ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน

ห้องพระ => หลวงปู่ชา สุภัทโท => ข้อความที่เริ่มโดย: chanatip ที่ 23 พฤศจิกายน 2554, 16:54:26



หัวข้อ: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: chanatip ที่ 23 พฤศจิกายน 2554, 16:54:26

 006

 

ด้วยความเคารพ


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: warleas ที่ 23 พฤศจิกายน 2554, 17:48:50
จริงๆแล้ว พวกเราเองก็รู้วัตถุมงคลมันเป็นสิ่งยวดยุแก่คฤหัส เป็นดังสิ่งปลอมปนในพระพุทธศาสนา แต่ผมก็เก็บเหรียญท่านไว้ระลึกถึงท่าน ห้อยโดยไม่ได้หวังว่าจะแคล้วคลาดหรือเมตตาอะไรครับ


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: สองแสนแสบ ที่ 23 พฤศจิกายน 2554, 17:57:16
จริงๆแล้ว พวกเราเองก็รู้วัตถุมงคลมันเป็นสิ่งยวดยุแก่คฤหัส เป็นดังสิ่งปลอมปนในพระพุทธศาสนา แต่ผมก็เก็บเหรียญท่านไว้ระลึกถึงท่าน ห้อยโดยไม่ได้หวังว่าจะแคล้วคลาดหรือเมตตาอะไรครับ
สนับสนุนความคิดพี่อีก 1 เสียงครับ ผมก็เก็บเหรียญท่านไว้ 1 เหรียญเช่นกันครับผม


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: MaiUbon ที่ 23 พฤศจิกายน 2554, 18:27:42
ผมไม่มีเหรียญท่านเลยครับ แต่ก็นับถือท่านครับ  017 017


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: chanatip ที่ 23 พฤศจิกายน 2554, 18:44:50



005



หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: aon-ubon ที่ 23 พฤศจิกายน 2554, 19:48:31
ผมศรัทธาท่านครับ
ผมไม่มีเหรียญวัตถุมงคลของท่านเลย
มีเพียงรูปถ่าย เก็บท่านไว้ในจิตใจ
เพราะทราบว่าท่านไม่ยินดีให้สร้าง
แม้เหรียญรุ่นแรก ท่านยังไม่ยอม เลยไม่รู้ว่าท่านปลุกเสกหรือเปล่า
ตัดปัญหาก็เลยไม่มีวัตถุมงคลของท่าน


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ ที่ 23 พฤศจิกายน 2554, 21:57:50
ทราบเพียงว่าเหรียญรุ่นแรกท่าน คณะลูกศิษย์ของท่านโดยการนำของคุณกมล สินธุเชาน์และคุณชัยสิทธิ์ เตชะศิริธนะกุล โดยท่านได้อนุญาติให้คณะบุคคลดังกล่าวให้จัดสร้างเหรียญตั้งแต่ ปี 2516  ต่อมาโยมแม่ของท่านได้ถึงแก่กรรมในปี 2517 ท่านได้กำหนดวันฌาปนกิจโยมแม่ของท่าน ในวันที่ 2 มีนาคม 2518 ตรงกับวันมาฆบูชา คณะผู้ได้รับอนุญาติให้สร้าง จึงถือโอกาสวันฌาปนกิจโยมแม่ของหลวงปู่สร้างเหรียญรุ่นแรก  แต่ปีที่ท่านเอาเหรียญรุ่นแรกออกมาให้คณะเจ้าภาพผู้สร้างเหรียญในปี 2522 ทองคำ 28 เหรียญ โดยเหรียญเงิน 500 เหรียญ เจ้าภาพคืนให้หลวงปู่ 300 และได้แจกพระเณรและคณะผู้ใกล้ชิดหมดภายในวันเดียวกัน ส่วนทองแดง 3004 เหรียญ คณะผุ้สร้างถวายหลวงปู่ 2504 เหรียญ แจกเอง 500 เหรียญ ซึ่งองค์หลวงปู่ไม่ได้แจกในวันงานฌาปนกิจโยมแม่ของหลวงปู่ตามที่ปรากฎ วันเวลาบนเหรียญของท่าน


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: คนโก้ ที่ 25 พฤศจิกายน 2554, 09:34:23
ผมคิดเหมือนท่าน aon-ubon ครับ ศรัทธาท่านมากครับ ผมเก็บหนังสือธรรมะของท่าน กับภาพถ่าย 017


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: MaiUbon ที่ 25 พฤศจิกายน 2554, 11:37:14
สงสัยพี่โก้ต้องแบ่งรูปหลวงปู่ชา ให้น้องคนนี้ซักแผ่นแล้วล่ะครับ  019 019


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: warleas ที่ 25 พฤศจิกายน 2554, 12:33:41
ผมว่ามันไม่สำคัญหรอกครับ ว่ามีเหรียญ มีภาพถ่าย มีหนังสือของท่าน ผมว่ามันสำคัญที่เราปฎิบัติตามคำสั่งสอนที่ท่านเป็นคูบาอาจารย์ของเรา ถึงมีเหรียญหรือหนังสือเป็นกอง แต่ถ้าหลงลืม หรือไม่เคารพในคำสอนของท่าน มันก็เท่าเดิม


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: vs12 ที่ 25 พฤศจิกายน 2554, 14:10:53
    วัตถุประสงค์ของการสร้างวัตถุมงคลของคณาจารย์แต่โบราณ เพื่อให้คนที่มีกำลังใจอ่อน นึกถึงพระรัตนตรัย จึงสร้างให้คล้องคอไว้อยู่ใกล้ๆพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  เพราะกำลังใจของคนจะไม่เท่ากัน และเพราะเหตุกำลังใจไม่เท่ากันนี้ พระพุทธองค์ต้องเปลืองคำสอนตั้ง 84000 พระธรรมขันธ์ เพื่อให้ถูกกับจริต วาสนา บารมีของแต่ละคน ทั้งๆที่ทุกคำสอน กล่าวถึงเรื่องเดียวกันหมด อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา
     พระพุทธเจ้า  ยังมีตั้ง 3 ตระกูล 1.ปัญญาธิกะ 2.สัทธาธิกะ 3.วิริยาธิกะ
     พระอรหันต์  4 ประเภท
     1.สุขวิปัสสโก  นี่บรรลุแล้วไม่เห็นผีเห็นสาง ไม่เห็นสวรรค์ ไม่เห็นนรก มีแต่จิตสบาย กิเลสแห้งเหือดไป
     2.เตวิชโช  การมีทิพย์จักขุญาณ สามารถรู้สัตว์และคนที่ตายไปแล้วไปเกิดที่ไหน คนและสัตว์ที่มาเกิดนี้มาจากไหน แล้วมีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติของตนเองได้
      3.ฉฬภิญโญ  ทรงอภิญญาหมายความว่ามีฤทธฺ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ไม่จำกัด
      4.ปฏิสัมภิทัปปัตโต  มีความรู้พิเศษ ครอบคุมฉฬภิญโญ ทรงพระไตรปิฎก รู้ภาษสัตว์ต่างๆ ภาษาคนภาษาสัตว์นี่ไม่ต้องเรียน รู้ แล้วก็รู้อธิบายขยายความ อธิบายเนื้อความขยายให้กว้างก็ได้ หรือเนื้อความที่เขาอธิบายมาแล้วกว้างๆ ก็ย่อลงให้สั้นให้เข้าใจได้ดี

 


