?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
21 พฤศจิกายน 2567, 21:03:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: [1]
1  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / ผู้สืบทอดความรู้ จากหลวงปู่ทา นาควัณโณ ศิษย์รุ่นสุดท้ายของญาถานตู๋ และสมเด็จลุน เมื่อ: 05 เมษายน 2561, 10:25:53
ได้ตั้งขันใหญ่ขอเป็นผู้สืบทอดความรู้ จากหลวงปู่ทา นาควัณโณ ศิษย์รุ่นสุดท้ายของญาถานตู๋ และสมเด็จลุน...คือ ญาถ่านเบิ้ม วัดวังม่วงอ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี และญาถานอ้วน สำนักสงฆ์แก้งหัววัว อ.ปทุมราช จ.อำนาจเจริญ ณ วันที่ 26 ‎กรกฎาคม ‎2559
2  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 14 มีนาคม 2561, 13:12:34
ประวัติพระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)
วัดวังม่วง ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
.................................
ชาติภูมิ
พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม) ถือกำเนิดในครอบครัวชาวนา ณ ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เกิดเมื่อวันที่ 12กุมภาพันธ์ พ.ศ.2510 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนสาม (๓) ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๓๒๘ คริสตศักราช 1967,มหาศักราช 1888,รัตนโกสินทรศก 185 ปกติสุรทิน ปกติมาส ปกติวาร , อาทิจวาร(อ) มาฆมาส อัฐศก  
          บิดา     ชื่อ “นายรินทอง สนธิหา”            
          มารดา  ชื่อ “นางคูณ สนธิหา”  
          ได้ให้มงคลนามว่า “สมศักดิ์” มีความหมาย คือ ผู้ที่สมควรแก่เกียรติยศชื่อเสียง
          มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3

รูปร่างลักษณะและนิสัย
พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม) เป็นคนร่างใหญ่ ผิวแดงน้ำตาล แข็งแรง ว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาด เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายในทางที่ถูก ไม่ยอมทำตามในทางที่ผิด มีความเมตตาเป็นที่ตั้งมาตั้งแต่เกิด

การบรรพชา
เมื่อพระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม) อายุได้ 29 ปี ได้บรรพชาในวัดบ้านนาหว้า ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
โดยมีพระอุปัชฌาย์ พระครูวชิรธรรมโสภณ  พระกรรมวาจาจารย์ พระประทง ชาคโร และ พระอนุสาวนาจารย์ พระบุญมา ปุญญกาโม
บรรพชาเมื่อวันที่ 5 เดือนเมษายน พ.ศ.2539 เวลา 05.29 น.
ได้รับนามฉายาว่า “อุตฺตโม” แปลว่า ผู้สูงสุด  
           ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาความรู้ทางพระศาสนา มีสวดมนต์และสูตรต่าง ๆ ในวัดบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปรานีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเล่าเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้
ต่อมาได้ออกเดินธุดงค์ ครั้งนั้นพระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม) เริ่มจาริกธุดงค์ออกจาก วัดนาหว้า ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี มุ่งหน้าสู่จังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย จนครบทุกจังหวัด เส้นทางธุดงค์ของพระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม) เอาแนวชายดงชายเขาอันเปล่าเปลี่ยวเป็นเส้นทางโคจร  จะหยุดยั้งปักกลดบำเพ็ญสมณธรรม  ก็ถือเอาทำเลชัยภูมิซึ่งห่างไกลชุมชนหมู่บ้านพอสมควร พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม) ได้เดินเท้าไปเรื่อยๆ  กระทั่งถึงจังหวัดที่ติดกับแม่น้ำโขง พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม) ได้อาศัยเรือข้ามแม่น้ำโขงไปขึ้นยังฝั่งลาว และได้ปักกลดบำเพ็ญธรรมตามทางไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเข้าพรรษาจึงได้จำพรรษาอยู่ที่วัดหนึ่งในฝั่งลาว หลังออกพรรษาแล้วได้อำลาเจ้าอาวาสผู้มีเมตตาอารีออกเดินธุดงค์ต่อไปอีก กลับมายังฝั่งไทย
            พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)จาริกธุดงค์ไปเรื่อยๆ หากพบหมู่บ้านก็พอได้อาศัยโคจรบิณฑบาต  หากไม่พบพานชุมชนคนอาศัยก็เท่ากับอดอาหารงดฉันไปโดยปริยาย แต่มิได้ทำให้เดือดร้อนวุ่นวายอะไรนัก  เพราะจิตใจนั้นอิ่มเอิบเบิกบานอยู่ด้วยธรรมตลอดเวลาจากชาวบ้าน พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม) จาริกไปจนถึงทางเหนือล่องลงมาทางใต้ของประเทศ มีทิวเขาโอบล้อมทอดตัวสลับซับซ้อน ผ่านเชิงเขาขนาดย่อม และขนาดใหญ่ มีถ้ำต่างๆ ดูร่มรื่นสงัดเงียบเป็นที่น่าพอใจ
            พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม) ได้เดินเท้าไปเรื่อยๆ กระทั่งถึงจังหวัดที่ติดกับประเทศพม่า แล้วท่านได้เดินข้ามไปปักกลดบำเพ็ญธรรมอยู่ในประเทศพม่า มีชาวบ้านที่พบเห็นท่านก็ต่างพากันปีนป่ายไต่เขาขึ้นมานมัสการท่าน แล้วนิมนต์ให้ท่านอยู่ที่นี้นานๆ เพื่อที่พวกตนจะได้มีโอกาสทำบุญใส่บาตรสร้างกุศลกันบ้าง  เพราะไม่มีพระสงฆ์องค์เจ้าผ่านมานานแล้ว พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม) ก็รับนิมนต์  ทำให้ชาวบ้านพากันปีติยินดีกันทั่วหน้า เมื่อออกพรรษาท่านก็ออกเดินเท้าไปเรื่อยๆ ไปต่อ จนไปถึงจังหวัดศรีสะเกษ ได้ข้ามไปปักกลดบำเพ็ญธรรมอยู่ในประเทศกัมพูชา (เขมร) เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านที่ท่านเดินผ่านไปแต่ละหมู่บ้าน จนออกพรรษา ท่านจึงเดินทางกลับมายังฝั่งไทย ได้เดินเท้าไปเรื่อยๆ โดยมีเป้าหมายคือ ภาคเหนือของประเทศไทย ท่านได้ไปปักกลดบำเพ็ญธรรม ตามภูเขา ถ้ำต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อโปรดชนเผ่าชาวเขา ให้รู้จักหลักพระพุทธศาสนา ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การปฏิบัติของท่านในช่วงธุดงค์อยู่นั้น เป็นไปอย่างเอาจริงเอาจัง ยอมมอบกายถวายชีวิตไว้กับป่าเขา ท่านก็ยังไม่ละความเพียร สมดังที่ท่านเคยสอนลูกศิษย์ว่า ในการประพฤติปฏิบัตินั้น จำต้องยอมมอบกายถวายชีวิตลงไปดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า "ถ้ามันไม่ดีหรือไม่ได้พบความจริงก็ให้มันตาย ถ้ามันไม่ตายก็ให้มันดี หรือได้พบกับความจริง”ดังนั้น อุปสรรคต่างๆ จึงกลับเป็นปัจจัยช่วยให้จิตใจของผู้ปฏิบัติแข็งแกร่งขึ้นเป็นลำดับ

