หัวข้อ: ศึกสะพือ (กบฎผีบ้าผีบุญ ตั้งฐานปฏิบัติการที่บ้านสะพือจนเป็นมูลเหตุที่มาของ ศึกสะพือ) เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 10 ตุลาคม 2554, 00:22:55 บ้านสะพือนับว่าเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่มีอารยธรรมเก่าแก่ ชาวบ้านสะพือเป็นคนที่ใฝ่การเรียนรู้ เป็นชุมชนที่รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี อันดีงามอย่างเหนียวแน่น เช่น ประเพณีบุญผะเวส ลูกหลานชาวบ้านสะพือไม่ว่าจะไปทำมาหากินในถิ่นใดก็ตาม พอถึงประเพณ๊บุญผะเวส ซึ่งเริ่มงานระหว่างวันที่ 12-15 เมษายน ของทุกๆปี ลูกหลานบ้านสะพือจะกลับบ้านมาร่วมทำบุญทำต้นเงิน ทำผ้าป่า เข้าวัด เป็นงานที่ย่งใหญ่น่าประทับใจ อาจเนื่องมาจากเขามีที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ คือ "หลวงปู่โทน" พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง และเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง ผู้เขียนเองมีวาสน้อยไม่เคยได้กราบนมัสการท่านเลย ได้ยินแต่ชื่อ เพราะตอนย่ายมาทำงานที่โรงเรียนสะพือวิทยาคาร ท่านก็มรณภาพไปแล้ว แต่ก็ยังนับว่าโชคดีที่ได้มีโอกาสกราบนมัสการลูกศิษย์ของหลวงปู่ คือ ท่านพระครูสถิตบูรพาภิวัฒน์ ท่านเป็นพระนักพัฒนา เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่งที่ชาวบ้านเคารพนับถืออย่างมาก ตัวผู้เขียนก็เคยได้พึ่งบารมีของท่านได้ช่วยอบรมกล่อมเกลาจิตใจ ลูกศิษย์(นักเรียน) ให้อยู่ในทำนองคลองธรรม
ที่กล่าวมาข้างต้นคือ ชุมชนบ้านสะพือในปัจจุบัน และถ้าศึกษาประวัติบ้านสะพือในอดีตแล้วละก็ก็จะเห็นว่า บ้านสะพือเป็นหมู่บ้านที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์เหมือนกัน แต่น่าเสียดายที่สถานที่ประวัติศาสตร์ในปัจจุบันได้ลบเลือนไปหาร่องรอยไม่พบ น่าจะมีคนออกมาดูแลในเรื่องนี้จะดีไม่น้อย บ้านสะพือ เป็นบ้านที่เก่าแก่นานแต่โบราณ และไม่สามารถจะทราบได้ว่าวันเดือนปีที่ตั้ง ตลอดทั้งผู้มาตั้ง ตลอดทั้งผู้มาตั้งบ้านนี้ด้วย เหตุใดจึงมาตั้งอยู่ที่นี่ เหตุใดจึงมีนามว่าบ้านสะพือก็ไม่ทราบแน่เหมือนกัน แต่ได้สันนิษฐานว่าทุ่งนาทางทิศตะวันตกของบ้านสะพือปัจจุบันนี้ แต่ก่อนเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ขณะนี้ตื้นเขินเป็นทุ่งนาไปแล้ว เรียกว่า?ทุ่งน้ำครำ? หนองน้ำนี้เรียกว่า ?หนองสระผือ? คือมีต้นตันผือ (ต้นกก) มากและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ผู้มาตั้งก็เลยอาศัยสัญลักษณ์ของหนองน้ำนี้มาตั้งเป็นนามบ้าน โดยตั้งชื่อว่า ?สระผือ? ต่อมาเลยกลายมาเป็น ?บ้านสะพือ? บ้านสะพือ เป็นบ้านธรรมดาสามัญ แต่มีเหตุการณ์เกี่ยวกับบ้านนี้เกิดขึ้น ทำให้บ้านสะพือเป็นบ้านที่สำคัญและมีชื่อติดอยู่ในประวัติศาสตร์ บ้านสะพือนี้คงเป็นบ้านที่ใหญ่ มีประชาชนอยู่หนาแน่นและอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวมาแล้ว ?นางเหมือนตา? ธิดาพระตา ซึ่งเป็นต้นตระกูลของเจ้าเมืองคนแรกได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นี่ แต่วันเดือนปีใดไม่ปรากฏชัด แต่บ้านนี้คงมีความสำคัญไม่น้อย ธิดาคนสำคัญของบ้านเมืองจึงได้มาอยู่ นับว่าเป็นความดีของบ้านสะพือได้อย่างหนึ่ง นอกจากนั้นบ้านสะพือยังมีความดีและความสำคัญอยู่อีกมาก คือ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๔ ธันวาคม ๒๔๐๖ (ตรงกับแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีกุน) พระบรมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลฯคนที่ ๓ ได้ขอตั้งบ้านสะพือเป็นเมืองตระการพืชผลพร้อมกับตั้ง ท้าวสุริยวงศ์ (อุ้ม สุวรรณกูฏ) บุตรพระบรมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เป็นพระอมรดลใจ เป็นเจ้าเมืองท้าวพรมาบุตร พระบรมราชวงศาน้องพระอมรดลใจ เป็นอุปฮาดท้าวสีหาจักร (ฉิม) เป็นราชวงศ์ ท้าวกุลบุตร (ท้าว) เป็นราชบุตรมาปกครองเมืองตระการพืชผลต่อไป แต่ตั้งอยู่ได้ไม่นานประมาณ ๒-๓ ปี เท่านั้น เพราะเห็นว่าบ้านนี้ไม่เหมาะที่จะตั้งเมือง เนื่องจากกันดารน้ำ การติดต่อกับเมืองอุบลฯลำบาก จึงย้ายไปอยู่บ้านท่าม่วงที่ตั้งอยู่ริมเซบกเพื่อจะได้อาศัยทางน้ำไปมาหาสู่กับเมืองอุบลฯได้สะดวก ทางจากบ้านสะพือไปทางทิศใต้ ๖ กม. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ เกิดกบฎผีบ้าผีบุญขึ้นในมลฑลอีสานและได้เข้ามาตั้งอยู่ที่เมืองตระการฯ ผีบ้าผีบุญ ได้ยกกำลังจากเมืองเขมราฐมาตั้งที่โนนโพธิ์ ทางทิศตะวันตกของบ้านสะพือ พวกผีบ้าผีบุญได้มาตั้งที่บ้าน สะพือ ไม่ใช่คนบ้านนี้เป็นผีบ้าผีบุญแต่พวกเขามาหาพรรคพวกแล้วจะตีเอาเมืองตระการฯ ที่ตั้งอยู่บ้านท่าม่วง เมื่อตีได้แล้วก็จะไปตีเอาเมืองอุบลฯ ให้สมเด็จลุนบ้านเวินชัย มาเป็นเจ้าเมืองแทน แต่แผนการณ์ของผีบ้าผีบุญไม่สำเร็จ หัวข้อ: Re: ศึกสะพือ (กบฎผีบ้าผีบุญ ตั้งฐานปฏิบัติการที่บ้านสะพือจนเป็นมูลเหตุที่มาของ ศึกสะพือ) เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 10 ตุลาคม 2554, 00:28:26 วันที่ ๔ เมษายน ๒๔๔๔ พระเจ้าวรวงศ์เธอหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ได้บัญชาให้ ร้อยเอกหลวงวิชิตสรการ (จิตร มัธยมจันทร์) อดีตนายทหารปืนใหญ่และ ร้อยเอกอินทร์นำทหาร ๒๔ คน ราษฎร ๒๐๐ คน พร้อมด้วยอาวุธปืนได้ยกกำลังมาถึงบ้านสะพือที่ ?ดอนเผิ่ม? วันที่ ๔ เดือน เมษายน ๒๔๔๕ ได้เกิดปะทะกับผีบ้าผีบุญรบกันอยู่ประมาณ ๔ ชั่วโมง พวกผีบ้าผีบุญแตกหนี องค์มั่น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งเดือนพนมมือเสกเป่าคาถาอาคมเห็นท่าสู้ไม่ได้เลยหลบหนีไปทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คงได้แต่หมวกหนีบสักหลาด ซึ่งเป็นเครื่องยศขณะนั้น เดี๋ยวนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เหตุการณ์ได้สงบตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. ๒๔๕๐ รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ฉบับแรกได้แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑลจังหวัดอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน พ.ศ. ๒๔๕๒ ทางราชการได้ยุบเมืองตั้งเป็นอำเภอขึ้น จึงได้ยุบเมืองตระการพืชผลไปขึ้นกับอำเภอพนา ส่วนบ้านสะพือได้ตั้งเป็นตำบล และมีสภาพเป็นตำบลมาจนกระทั้งทุกวันนี้ พ.ศ. ๒๔๘๕ ทางราชการได้ตำแหน่งปลัดอำเภอประจำตำบลขึ้น และได้ยุบตำบลสะพือไปขึ้นกับตำบลตระการ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้ยุบตำแหน่งปลัดอำเภอประจำตำบล บ้านสะพือจึงได้กลับมาตั้งเป็นตำบลอีกตามเดิมในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้สร้างสำนังงานผดุงครรภ์ประจำตำบลพร้อมกับเจ้าหน้าที่ประจำจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๐๕ โรงเรียนบ้านสะพือได้เปิดขยายการศึกษาภาคบังคับ ป.ปลาย พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้เปิดไฟฟ้าประจำหมู่บ้าน (ไฟฟ้าพัฒนา) เปิดใช้เวลา ๑๘.๐๐?๒๒.๐๐ น. โดยใช้เครื่องจักรกลโรงไฟฟ้าโดยมี นายเดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลฯเป็นประธาน พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้เปิดโรงเรียนระดับมัธยม ระดับตำบลชื่อโรงเรียนสะพือวิทยาคาร และในปีนี้ได้เปิดใช้ไฟฟ้าแรงสูงในหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน ประชาชนชาวบ้านสะพือประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนในหมู่บ้านเป็นผู้มีนิสัยใจคอโอบอ้อมอารี ทุกวันนี้หมู่บ้านนี้อยู่ดีกินดี และอยู่เป็นสุขทุกถ้วนหน้า
เอกสารอ้างอิง ?หนังสือฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง? หัวข้อ: ขอขอบคุณ เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 10 ตุลาคม 2554, 00:32:20 ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.gotoknow.org/blog/saisin1/87780
และด้วยความเมตตาแนะนำช่องทางโดยท่านพี่ บ่อหัวซา ผู้มากด้วยความรู้และประสบการณ์ ความดีความชอบทั้งหมดขอยกให้ ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน www.ubonpra.com |