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: สองแสนแสบ ที่ 25 พฤศจิกายน 2554, 16:59:17
    วัตถุประสงค์ของการสร้างวัตถุมงคลของคณาจารย์แต่โบราณ เพื่อให้คนที่มีกำลังใจอ่อน นึกถึงพระรัตนตรัย จึงสร้างให้คล้องคอไว้อยู่ใกล้ๆพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  เพราะกำลังใจของคนจะไม่เท่ากัน และเพราะเหตุกำลังใจไม่เท่ากันนี้ พระพุทธองค์ต้องเปลืองคำสอนตั้ง 84000 พระธรรมขันธ์ เพื่อให้ถูกกับจริต วาสนา บารมีของแต่ละคน ทั้งๆที่ทุกคำสอน กล่าวถึงเรื่องเดียวกันหมด อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา
     พระพุทธเจ้า  ยังมีตั้ง 3 ตระกูล 1.ปัญญาธิกะ 2.สัทธาธิกะ 3.วิริยาธิกะ
     พระอรหันต์  4 ประเภท
     1.สุขวิปัสสโก  นี่บรรลุแล้วไม่เห็นผีเห็นสาง ไม่เห็นสวรรค์ ไม่เห็นนรก มีแต่จิตสบาย กิเลสแห้งเหือดไป
     2.เตวิชโช  การมีทิพย์จักขุญาณ สามารถรู้สัตว์และคนที่ตายไปแล้วไปเกิดที่ไหน คนและสัตว์ที่มาเกิดนี้มาจากไหน แล้วมีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติของตนเองได้
      3.ฉฬภิญโญ  ทรงอภิญญาหมายความว่ามีฤทธฺ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ไม่จำกัด
      4.ปฏิสัมภิทัปปัตโต  มีความรู้พิเศษ ครอบคุมฉฬภิญโญ ทรงพระไตรปิฎก รู้ภาษสัตว์ต่างๆ ภาษาคนภาษาสัตว์นี่ไม่ต้องเรียน รู้ แล้วก็รู้อธิบายขยายความ อธิบายเนื้อความขยายให้กว้างก็ได้ หรือเนื้อความที่เขาอธิบายมาแล้วกว้างๆ ก็ย่อลงให้สั้นให้เข้าใจได้ดี

 
สาธุ สาธุ สาธุ  017 017 017 สุดยอดครับพี่ อ่านแล้วเข้าใจเรื่องวัตถุมงคลขึ้นเยอะเลย ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับผม

(http://upic.me/i/fs/21m18.jpg) (http://upic.me/show/30593215)
(http://upic.me/i/cw/i0120.jpg) (http://upic.me/show/30593219)


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: ChayTurbo ที่ 25 พฤศจิกายน 2554, 23:58:03
หลวงปู่ชาท่านคงไม่อยากให้ยึดติดกับวัตถุมากนัก ท่านเน้นด้านการศึกษา การปฏิบัติธรรม เพื่อการหลุดพ้นจากสังสารวัฐ
พระสุปฏิปันโน สายวัดป่าไ่ม่ต้ิองปลุกเสกวัตถุมงคล เพืยงท่านอธิฐานจิตวัตถุมงคลนนั้นก็ขลังเเลัวศักดิ์เเล้วละครับ
พระเครื่องเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจให้เรา นึกถึงพระรัตนตรัย เเละทำความดี หลีกหนีความเลว ผมเห็นด้วยกับกับท่าน vs12 ครับ
มนุษย์เเต่ละบุคคลภูมิจิตทีี่่ต่างกัน การโน้มใจให้ใจเข้าถึงพระรัตนตรัย นั้นยากสำหรับมนุษย์ที่มีกิเลส การที่เกจิอาจารย์สร้าง
พระเครื่องก็เป็นกุศโลบายให้ผู้คนสนใจพระพุทธศาสนามาก เข้าวัดบ่อยทำบุญบ่อยขึ้นเท่านั้น หรือช่วยเป็นขวัญกำลังใจให้กับ
ผู้ที่ศรัทธาต่อพระอาจาย์ท่านได้ีของมงคลไว้คุ้มครองตัว 
   การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดก็ มีเเต่นิพพานเท่านั้น   007

  ขอบคุณสำหรับทุกๆความคิดเห็นของทุกท่าน   007   


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: บ่แม่นเซียนเป็นคนซื้อพระ ที่ 20 ธันวาคม 2554, 00:03:07
สายวัดป่า เน้น หลุดพ้นเข้านิพพาน ไม่ได้เน้นยึดติดวัตถุมงคล ครับผม แต่ที่มีวัตถุมงคลหลวงปู่ให้บูชา เพราะ ลูกศิษย์อยากมีไว้เป็นที่ระลึก ให้นึกถึงหลวงปู่ หลวงปู่ก็เลยเมตตาให้สร้างครับผม หลวงปู่เน้น ปฏิบัติธรรม ไม่เน้น วัตถุมลงคล  017 017


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: seksun ที่ 20 ธันวาคม 2554, 13:10:26
สำหรับของหลวงปู่ชๅผมไม่มีแม้แต่อย่างเดียว แต่ผมมีรูปกับธรรมของท่านที่ท่านเคยให้ไว้แค่นั้นเองครับ ขนาดคนพื้นที่คนที่ที่อยฺูมานานผมสอบถามดขายังบอกว่าไม่มัไม่เคยสร้าง ผมไม่ดข้สใจ


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: คมขวาน ที่ 21 ธันวาคม 2554, 10:39:46
ได้พระของขวัญมา1 องค์ครับ ตอนสมัยบวช ที่วัดถ้ำแสงเพรช เพื่อเป็นที่ละลึกถึงท่าน และหนังสือที่ผมชอบอ่าน และสะสม มี
1. หนังสือโพธิญาณ
2. หนังสือน้ำนิ่งไหลลึก
3. หนังสือนอกเหตุเหนือผล
4. หนังสืออีกเล่มจำชื่อไม่ได้

คำสอนท่านที่ผมจำได้ขึ้นใจ

ทุกข์มีเพราะยึด
ทุกข์ยืดเพราะอยาก
ทุกข์มากเพราะพลอย
ทุกข์น้อยเพราะหยุด
ทุกข์หลุดเพราะปล่อย


หัวข้อ: Re: เคยสงสัย วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา กันบ้างไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 21 ธันวาคม 2554, 10:56:24
ได้พระของขวัญมา1 องค์ครับ ตอนสมัยบวช ที่วัดถ้ำแสงเพรช เพื่อเป็นที่ละลึกถึงท่าน และหนังสือที่ผมชอบอ่าน และสะสม มี
1. หนังสือโพธิญาณ
2. หนังสือน้ำนิ่งไหลลึก
3. หนังสือนอกเหตุเหนือผล
4. หนังสืออีกเล่มจำชื่อไม่ได้

คำสอนท่านที่ผมจำได้ขึ้นใจ

ทุกข์มีเพราะยึด
ทุกข์ยืดเพราะอยาก
ทุกข์มากเพราะพลอย
ทุกข์น้อยเพราะหยุด
ทุกข์หลุดเพราะปล่อย


เยี่ยมครับ 007


หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: หมู่ต้อม ที่ 04 มกราคม 2555, 20:44:23
สาธุ  สาธุ  สาธุ  สาธุ


หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 08:04:19
(http://upic.me/i/73/lp-cha-pic-007-04.jpg) (http://upic.me/show/32067478)
1. พระเกษ (พ.ศ. 2510)

ลักษณะเป็นแผ่นตะกั่วม้วนหุ้มเป็นแท่ง ขนาดประมาณหัวลูกปืน ยาวบ้าง สั้นบ้างหัวกลมมนแบบลูกปืนบ้าง หัวตัดท้ายตัดบ้าง หัวแหลมเป็นทรงกรวยบ้าง

รุ่นแรกสุดทำเป็นหัวมนแบบลูกปืน ทำขึ้นในปี 2510 ส่วนแบบอื่น ๆ กำหนดรุ่นไม่ได้ว่าอย่างไหนก่อนหลัง คงแต่เพียงบอกได้ว่าได้มีการทำออกมาติดต่อกันหลายปี รูปทรงที่แตกต่างกันนั้นเกิดจากฝีมือผู้หุ้มห่อตะกั่วแต่ละคนไม่เหมือนกัน ห่อตามถนัด อย่างเช่นปี 2517 ท่านอาจารย์ผาเป็นผู้ห่อคนเดียว ลักษณะของพระเกษจึงเป็นรูปทรงกรวย ขนาดก็ไม่แน่นอน