การปกครองคณะสงฆ์
เมื่อครั้นอายุพรรษาได้ 19 พรรษา ก็ได้กลับรับตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดวังม่วง ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
          พ.ศ.2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดวังม่วง ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
          พ.ศ.2558 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบล ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
          พ.ศ.2560 ได้รับตำแหน่งได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหน้าที่หลัก 2 อย่างคือเป็นผู้รับผิดชอบและรับรองผู้บวชในพิธีบรรพชาอุปสมบทและเป็นผู้รับปกครองดูแล แนะนำ ตักเตือนและติดตามความเป็นอยู่ของผู้ที่ตนบวชให้ เหมือนบิดาปกครองดูแลบุตร ตามกฎมหาเถรสมาคมนั้นได้กำหนดให้เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลหนึ่ง ให้มีพระอุปัชฌาย์เพียงหนึ่งรูป

ครูบาอาจารย์ที่ได้เล่าเรียน
      1.ครูบาอาจารย์อุ่นตาริน ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า
      2.ครูบาอาจารย์พ่อใหญ่พิช จังหวัดธาตุพนม
      3.หลวงปู่คำมั่น คัมภีรปัญโญ วัดศิลาดาษ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น
      4.พ่อใหญ่หลาว บ้านหนองโพนเพ็ง ตำบลหนองสิม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี                    
      5.หลวงปู่สรวง ออยเตียนสรูล บายติ๊กเจีย วัดไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
      6.หลวงพ่ออาจ อชิโต พักสงฆ์ภูปะปังเขาพลาญไทร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
      7.หลวงปู่ทา นาควัณโณ วัดศรีสว่างนาราม อำเภอโพธิไทร จังหวัดอุบลราชธานี(ศิษย์หลวงปู่ญาท่านตู๋)
   
         พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม) ถือเป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา เป็นผู้มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา ข้อวัตรปฏิปทาอันหมดจดงดงามย่อมเป็นเนติแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลังได้เจริญรอยตาม การทำอัตตัตถจริยา คือ การบำเพ็ญประโยชน์ตน ก็ถึงที่สุดแล้ว โดยอยู่จบพรหมจรรย์เสร็จกิจในพระพุทธศาสนาบรรลุคุณธรรมขั้นสูงสุด  การทำญาตัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ญาติมิตร ก็ถึงที่สุดแล้ว โดยเทศนาอบรมพระเณร และโปรดโยมมารดา จนตั้งอยู่ในอริยภูมิ  การทำโลกัตถจริยา คือ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อโลก ก็ถึงที่สุดแล้ว ด้วยเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นแผ่ไปในเหล่าสรรพสัตว์ ดังเช่น การช่วยเหลือ โรงพยาบาล หน่วยงานราชการ โรงเรียนต่างๆ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบทุกข์ภัย การทำนุบำรุงพุทธศาสนา และที่สำคัญยิ่งคือ เทศนาธรรมที่ตรงแน่วต่อมรรคผลนิพพาน ถือเป็นธรรมสมบัติอันล้ำค่า ที่พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม) ได้มอบไว้แก่ปวงศิษย์ทุกคน
    เอวัง.


3  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / บรมครูใหญ่ สายธรรมอุตตโมบารมี เมื่อ: 14 มีนาคม 2561, 13:10:50
ธรรมสายธรรมอุตตโมบารมี เป็นธรรมกรรมฐาน 40 กองนั้น จัดเป็นสมถะ คือไม่ก่อปัญญาแต่สามารถเป็นพื้นฐานในการไปสู่ปัญญาได้ มี 36 กอง ส่วนกรรมฐานที่จัดเป็นวิปัสสนาแท้ มีเพียง 4 กองเท่านั้น คือสติปัฏฐาน 4 ซึ่งได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม หากแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ก็ได้แก่ กรรมฐานฝ่ายโลกียะ 36 กรรมฐาฝ่ายโลกุตตระ 4 ซึ่งแน่นอนว่ากรรมฐานฝ่ายโลกียะไม่สามารถทำให้ใครบรรลุธรรมได้ แต่ถ้าคนเข้าใจก็เป็นบันไดชั้นดีเพื่อไปสู่ธรรมขั้นสูงและยังทำให้ผู้ปฏิบัติมีที่ยึดเหนี่ยวใจให้ปฏิบัติในศิลธรรม เป็นคนดีของสังคม รักษาศิลอย่างเคร่งครัด
4  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตตโม (พระอาจารย์เบิ้ม) วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 14 มีนาคม 2561, 12:58:54
บรมครูใหญ่ สายธรรมอุตตโมบารมี เป็นธรรมกรรมฐาน 40 กองนั้น จัดเป็นสมถะ คือไม่ก่อปัญญาแต่สามารถเป็นพื้นฐานในการไปสู่ปัญญาได้ มี 36 กอง ส่วนกรรมฐานที่จัดเป็นวิปัสสนาแท้ มีเพียง 4 กองเท่านั้น คือสติปัฏฐาน 4 ซึ่งได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม หากแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ก็ได้แก่ กรรมฐานฝ่ายโลกียะ 36 กรรมฐาฝ่ายโลกุตตระ 4 ซึ่งแน่นอนว่ากรรมฐานฝ่ายโลกียะไม่สามารถทำให้ใครบรรลุธรรมได้ แต่ถ้าคนเข้าใจก็เป็นบันไดชั้นดีเพื่อไปสู่ธรรมขั้นสูงและยังทำให้ผู้ปฏิบัติมีที่ยึดเหนี่ยวใจให้ปฏิบัติในศิลธรรม เป็นคนดีของสังคม รักษาศิลอย่างเคร่งครัด
5  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 14 มีนาคม 2561, 12:57:42
บรมครูใหญ่ สายธรรมอุตตโมบารมี เป็นธรรมกรรมฐาน 40 กองนั้น จัดเป็นสมถะ คือไม่ก่อปัญญาแต่สามารถเป็นพื้นฐานในการไปสู่ปัญญาได้ มี 36 กอง ส่วนกรรมฐานที่จัดเป็นวิปัสสนาแท้ มีเพียง 4 กองเท่านั้น คือสติปัฏฐาน 4 ซึ่งได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม หากแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ก็ได้แก่ กรรมฐานฝ่ายโลกียะ 36 กรรมฐาฝ่ายโลกุตตระ 4 ซึ่งแน่นอนว่ากรรมฐานฝ่ายโลกียะไม่สามารถทำให้ใครบรรลุธรรมได้ แต่ถ้าคนเข้าใจก็เป็นบันไดชั้นดีเพื่อไปสู่ธรรมขั้นสูงและยังทำให้ผู้ปฏิบัติมีที่ยึดเหนี่ยวใจให้ปฏิบัติในศิลธรรม เป็นคนดีของสังคม รักษาศิลอย่างเคร่งครัด
หน้า: [1]
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!