที่ประเทศพม่า    แล้วเข้าสู่ประเทศอินเดียต่อเมื่อถึงอินเดียแล้ว   อาจารย์ของท่าน  ได้ฝากท่านไว้ กับพระภิกษุที่คุ้นเคยกัน  ส่วนอาจารย์ของท่าน    ได้ธุดงค์ต่อไปเมืองลังกา    หลวงปู่ได้พักคอยอาจารย์ของท่านที่อินเดียนานประมาณ    ๔   เดือน   อาจารย์จึงได้มาและพาท่านกลับประเทศในเส้นทางเดิม      ต่อเมื่อกลับถึงวัดแล้ว   ไม่นานท่านก็อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ท่านหลวงปู่มีอายุ  ประมาณ  ๒๐  ปี   โดยในการอุปสมบทนั้น  ท่านพระปลัดอ่อนตา   คงจะได้พาหลวงปู่ไปบวชกับอาจารย์ของ  พระปลัดอ่อนตา   อีกชั้นหนึ่ง  นั้นก็ คือ  สมเด็จลุน   หรือ   สำเร็จลุน   พระอริยสงฆ์แห่งเมืองจำปาสัก   ประเทศลาว  โดยมีท่านพระปลัดอ่อนตา    เป็นพระกรรมวาจาจารย์   ขณะที่ท่านอุปสมบท  คงจะเป็น  ปี  พ.ศ.  ๒๔๓๘  และได้รับนามฉายาว่า       สุวโจ   (   ผู้ว่ากล่าวสอนได้โดยง่าย  )

                                                                               สมเด็จลุน  หรือ  สำเร็จลุน๑
 ดังได้กล่าวแล้วว่า พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ท่าน   คือ   สำเร็จลุน   แห่งนครจำปาสัก   ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ต่าง  ๆ   เช่น   ในเรื่องของ   ท่านพระครูพิศาลสังฆกิจ    (   โทน   )   ซึ่งเป็นศิษย์อีกรูปหนึ่งของสำเร็จลุน    ได้กล่าวถึง   สำเร็จลุนว่า   เป็นที่ทราบกันดีของพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและ ชาวลาวว่า   ท่านสำเร็จลุน   สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้  และ  ย่อระยะทางได้  สามารถเดินจากเวินชัย   ประเทศลาว  มาหาซื้อน้ำปลาไทยที่พาหุรัดในชั่วพริบตา   หรือ    แม้แต่การบิณฑบาตรอีกประการหนึ่ง     ท่านคงเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมพิทาญาณ   เป็นแน่แท้   บางทียังเรียกท่านว่า  เป็นพระครูขี้หอม ด้วย เหตุเพราะอุจจาระของท่านนั้นประชาชนจะแย่งกันเก็บไว้เป็นเครื่องรางของขลัง
    อนึ่ง  ผู้เขียนได้สอบถามจาก  ท่านหลวงปู่สวน  อิสิญาโณ   เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองซองแมวซึ่งเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดของหลวงปู่อีกรูปหนึ่ง   ท่านก็เล่าว่า   สำเร็จลุน  เป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่เฒ่า (   หลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย   )    จริง
8  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: **ญาท่านน้อย วัดทุ่งนางโอก ยโสธร** เมื่อ: 17 มิถุนายน 2554, 12:44:23
ประวัติพระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ

หลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย   สุวโจ   เป็นพระภิกษุที่ชาวบ้านทุ่งนางโอก     ชาวบ้านผือฮี        และ ประชาชนในเขตอำเภอเมือง     อำเภอทรายมูล      ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก     เหตุเพราะท่านหลวงปู่ เป็น  พระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ    พร้อมกับเป็นพระสงฆ์ที่สงบเยือกเย็นมีเมตตาธรรมสูง จึงเป็นที่เคารพสักการะของคนในพื้นที่และนอกพื้นที่   ซึ่งได้ทราบถึงเกียรติคุณของท่าน       หลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย   สุวโจ   ท่านดำรงอยู่ในสมณเพศตั้งแต่เป็นสามเณรจนถึงมรณภาพท่านเป็นพระสงฆ์ที่ทรงปริยัติ   ปฏิบัติและปฏิเวก    ครบทั้ง สามประการ สมดังคำว่า    สุปฏิปันโน    ภควโต  สาวกสังโฆ    พระสงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว หรือ อีกประการหนึ่งหลวงปู่เป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยความบริสุทธิ์แห่งศีลอย่างยอดยิ่ง  ท่านเป็นผู้สำรวมแล้วในกาย   วาจา   ใจ   ปฏิบัติดี    ปฏิบัติชอบแล้ว     ในศีลาจารวัตร     เป็นพหุสูตร   และอยู่  ในฐานะ ควรแก่การกราบไหว้   ตามรอยแห่งองค์    สมเด็จพระบรมศาสดา    ดังจะเห็นได้ในทุกวันนี้   ที่เหรียญรูปเหมือนของท่าน   เป็นที่ต้องการของประชาชนเป็นอย่างมาก   โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรกของท่าน   ถึงแม้หลวงปู่จะมิได้อธิฐานจิตทำพิธีเองก็ตาม                                                                     
ชาติกำเนิด

            หลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย    สุวโจ   เป็นชาวบ้านทุ่งนางโอกโดยกำเนิดจากการบอกเล่าของพ่อใหญ่อ้วน    โสมณวัฒน์   และ  แม่ใหญ่โม่     โสมณวัฒน์    ซึ่งเป็นบุตรของนางเกี้ยง   โสมณวัฒนน้องสาวของหลวงปู่  เล่าว่า   บิดาของหลวงปู่   ชื่อนาย  สิงห์  หรือ    เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า        เขียว  ส่วนมารดาของท่านไม่รู้จักชื่อ   หลวงปู่เกิดเมื่อ   พ.ศ.  ๒๔๑๗    มี พี่น้องร่วมบิดามารดา   ๔  คนตามลำดับดังนี้ 
 ๑. หลวงปู่พระอุปัชฌาย์น้อย    สุวโจ (โสมณวัฒน์)
 ๒.นายตุ่น     โสมณวัฒน์หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  พ่อใหญ่สีหราช
 ๓.นายอ่อน   โสมณวัฒน์
 ๔. นางเกี้ยง   โสมณวัฒน์
ทั้ง  ๔  คนนี้ได้เสียชีวิตไปนานแล้ว    แม้แต่พ่อใหญ่อ้วน      แม่ใหญ่โม่    โสมณวัฒน์    ซึ่งเป็นลูกของนางเกี้ยง    ผู้ให้ข้อมูลนี้   ปัจจุบัน  ได้เสียชีวิตแล้ว
9  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: **ญาท่านน้อย วัดทุ่งนางโอก ยโสธร** เมื่อ: 17 มิถุนายน 2554, 11:08:48
ขอเวลาเคลียงานก่อนสักวันสองวัน จะนำข้อมูลเต็มๆมาลงให้นะครับ อดใจรออีกสักนิดครับ
10  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: **ญาท่านน้อย วัดทุ่งนางโอก ยโสธร** เมื่อ: 17 มิถุนายน 2554, 10:18:39
 
หน้า: [1]
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!