ข้างในพระเกษบรรจุเส้นเกษาของหลวงพ่อชาและผงพุทธคุณ แต่รุ่นหลัง ๆ มีเพียงเส้นเกษาอย่างเดียว

พระเกษเป็นของเล่นยาก ดูยาก ถ้าไม่ใช่ผู้ได้รับจากหลวงพ่อแล้วจะไปหาเอาจากที่อื่นก็น่ากลัวว่าจะถูกของปลอม ได้ยินว่าแม้ตะกั่วถ่วงอวนหรือแหก็มีผู้เอามาอ้างว่าเป็นพระเกษและก็ยังขายได้



หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 08:05:55
(http://upic.me/i/bf/lp-cha-pic-009-01.jpg) (http://upic.me/show/32067482)
2. รูปถ่ายและตะกรุด 3 กษัตริย์ (พ.ศ. 2510)

ปีเดียวกันกับที่มีพระเกษออกมา คุณกฤษณะและแม่ชีวิไลได้ถือวิสาสะสร้างรูปหลวงพ่อพร้อมกับตะกรุด 3 กษัตริย์เลี่ยมรวมกันในกรอบพลาสติกเป็นจำนวนประมาณ 500 อัน พร้อมกับทำบล็อคพระเครื่องรูปหลวงพ่อ นั่งในซุ้มระฆังอย่างพระสมเด็จฯ โดยว่าจ้างช่างในจังหวัดนครสวรรค์ทำให้ ฯ

บล็อกพระเครื่องได้นำมาถวายหลวงพ่อ ส่วนรูปถ่ายและตะกรุด 3 กษัตริย์ไม่ถวาย

ต่อมาหลวงพ่อทราบว่าได้มีการสร้างรูปถ่ายและตะกรุด3 กษัตริย์ด้วย ก็สั่งให้แม่ชีวิไลนำรูปถ่ายและตะกรุด 3 กษัตริย์มามอบให้ท่าน เพราะเกรงว่าจะเป็นการทำขึ้นเพื่อประโยชน์ตน (ความจริงเรียกว่ายึดมา) เมื่อแม่ชีวิไลนำรูปถ่ายและตะกรุด 3 กษัตริย์มาถวายหลวงพ่อแล้ว หลวงพ่อก็นำออกแจกจ่ายแก่ญาติโยมทั่วไปจนหมด

รูปถ่ายและตะกรุด 3 กษัตริย์ จึงถือว่าเป็นวัตถุมงคลรุ่น 2



หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 08:08:49
(http://upic.me/i/ug/lp-cha-pic-002-01.jpg) (http://upic.me/show/32067491)
3. หลวงพ่อชาหลังใบไม้ (พ.ศ. 2510)

3. หลวงพ่อชาหลังใบไม้ (พ.ศ. 2510)

สืบเนื่องจากบล็อกที่คุณกฤษณะและแม่ชีวิไลนำมาถวาย หลวงพ่อก็ได้อนุญาตให้มีการสร้างพระเครื่องเนื้อผงขึ้นเป็นครั้งแรกโดยใช้บล็อกดังกล่าว ผู้ที่ได้เข้าร่วมกดพิมพ์พระคนหนึ่งคือคุณชัยสิทธิ เตชะศิริชนะกุล ซึ่งได้เล่าว่าพิธีกดพระทำขึ้นที่ใต้ถุนกุฏิหลวงพ่อทำกันเองในหมู่ลูกศิษย์ใกล้ชิด

ระหว่างที่กำลังผสมผงพุทธคุณ หลวงพ่อได้บอกว่าให้ไปเอาจีวรมา ทกคนเข้าใจว่าหลวงพ่อจะเอาจีวรมาห่ม แต่ปรากฏว่าท่านจะเอามาผสมใส่ในเนื้อพระด้วย จึงเกิดการถกกันว่าจะเอาจีวรใส่ลงไปอย่างไร คุณชัยสิทธิแสดงความคิดเห็นว่าให้ตัดจีวรเป็นชิ้นเล็ก ๆ บรรจุไว้ในองค์พระทุกองค์ ภายหลังถ้าจะพิสูจน์ว่าพระแท้หรือไม่ให้หักพระออกดู ถ้าพบจีวรก็แปลว่าแท้ แต่หลวงพ่อไม่ยอมให้ทำเช่นนั้น ท่านว่าขืนทำอย่างนั้นพระก็หักหมด จึงให้เอาจีวรทั้งผืนเผาไฟ เอาขี้เถ้าจีวรมาผสมนอกจากนี้มีขี้เถ้าจีวรแล้ว ยังมีเส้นเกษาของหลวงพ่อผสมอยู่ด้วย รวมทั้งขี้ธูปจากกระถางธูปบูชาพระประธานในศาลาและผงดอกไม้บูชาพระประธานในศาลาผสมอยู่ด้วย

ลักษณะของของพระเครื่องรุ่นแรกนี้ทำเป็นรูปหลวงพ่อนั่งสมาธิอยู่ในซุ้มระฆัง ฐานสองชั้น เนื้อขาวอย่างปูนปลาสเตอร์ เป็นพระไม่มีทน้ามีตา ด้านหลังเป็นรอยใบไม้.ทุกองค์ บางคนเข้าใจว่าเป็นใบโพธิ์แต่ความจริงเป็นใบไม้ธรรมดาทั่วไป ที่ทำเช่นนี้เพื่อความหมายว่าเป็นวัดป่าเท่านั้น ไม่มีเจตนาอื่น

ขนาดขององค์ไม่สามารถกำหนดมาตรฐานได้ เนื่องจากว่าผู้แกะพระออกจากบล็อกมีหลายคน บางคนหยิบพระโดยใช้นิ้วคีบด้านบนกับด้านล่างของพระ ก็จะทำให้พระดูสั้นลงหรือดูเตี้ยลงเล็กน้อย ถ้าใช้นิ้วคีบพระด้านข้างก็จะทำให้พระดูชะลูดขึ้นเล็กน้อย คงประมาณขนาดของพระได้ว่าอยู่ในราว ๆ ความกว้างประมาณ 2.4 ซ.ม. ยาว 3 ซ.ม. มีบางองค์กว้างถึง 2.6 ซ.ม. และยาว 3.5 ชม. ก็มี ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากการตัดปีกไม่เท่ากัน แต่ถ้าจะเอามาตรฐานโดยวัดจากขอบพระพิมพ์พระจริงวัดจากบนถึงล่าง โดยไม่นับส่วนปีกที่เกินออกมา ก็ควรจะอยู่ในราว 3.2 ซ.ม. ส่วนความหนาของพระยิ่งไม่แน่นอนใหญ่ มีทั้งหนามาก หนาพอดี และบางเกินไป

เนื้อพระโดยมากเป็นสีขาวอย่างปูนปลาสเตอร์ ที่เป็นสีเทาก็มี เทาอมเหลืองก็มี ทั้งนี้เป็นเพราะการผสมเนื้อพระแต่ละวันไม่เหมือนกัน ลักษณะพื้นผิวของพระดูหยาบและคล้ายจะแตกหักโดยง่าย แต่ถ้าดูด้วยแว่นขยายจะพบความแห้งและแกร่งไม่น้อย ในองค์ที่เนื้อผงออกสีขาว ผิวบางส่วนขึ้นเป็นเงามันคล้ายผิวของพระสมเด็จนาคปรกสุโขวิเวโก หลังตรายาง ของเจ้าคุณนรฯ สีของเนื้อพระก็ขาวเหมือนกัน

ข้อสังเกตพระรุ่นนี้ต้องดูที่ซุ้มระฆังด้านบน ซึ่งจะชิดขอบพระด้านบนมากเป็นพิเศษ และถ้าจะวัดความกว้างของซุ้มก็ดูจะได้มาตรฐานมากกว่า วัดขนาดองค์พระ คือความกว้างของซุ้มด้านล่างอยู่ในราว 2.2 ซ.ม. ความสูงของซุ้ม 2.9 - 3 ชม.

พระเครื่องรุ่นแรกนี้มีทั้งที่โรยกากเพชรไว้ด้านหน้า และไม่โรยกากเพชร

ที่มีการโรยกากเพชรนั้นเกิดจากผู้กดพิมพ์คิดเอากากเพชรมาโรยลงไปเอง เมื่อหลวงพ่อมาพบเข้าก็ตำหนิว่าเป็นพระลิเก จึงเลิกโรยกากเพชร แต่ว่ารุ่นหนึ่งนี้มีด้านหลังเป็นใบไม้ทุกองค์

พระเครื่องรุ่นนี้มีของปลอมออกมานานแล้ว ปลอมกันหลายหมู่หลายคณะ แต่ของปลอมไม่สามารถทำเนื้อได้เหมือน พิมพ์ก็ไม่เหมือน


หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 08:10:54
(http://upic.me/i/ky/lp-cha-pic-003-01.jpg) (http://upic.me/show/32067506)
4. หลวงพ่อชาหลังเรียบ (พ.ศ. 2511)

หลังเรียบนี้ใช้บล็อกเดียวกับรุ่นหลังใบไม้ เนื้อหามวลสารก็เป็นอันเดียวกัน คือใช้ผงเดิมที่ยังเหลือค้างอยู่จากปีที่แล้ว (2510) ต่างกันเพียงด้านหลังเท่านั้นที่ทำเรียบ ๆ ไม่มีอะไร

ดังนั้นข้อสังเกตในการแยกรุ่นแรกกับรุ่นสองจึงอยู่ที่ด้านหลัง รุ่นแรกจะมีรอยใบไม้ทุกองค์ ทั้งที่โรยกากเพชรและไม่โรยกากเพชร หากมีรอยใบไม้แล้วถือเป็นรุ่นแรกทั้งหมด ส่วนรุ่นสองนี้แม้ว่าด้านหน้าจะเหมือนรุ่นแรกทุกประการเพราะใช้บล็อกเดียวกัน แต่ด้านหลังจะเรียบไม่มีรอยกดพิมพ์ด้วยใบไม้


หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 08:12:26
(http://upic.me/i/b1/lp-cha-pic-010-01.jpg) (http://upic.me/show/32067520)
5. หลวงพ่อชาห้าเหลี่ยม ใหญ่ (พ.ศ. 2512)

อาจารย์โพธิ ขัมภรัตน์ เจ้าของโรงเรียนเอนกวิทยา จังหวัดอุบลฯ เป็นผู้สร้างถวาย โดยว่าจ้างนายคล้าย ธีรมาตร แกะบล็อก และได้ผงสำหรับสร้างจากมรรคทายกริน วัดป่าใหญ่ (พระเจ้าใหญ่อินแปลง) เท่าที่พบพระพิมพ์นี้มีอยู่หลายเนื้อ หลายสี บางองค์หลังเรียบ บางองค์มีรอยนิ้วหัวแม่มือกดพิมพ์ไว้ด้านหลังพระ รอยมือนั้นคนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นรอยมือหลวงพ่อชา ความจริงไม่ใช่ เป็นรอยมือของอาจารย์โพธิ์เอง ท่านจะกดไว้เพื่ออะไรก็ไม่ทราบ บางทีจะมุ่งหวังให้พระดูสวยหรือเป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวก็ได้

พระพิมพ์นี้ได้มีการนำออกขายโดยพละการที่หน้าวัดป่าใหญ่โดยมรรคทายกรินเป็นผู้ขาย

ถ้าใครไม่ได้รับจากมือหลวงพ่อแล้วอาจจะไม่สบายใจนักก็ได้



หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 08:20:32
(http://upic.me/i/hp/2bf00dbeec0b9a6e84a5f4e4a4fba528_101315.jpg) (http://upic.me/show/32067599)
(http://upic.me/i/7t/29b14b2924e6b1d93ec1962b08db1323_101316.jpg) (http://upic.me/show/32067600)
6. หลวงพ่อชาพิมพ์ใหญ่ (พ.ศ.2513)

 
หลวงพ่อชาพิมพ์ใหญ่ เนื้อผง ผสมเส้นเกษา (2513)
เฉพาะบล็อกนี้มีหลายเนื้อ
 
สืบเนื่องจากบล็อกหลวงพ่อชารุ่นแรกและรุ่นสอง คือรุ่นหลังใบไม้และหลังเรียบ เป็นบล็อกที่หลวงพ่อเห็นว่าไม่มีหน้าไม่มีตา จึงมอบบล็อกให้นายคล้าย ธีรมาตรไปแกะใหม่ โดยทำให้มีหน้ามีตามีจมูกชัดเจนขึ้น เมื่อนายคล้ายนำบล็อกไปแกะพิมพ์เสร็จแล้ว ไม่ได้เอาบล็อกที่แกะเสร็จมาถวายหลวงพ่อโดยทันที หากแต่ได้กดพิมพ์พระออกมาจำนวนหนึ่ง คือกดพิมพ์ทีละ 100 องค์บ้าง 200 องค์บ้าง เสร็จแล้วนำพระมาถวายหลวงพ่ออธิษฐานจิตให้ เมื่อหลวงพ่ออธิษฐานจิตให้แล้วได้ขอพระกลับไปครึ่งหนึ่ง ถวายหลวงพ่อครึ่งหนึ่งทุกครั้งไป

พระพิมพ์นี้ที่นายคล้ายกดพิมพ์ที่บ้านไปถวายหลวงพ่อทีละครึ่งโดยมากเนื้อพระจะออกสีขาวนวลหนักไปทางเนื้อปูนผสมว่าน

ต่อมานายคล้ายได้นำพระออกขาย คนไปซื้อกันมาก หลวงพ่อทราบข่าวว่านายคล้ายขายพระก็ให้คนไปยึดเอาบล็อกกลับคืน

เมื่อได้บล็อกคืนมาแล้วหลวงพ่ออนุญาตให้มีการกดพิมพ์พระด้วยบล็อกนี้ภายในวัด กดครั้งละ 10 องค์บ้าง 50 องค์บ้าง กดคราวละน้อย พอได้แจกแก่ผู้มากราบขอ เนื้อพระที่กดพิมพ์ในวัด โดยมากหนักไปทางเนื้อดอกคะยอมซึ่งมีอยู่มากในวัด พอถึงฤดูบานก็บานแล้วร่วงเกลื่อนวัด หลวงพ่อให้ไปเก็บกวาดเอามาทำพระ

แม้ว่าโดยมากจะเป็นเนื้อดอกคะยอมก็ตาม เนื้ออื่นที่แปลกออกไปก็มี ที่ทำขึ้นในวัดเช่นกัน ดังนั้นพระพิมพ์นี้จึงมีหลายเนื้อ

หลังจากพิมพ์พระได้พอควรแล้ว หลวงพ่อได้นำบล็อกพระพิมพ์นี้ขึ้นไปเก็บไว้บนหอระฆัง โดยโบกปูนปิดเอาไว้ในเพดาน บล็อกพิมพ์นี้จึงไม่มีโอกาสถูกนำออกมาใช้อีก
(http://upic.me/i/54/lp-cha-pic-010-04.jpg) (http://upic.me/show/32067636)


หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 08:24:37
(http://upic.me/i/ua/lp-cha-pic-005-01.jpg) (http://upic.me/show/32067683)
(http://upic.me/i/4e/lp-cha-pic-005-02.jpg) (http://upic.me/show/32067684)
(http://upic.me/i/06/lp-cha-pic-007-05.jpg) (http://upic.me/show/32067685)
(http://upic.me/i/4i/lp-cha-pic-008-01.jpg) (http://upic.me/show/32067686)
7. หลวงพ่อชาพิมพ์หัวโน และพิมพ์ธรรมดา (พ.ศ. 2516)

 
หลวงพ่อชาเนื้อผง พิมพ์หัวโน มีเส้นเกษาอยู่ในเนื้อ (2516)
 
ระหว่างปี 2514-2515 ก็มีการสร้างพระเครื่องถวายท่านแจกหลายรุ่นหลายพิมพ์ แต่ไม่สามารถจะรวบรวมหรือเรียงตามลำดับก่อนหลังได้ ทราบว่าได้มีการสร้างล็อกเก็ตรูปท่านขึ้น 12 อันในปี 2514 และมีพระพิมพ์แปลก ๆ ปรากฏอยู่หลายพิมพ์บางพิมพ์ หลวงพ่อได้มอบให้พระลูกศิษย์ซึ่งไปรักษาการเป็นเจ้าอาวาสตามวัดสาขาต่าง ๆ แจกแก่ญาติโยม เช่นหลวงพ่อเที่ยง โชติธมฺโม วัดป่าอรัญวาสีก็ได้พระของหลวงพ่อมาแจกอยู่ ระหว่างปี 14-15 หลวงพ่อเที่ยงแจกแล้วไม่ได้บอกว่าอะไร ผู้ได้รับไปเข้าใจว่าเป็นพระเครื่องของหลวงพ่อเที่ยง ภายหลังผู้เขียนได้กราบเรียนถามหลวงพ่อเที่ยง จึงทราบว่าเป็นพระของหลวงพ่อชาให้มาแจก ไม่ใช่พระของท่านแต่อย่างใด

 
พระสมเด็จหลวงพ่อชา (พ.ศ. 2514-2515)

พระอาจารย์เที่ยง โชติธมฺโม
แจกที่วัดป่าอรัญญวาสี
 
ครั้นถึงปี 2516 มีชาวนครสวรรค์เข็นพระลูกรังอัดมาเร่ขายที่เมืองอุบลฯ ผ่านมาที่หน้าบ้านคุณชัยสิทธิ เตชะศิริธนะกุล คุณชัยสิทธิได้สนทนาด้วย ทราบว่ามีความสามารถในการแกะบล็อกพระเครื่อง จึงว่าจ้างให้แกะบล็อกพระหลวงพ่อชา โดยตกลงกันว่าต้องทำให้เหมือนพระเครื่องรุ่นแรก คือรุ่นหลังใบไม้

ต่อมาชาวนครสวรรค์นำบล็อกพระที่แกะสำเร็จแล้วมาให้ 2 บล็อก คุณชัยสิทธิ์เห็นว่าแกะได้ไม่เหมือน จึงไม่ยอมรับไว้เพราะถือว่าผิดข้อตกลง

วันหนึ่ง คุณชัยสิทธินั่งสนทนากับหลวงพ่อที่ใต้ถุนกุฏิท่าน ก็แลเห็นชาวนครสวรรค์เดินเข้ามา คุณชัยสิทธิ์ร้อนใจรีบเล่าเรื่องบล็อกถวายหลวงพ่อทราบโดยเร็ว เมื่อชาวนครสวรรค์เข้ามาถึงแล้วก็กราบเรียนฟ้องหลวงพ่อว่า คุณชัยสิทธิจ้างแกะบล็อกแล้วไม่เอา เขาเสียหายมาก เพราะว่าลงทุนไปแล้วไม่ได้คืน

คุณชัยสิทธิเห็นว่าเรื่องจะยืดเยื้อ จึงตัดใจยอมจ่ายเงินให้ไปเพื่อจะได้หมดเรื่องหมดราวเสียที โดยจ่ายเงินไปเป็นจำนวน 500 บาท

เมื่อชาวนครสวรรค์ได้เงินแล้วก็กลับไป คุณชัยสิทธิ์ก็เอาบล็อกขึ้นมาจะทำลายทิ้ง หลวงพ่อซึ่งนั่งฟังและดูเหตุการณ์เงียบ ๆ มาตลอดร้องห้ามว่าอย่าทุบ อย่าทุบ เก็บไว้ เก็บไว้สร้างพระอีก

ตกลงบล็อกทั้งสองก็ได้กดพิมพ์พระขึ้นมาแจกแก่ญาติโยมอีกในปีนั้น


 
หลวงพ่อชาเนื้อมะพร้าวนรเก พิมพ์หัวโน ไม่มีเส้นเกษา บางองค์แห้งแล้ว หดตัว เล็กลงมาก ขนาดของแต่ลพเนื้อกำหนดมาตรฐานไม่ได้
 
พระที่พิมพ์ด้วยบล็อกทั้งสองนี้โดยมากเป็นเนื้อที่เรียกกันว่ามะพร้าวนรเก คือหลวงพ่อได้ทุบเอาผงขาวในก้อนหินที่เชื่อกันว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์ที่ฤๅษีในสมัยก่อนทำเอาไว้ เป็นหินที่ลักษณะขนาดกำปั้น กลมกลึงสวยงาม ซึ่งถ้าทุบแตกแล้วตรงใจกลางจะมีผงขาว ๆ รวมตัวอยู่หลวงพ่อก็ได้เอาผงส่วนนี้มาผสมสร้างพระ จึงเรียกกันว่า?เนื้อมะพร้าวนรเก?

บล็อกพระอันที่หนึ่งเป็นบล็อกธรรมดา อีกบล็อกหนึ่งจะพบว่าที่ศีรษะหลวงพ่อด้านซ้ายจะมีตุ่มกลมเป็นเม็ดติดอยู่ คนจึงเรียกว่าบล็อกหัวโน ที่เกิดเป็นตุ่มขึ้นนี้เนื่องจากว่าในบล็อกเกิดมีฟองอากาศอยู่ตรงนั้นพอดีทั้งสองบล็อกนี้มีลักษณะเดียวกัน เว้นแต่ตุ้มกลมที่ศีรษะหลวงพ่อ เท่านั้น

มีพระเนื้อดอกคะยอมที่กดด้วยบล็อกทั้งสองนี้อยู่รุ่นหนึ่งซึ่งทุกวันนี้หายาก เป็นพระที่ผสมด้วยน้ำมันขี้โล้ สร้างขึ้นจำนวน 50 องค์

มูลเหตุที่สร้างนั้นเกิดขึ้นขณะหลวงพ่อกำลังดูแลเรื่องสร้างโบสถ์ คุณชัยสิทธิเห็นช่างเอาน้ำมันขี้โล้ทาพื้นล่างของโบสถ์ก็ถามหลวงพ่อว่า ทาทำไม

หลวงพ่อว่า ทากันน้ำซึม

 
หลวงพ่อชาพิมพ์หัวโน เนื้อดอกคะยอมผสมน้ำมันขี้โล้ พระไม่แข็งแรง ชำรุดเสียหายทุกองค์ (2516)
 
คุณชัยสิทธิได้ยิน เกิดความคิดว่าถ้าเอาน้ำมันขี้โล้มาผสมสร้างพระคงจะดี เพราะว่ากันซึมได้

หลวงพ่อก็ว่า เอางั้นรึ

คุณชัยสิทธิว่า เอา

หลวงพ่อก็อนุญาตให้ลองดู

เมื่อทำพระออกมาได้ 50 องค์ หลวงพ่อให้เลิก เพราะเห็นว่าไม่ได้ผลดีดังที่คุณชัยสิทธิคิด พระชุดนี้ไม่สวย แถมผุพังง่ายไม่แข็งแรง หลายองค์คงพังเป็นฝุ่นไปแล้ว ที่ยังเหลืออยู่ก็พรุนเป็นรู จึงจัดว่าเป็นพระหายากอีกเนื้อหนึ่ง

พระพิมพ์นี้ที่ทำด้วยเนื้อดอกคะยอม ทำขึ้นเป็นครั้งแรกสำหรับบล็อกทั้งสอง หลังจากนั้นจึงทำเนื้อมะพร้าวนรเกออกมา และมีเนื้ออื่น ๆ อีกหลายเนื้อ

ไม่ว่าจะเป็นเนื้ออะไรก็ตาม หากเป็นพระที่มาจากบล็อกทั้งสองเป็นไว้วางใจได้ เพราะว่าทำขึ้นในวัด ไม่รั่วไหลออกนอกวัด แต่อย่างใด

เป็นพระที่บริสุทธิ์ผุดผ่องในการสร้าง เทียบเท่ากับรุ่นแรกหลังใบไม้ และรุ่นสองหลังเรียบ

บล็อกทั้งสองนี้ได้พิมพ์พระออกมาเรื่อย ๆ หลายครั้ง ไม่สามารถแยกได้ว่าเนื้อไหนก่อนหลัง คงทราบแต่ว่า เนื้อดอกคะยอมผสมน้ำขี้โล้เท่านั้นที่พิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกด้วยบล็อกทั้งสอง

(ในปีเดียวกันนี้ทราบว่าได้มีการทำล็อกเก็ตขึ้น 124 อัน แต่ไม่มีภาพให้ดู)



หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 08:29:25
(http://upic.me/i/1z/lp-cha-pic-013-01.jpg) (http://upic.me/show/32067714)
8. หลวงพ่อชาหน้าตรง พิมพ์ งจส. (พ.ศ. 2517)

พระเครื่องพิมพ์นี้ร่วมมือกันสร้างขึ้นสามคน คือร้านง่วนอัง, คุณอ๊อด และอีกคนไม่ทราบชื่อ แต่เป็นเจ้าของแผงหนังสือพิมพ์ที่โรงหนังศิริสิน (เก่า) กดพิมพ์ขึ้นมาในวัดทั้ง 104 องค์ ระหว่างกดพิมพ์กันอยู่นั้น คุณชัยสิทธิไปกราบหลวงพ่อพอดี หลวงพ่อกล่าวว่า เขาขอรูปเฮาไปทำล็อกเกต ดันไปทำเป็นบล็อกทองเหลืองมา โน่นกำลังกดอยู่หอฉัน ไปดูสิ

หลังจากกดพระได้ครบจำนวน 104 องค์แล้ว นำพระถวายหลวงพ่อ และขอบล็อกกลับคืน อ้างว่าจะเอาไปลบตัวหนังสือ ?งจส.? ที่ด้านหลังออกเสียก่อน จึงจะนำมาถวายหลวงพ่อ เพราะว่าอยากให้มีพระที่ด้านหลังมี ?งจส.? อยู่แค่ 104 องค์ หลวงพ่อก็อนุญาตให้นำบล็อกกลับไป

ปรากฏว่าเอาบล็อกไปนานนับเดือน ไม่เอามาคืน ต้องส่งคนไปตาม เมื่อได้บล็อกมาแล้วหลวงพ่อได้จัดพิมพ์เอง เป็นพระเนื้อชานหมากจำนวน 12 องค์ ส่วนเนื้อเทียนไขก็มี แต่ว่าเป็นของท่านอาจารย์คำ วัดสวนกล้วยทำขึ้นทีหลัง เนื่องจากว่าภายหลังหลวงพ่ออาพาธแล้วบล็อกนี้ได้ตกไปอยู่กับท่านอาจารย์คำ และท่านได้กดพระพิมพ์นี้ขึ้นที่วัดสวนกล้วยหลายรุ่นหลายเนื้อ ปัจจุบันนี้ท่านอาจารย์เลี่ยม เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง ได้ขอเอาบล็อกนี้กลับมาเก็บไว้ที่วัดหนองป่าพง และไม่มีการสร้างพระด้วยบล็อกนี้ขึ้นมาอีก



หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 08:30:19
(http://upic.me/i/1z/lp-cha-pic-013-01.jpg) (http://upic.me/show/32067714)
(http://upic.me/i/8f/lp-cha-pic-013-02.jpg) (http://upic.me/show/32067719)


หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 08:34:22
เดี๋ยวมีภาคสอง(พาหลานไปเที่ยววัดเด็กก่อน อิอิอิ)เคดิตจากจากหนังสือ บุญญฤทธิ์ พระโพธิญาณเถร

หลวงพ่อชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง

อำพล เจน บรรณาธิการ



หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 17:07:59
(http://upic.me/i/vn/lp-cha-pic-007-03.jpg) (http://upic.me/show/32081394)
9. พระเกษเจดีย์ คณะศิษย์ ร.ร.นายเรืออากาศ สร้างถวาย (พ.ศ. 2517)

คณะผู้สร้างได้มากราบขออนุญาตหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคล เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับนักเรียนนายเรืออากาศรุ่นที่กำลังจะจบ หลวงพ่อไม่อนุญาตให้สร้างรูปท่าน แต่บอกว่าให้ทำเป็นพระเกษ ซึ่งหลวงพ่อหมายถึงพระเกษอย่างที่ท่านทำสมัยแรก แต่ทางคณะผู้สร้างอาจไม่เข้าใจความหมาย จึงได้ออกแบบสร้างเป็นรูปเจดีย์เรียกว่าพระเกษเจดีย์ โดยขออนุญาตสร้างจำนวน 500 อัน

เมื่อสร้างเสร็จแล้วยกมาถวาย ปรากฏว่าไม่ทำให้เสร็จสมบูรณ์ คือเพียงทำเป็นพระเกษสองชิ้นหน้าหลัง ไม่ประกบกันให้เรียบร้อย ผลก็คือหลวงพ่อต้องให้ศิษย์มาช่วยกันประกบติดให้ ท่านบ่นว่า นี่เอางานมาให้ทำอีก

เมื่อให้ลูกศิษย์ทำการประกบเจดีย์เข้าด้วยกัน ท่านให้บรรจุผงและเส้นเกษาไว้ด้วย พอทำเสร็จให้นับดูปรากฏว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 700 อัน หลวงพ่อร้อง อ้าว ขอ 500 ทำ 700 เสียนี่

หลังจากที่ท่านอธิษฐานจิตเสร็จแล้ว คณะผู้สร้างมาขอรับคืน โดยถวายหลวงพ่อไว้แจกจำนวนเล็กน้อย

พระเกษเจดีย์นี้ ได้มีผู้เอาไปทดลองยิงด้วยปืน ปรากฏว่ายิงไม่ออก



หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 17:09:48
(http://upic.me/i/mz/lp-cha-pic-006-02.jpg) (http://upic.me/show/32081429)
10. เหรียญพระแก้วมรกต (พ.ศ.2517)

ข้าราชการพัฒนาที่ดิน ขออนุญาตสร้างเพื่อแจกเป็นของที่ระลึกในโอกาสจะย้ายจากจังหวัดอุบลฯ โดยขออนุญาตสร้างประมาณ 300 เหรียญ เมื่อสร้างเสร็จนำมาถวาย ซึ่งหลวงพ่อได้เอาเหรียญทั้งหมดเก็บไว้ใต้ฐานพระประธานในศาลาเป็นเวลานานวันระหว่างพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้วผู้สร้างมาขอรับคืน หลวงพ่อก็มอบให้ไป

ระหว่างวันที่รับพระคืน เป็นวันออกพรรษา มีคนมาวัดมาก คุณชัยสิทธิ์ก็มาด้วย พบคณะผู้สร้างอยู่หน้าวัด และถูกถามว่า จะเอาเหรียญไหม รีบเอานะเดี๋ยวหมด เหรียญละ 30 บาท คุณชัยสิทธิบอก ไม่เอา ในใจนึกว่า ไปขอเอากับหลวงพ่อก็ได้ และซักถามรายละเอียดของพระรุ่นนี้ ได้ความว่าถวายปัจจัยหลวงพ่อไปจำนวนหนึ่ง (ไม่ทราบว่าเท่าไหร่เพราะว่าลืม)

เมื่อคุณชัยสิทธิไปกราบหลวงพ่อ ได้ถามว่า เขาถวายเงินเท่าไหร่

หลวงพ่อบอกว่า เปล่า ไม่ได้ถวาย คงถวายแต่เหรียญมา 35 เหรียญเท่านั้น

คุณชัยสิทธิเลยฟ้องว่า ตอนนี้เขากำลังขายเหรียญหลวงพ่ออยู่หน้าวัดกันแล้ว

หลวงพ่อร้องว่า อ้าวก็ไหนว่าจะเอาไปแจก กลับเอามาขาย เออ เขาไม่รวยหรอก

ตกลงหลวงพ่อเลยไม่แจกเหรียญพระแก้วในวันนั้น

ต่อมาภายหลังท่านไม่มีพระจะแจก จึงนำเหรียญพระแก้วทั้ง 35 เหรียญ แจกจนหมด



หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 17:11:43
(http://upic.me/i/vi/lp-cha-pic-001-01.jpg) (http://upic.me/show/32081461)
11. เหรียญหลวงพ่อชา รุ่นแรก (พ.ศ. 2518)

สมัยหลังนี้หลวงพ่อไม่ใคร่อยากจะมีการสร้างพระเครื่องขึ้นมาแล้ว แต่ติดขัดที่ท่านได้เคยอนุญาตคุณกมล สินธุเชาน์ และคุณชัยสิทธิ เตชะศิริธนะกุลไว้ตั้งแต่ปี 2516 สมัยรับพัดยศ คุณกมลและคุณชัยสิทธิก็อ้างว่าได้เคยขอสร้างเหรียญไว้แล้ว คราวนี้จะสร้างเป็นเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อ โดยถือโอกาสสร้างแจกในงานฌาปนกิจศพแม่ชีพิมพ์ ช่วงโชติ โยมแม่หลวงพ่อในวันที่ 25 ก.พ. 2518

เมื่อหลวงพ่ออนุญาตแล้ว มีการประชุมกันว่า จะทำเหรียญออกมาลักษณะไหน ผู้สร้างได้หอบเอาเหรียญรูปแบบต่าง ๆ ไปถวายหลวงพ่อดูเพื่อพิจารณานับร้อยเหรียญ หลวงพ่อตาลาย บอกว่า จะเอาไงก็เอา

เมื่อสร้างเหรียญเสร็จแล้วนำเหรียญทั้งหมดมาถวายหลวงพ่อ ซึ่งท่านเห็นแล้วก็แสดงความพอใจ

ครั้นถึงวันพระ ท่านได้นำเหรียญรุ่นนี้ออกมาอวดในศาลา ขณะที่มีลูกศิษย์มาชุมนุมกันหลายคน เจ้าของร้านโพธิ์ทองเกษานั่งอยู่ ด้วย แย้งขึ้นว่าเหรียญไม่สวย ไม่เหมือนหลวงพ่อ ถ้าผมทำจะทำได้ดีกว่านี้ หลวงพ่อจึงว่า งั้นก็ไม่ต้องแจก ถ้าไม่เหมือนเฮา

ท่านกล่าวกับคุณกมลและคุณชัยสิทธิว่า ดูสิแค่เราเอาเท้าแหย่ลงไปในน้ำร้อนข้างเดียวแล้วชักออกทัน ตกลงเหรียญเก็บไว้ก่อนนะ วันดีคืนดีจะคืนให้หรอก

หลวงพ่อได้เอาเหรียญทั้งหมดใส่ไห ปิดปากไหอย่างแน่นหนาเก็บไว้บนกุฏิท่านถึง 4 ปี จึงได้นำออกมาแจก และในงานฌาปนกิจศพโยมแม่ของท่านก็เป็นอันว่าไม่ได้แจกด้วย

ปี 2521 เป็นปีที่ท่านได้มอบเหรียญคืนให้คุณกมลและคุณชัยสิทธิ โดยท่านได้ถามว่าจะให้อะไรอย่างหนึ่งจะเอาไหม ทั้งสอง คนย้อนถามว่าให้อะไรหลวงพ่อไม่บอกแต่ย้ำว่าจะเอาไหม ตกลงก็บอกว่าเอา ท่านจึงเผยว่าวันนี้วันดีแล้วล่ะ จะคืนเหรียญที่เก็บไว้ 4 ปีให้ แต่บอกมาครั้งเดียวนะ ว่าจะเอาคืนเท่าไหร่ เมื่อเอาไปแล้วห้ามมาขออีก

คุณกมลและคุณชัยสิทธิได้ขอเหรียญทองคำคืนทั้งหมด (28 เหรียญ) ส่วนเหรียญเงินขอคืน 200 เหรียญ ถวายหลวงพ่อ 300 เหรียญ (สร้าง 500 เหรียญ) และเนื้อทองแดงขอคืน 500 เหรียญ ถวายหลวงพ่อ 2504 เหรียญ

ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มีการเช่าบูชาและแสวงหาในเรือนพัน



หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 17:13:28
(http://upic.me/i/gg/lp-cha-pic-016-01.jpg) (http://upic.me/show/32081518)
(http://upic.me/i/i2/lp-cha-pic-016-02.jpg) (http://upic.me/show/32081520)
(http://upic.me/i/hf/lp-cha-pic-017-01.jpg) (http://upic.me/show/32081521)
12. พระเครื่องรุ่นที่ระลึกกลับจากอังกฤษ (2518-2519)

ปลายปี พ.ศ. 2518 หลวงพ่อเดินทางไปประเทศอังกฤษ คุณชัยสิทธิได้ปรึกษากับท่านอาจารย์ข้อง พระเลขาฯ ของหลวงพ่อว่าจะสร้างพระเป็นที่ระลึกเวลาหลวงพ่อกลับ จึงมีจดหมายไปกราบขออนุญาต ซึ่งหลวงพ่อได้ตอบกลับมาว่าให้สร้างแต่พอสมควร

คุณชัยสิทธิได้สร้างพระรุ่นกลับจากอังกฤษ 2 พิมพ์ คือพิมพ์ใหม่และพิมพ์เล็ก (เฉพาะพิมพ์เล็กทำล้อพิมพ์พระของขวัญวัดปากน้ำ) โดยทำเป็นพระเนื้อผงหน้าทองคำ หน้าเงินและเนื้อผงล้วน ๆ ด้านหลังพระพิมพ์ใหม่มีตัวหนังสือจมลึกลงไปในเนื้อพระความว่า ?ที่ระลึกกลับจากอังกฤษ? ส่วนพิมพ์เล็กทำเป็นรูปใบโพธิ์ไว้ที่ด้านหลังและมีตัวหนังสือ ?ชา? อยู่กลางใบ โพธิ์

 
รุ่นแรกที่ระลึกกลับจากอังกฤษ พิมพ์ใหญ่ หลังลายเซ็นต์
 
จำนวนสร้างพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด 1,627 องค์ พิมพ์เล็ก 1,731 องค์ รวมเป็น 3,358 องค์ โดยถวายหลวงพ่อไว้ส่วนหนึ่ง

พระพิมพ์ที่ระลึกกลับจากอังกฤษนี้หลวงพ่อได้ส่งไปให้หน่วยทหารที่ขอพระมาที่ท่าน เพื่อไปแจกเหล่าทหารดังรายละเอียด ต่อไปนี้

19 ก.ค. 20 ส่งพระให้ ผบ.ฐป.ฉก.นย.192 บ้านทอน อ.เมือง จ.นราธิวาส ตามที่ได้ขอมาเป็นจำนวนพอสมควร

 
รุ่นแรกที่ระลึกกลับจากอังกฤษ พิมพ์เล็ก
 
29 ก.ค. 20 ส่งพระให้ผบ.ฐป.คชสีห์ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ และส่งให้ ผบ.ฐป. เชียงแสนเขาค้อ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ในวันเดียวกัน

พระทั้งหมดที่ส่งไปนั้นเป็นพิมพ์ใหญ่เนื้อผงไม่มีหน้าเงินและ ทองคำ

เฉพาะวันที่ 17 ก.ค. นั้นท่านแจกพระให้กับคนกรุงเทพฯ ไป 230 องค์ หลังจากกลับมาจากอังกฤษได้วันเดียว (กลับวันที่ 16)



หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 17:15:00
(http://upic.me/i/m4/lp-cha-pic-017-02.jpg) (http://upic.me/show/32081565)
13. เหรียญคำชะอี (พ.ศ. 2519)

ของดกล่าวถึงชื่อผู้ขออนุญาต ซึ่งผู้ขออนุญาตสร้างและได้รับอนุญาตแล้ว แต่ว่าหลวงพ่อห้ามไม่ให้ทำเป็นรูปของท่าน คงให้ทำแต่รูปเจดีย์ (พระธาตุโพธิญาณ) แต่ผู้สร้างก็ทำเป็นรูปท่านนั่งบนขอนไม้ถือไม้เท้าด้วยมือขวา ด้านหลังจึงทำเป็นรูปเจดีย์

วันหนึ่งคุณชัยสิทธิไปติดต่อพิมพ์หนังสือที่หนังสือพิมพ์ลานโพธิ์ คุณแล่ม จันพิศาโล บก. ลานโพธิ์เอาเหรียญคำชะอีเนื้อทองคำออกมาอวด คุณชัยสิทธิเห็นก็เอะอะว่า พระยังไปไม่ถึงวัดเลย ไปได้มายังไง

เมื่อกลับถึงอุบลฯ ก็ไปฟ้องหลวงพ่อว่า เหรียญคำชะอีเขาแจกกันแล้ว หลวงพ่อก็ว่าแจกกันได้ยังไง ท่านยังไม่เห็นพระเลยสักองค์เดียว จึงสั่งให้อาจารย์ข้อง จดหมายไปเตือนเอาพระมาถวายเสียก่อน เมื่อนำพระมาแล้ว หลวงพ่อซักว่า สร้างกี่องค์ เขารายงานว่าสร้างเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และทองแดงจำนวนเท่านั้นองค์ เมื่อถามถึงบล็อก เขาบอกว่าไม่ได้เอามา แต่รับว่าจะเอาบล็อกมาถวาย แต่ก็ไม่เอามา ทางวัดได้ทวงถามเรื่องบล็อกไป โดยจดหมายหลายฉบับ ไม่ทราบผล หลวงพ่อจึงไม่แจก และท่านได้นำพระชุดนี้ทั้งหมดลงฝังในโบสถ์

เหรียญรุ่นนี้จึงเป็นปัญหามาก ถ้าพบเห็นข้างนอกขอให้ทราบว่าไม่ใช่เหรียญที่หลวงพ่ออธิษฐานจิต ซึ่งหลวงพ่อได้มอบหมายให้คุณชัยสิทธิออกแถลงการณ์ ชี้แจงแก่คนทั่วไป ทั้งทางวิทยุและหนังสือพระเครื่องหลายฉบับว่า เหรียญหลวงพ่อชาไม่มี ทางวัดไม่รับผิดชอบเรื่องเหรียญ

ต่อมาถึงปี 2521 หลวงพ่อได้แจกเหรียญรุ่นแรกรุ่นฌาปนกิจศพโยมแม่ คนทั้งหลายก็เข้าใจว่าที่ทางวัดแถลงการณ์ว่าหลวงพ่อไม่มีเหรียญนั้นคือเหรียญรุ่นนี้ เกิดสับสนกันอยู่นานปี (เพราะออกมาไล่เลี่ยกัน)

แถลงการณ์ครั้งนั้นทำไม่ชัดเจนพอ จึงเป็นจุดแรกที่ทำให้คนทางไกลโดยมากคิดว่าหลวงพ่อชาไม่เคยมีพระเครื่องทั้ง ๆ ที่ความจริงมี

ต้องกล่าวโทษเหรียญคำชะอีเป็นเหตุ



หัวข้อ: Re: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา
เริ่มหัวข้อโดย: siambomba ที่ 14 มกราคม 2555, 17:17:06
(http://upic.me/i/05/lp-cha-pic-new-01-01.jpg) (http://upic.me/show/32081612)
14. พระเครื่องรุ่นสุดท้าย ห้าเหลี่ยมเล็ก (2520)

นาวาอากาศเอก ณรงค์ ดิถีเพ็ง สร้างถวาย โดยสร้างขึ้นก่อนเป็นจำนวน ห้าหมื่นองค์ นำมาพร้อมกับผ้าป่าจาก สนว. 01 ที่มาทอดวัดหนองป่าพง เมื่อกราบเรียนท่านเรื่องนำพระมา แล้วก็ถามต่อไปว่าถ้าหลวงพ่อจะแจกจะทำแค่ห้าหมื่นองค์เท่าที่เห็นนี้ แต่ถ้าจะเอาลงโบสถ์ จะทำเพิ่มขึ้นให้ครบแปดหมื่นสี่พันองค์

หลวงพ่อบอกว่าจะเอาลงโบสถ์

พระชุดนี้จึงมีจำนวนมากที่สุดเท่าที่มีการสร้างพระถวายหลวงพ่อเป็นต้นมา

ภายหลังมีผู้มาขอพระจากหลวงพ่อกันเป็นจำนวนมาก ท่านไม่มีพระแจก จึงนำพระชุดนี้ออกแจกและท่านได้บอกทุกคนว่า นี่เป็นรุ่นสุดท้าย ต่อไปจะไม่อนุญาตให้ใครทำอีก

พระรุ่นนี้ได้แจกจ่ายออกไปเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนหนึ่งก็เอาลงฝังในโบสถ์พร้อมกับเหรียญคำชะอี พระรุ่นสุดท้ายนี้จึงมีทั้งที่แจกออกไปและไม่แจกเพราะว่าได้เอาลงโบสถ์ไว้เป็นอุเทสิกะเจดีย์สืบทอดพระศาสนาต่อไป

ห้าเหลี่ยมเล็กของหลวงพ่อชาโดยมากไปตกอยู่กับทหารอากาศ สมัยที่พระแจกออกใหม่ ๆ แถวดอนเมืองรู้จักพระพิมพ์นี้เป็นอันมาก เขาเรียกว่าปากน้ำหลวงพ่อชา เพราะเห็นว่าเนื้อหาของพระรุ่นนี้คล้ายคลึงกับพระวัดปากน้ำ

เคยพบเห็นกระจัดกระจายอยู่ทางเหนือเหมือนกัน คือที่เชียงใหม่ ซึ่งนักเล่นพระเครื่องทางโน้นไม่รู้ว่าเป็นพระอะไรของใคร

ปัจจุบันพระรุ่นนี้ได้รับความนิยมมาก จนกระทั่งมือผีได้ลงมือปลอมแปลงออกมาแล้ว แต่ว่าทำได้ไม่เหมือน ขอให้พิจารณารูปที่ลงพิมพ์นี้ไว้เป็นหลัก ผิดเพี้ยนจากนี้เป็นของปลอมทั้งสิ้น

วัตถุมงคลและพระเครื่องของหลวงพ่อชาทั้งหมดที่ได้กล่าวถึงนี้ ล้วนเป็นสิ่งรวบรวมขึ้นโดยยาก ซึ่งไม่อาจจะทำได้ครบถ้วนทุกพิมพ์ บางรุ่นบางพิมพ์ก็เป็นของหลวงพ่อเหมือนกัน แต่ไม่ทราบเวลาที่สร้างแน่ชัด จึงกำหนดลงเป็นรุ่นในแต่ละ พ.ศ. ไม่ถนัด