หัวข้อ: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 30 สิงหาคม 2554, 22:37:04 ประวัติและปฏิปทา
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดบรมนิวาส แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๏ ชาติภูมิ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) มีนามเดิมว่า ?อ้วน? นามสกุล ?แสนทวีสุข? เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2400 ณ บ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โยมบิดาเป็นกรมการเมืองชื่อ เพี้ยเมืองกลาง (เคน แสนทวีสุข) โยมมารดาชื่อ บุตสี แสนทวีสุข ๏ ชีวิตเยาว์วัยและการศึกษาเบื้องต้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ท่านเคยเล่าชีวิตเมื่อเยาว์วัยให้มหาไชย จันสุตะ ฟังว่า เมื่อยังเด็กท่านชอบมีเพื่อนฝูงมาก เพื่อนฝูงทั้งหลายมักตั้งท่านให้เป็นหัวหน้า และเมื่อท่านทำหน้าที่เป็นหัวหน้าแล้ว เพื่อนฝูงจะเชื่อฟัง ท่านจัด ท่านแบ่งอะไรทุกคนพอใจ ไม่เคยโต้แย้ง ท่านมีแววของความเป็นผู้นำมาตั้งแต่เยาว์ทีเดียว นอกจากลักษณะของความเป็นผู้นำแล้ว สมเด็จฯ ยังสนใจในทางศาสนา ตั้งแต่เด็กท่านจะช่วยโยมมารดาทำบุญตักบาตรทุกๆ เช้าที่หน้าบ้านเสมอ ๏ การบรรพชาและอุปสมบท สมเด็จฯ ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 19 ปี ณ วัดสว่าง อำเภอวารินชำราบ ใกล้กับบ้านเกิดของท่าน ภายหลังได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดศรีทอง โดยมีท่านเทวธัมมี เป็นอุปัชฌาย์ และท่านโชติปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สมเด็จฯ ได้ศึกษาปริยัติธรรมและเคร่งครัดต่ออุปัชฌายวัตรเป็นอย่างมาก ๏ การศึกษา หลังจากพระอุปัชฌาย์ท่านได้มรณภาพแล้ว สมเด็จฯ ได้เข้าไปศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับ เจ้าคุณอาจารย์พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อครั้งเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูวิจิตรธรรมภาณี ณ วัดพิชยญาติการาม สำนักพระศาสนาโศภณ เป็นเจ้าอาวาส ๏ การเรียนพระปริยัติธรรม สมเด็จฯ เป็นนักเรียนมหามกุฎราชวิทยาลัย สาขาวัดพิชยญาติการาม เขตคลองสาน กรุงเทพฯ อันเป็นโรงเรียนซึ่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค) ทรงเริ่มตั้งและขยายสาขาออกไปตามวัดธรรมยุตอื่นๆ เป็นโรงเรียนสาขาโรงเรียนพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จฯ ได้ค่าภัตตาหารเดือนละ 2 บาท พ.ศ. 2439 สมเด็จฯ ย้ายจากวัดพิชยญาติการามมาเรียนต่อที่วัดเทพศิรินทราวาส กับท่านอาจารย์อื่นอีก และสอบได้เปรียญธรรมชั้นตรี พ.ศ. 2442 ท่านสอบได้เปรียญธรรมชั้นโท หัวข้อ: Re: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 30 สิงหาคม 2554, 22:37:26 ๏ ตำแหน่งและสมณศักดิ์
1. ภัณฑารักษ์ วัดเทพศิรินทราวาส ได้รับแต่งตั้งจากท่านเจ้าอาวาส 2. ครูฝ่ายภาษาบาลี ที่วัดสุปัฏนาราม เป็นครั้งแรกที่มีโรงเรียนเปิดสอนตามแบบมหามกุฎราชวิทยาลัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีพระภิกษุสามเณรทั้งใกล้-ไกล ตลอดมณฑลอุดรก็อุตส่าห์มาเล่าเรียน 3. พ.ศ. 2442 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน 4. พ.ศ. 2447 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอีสาน ต่อมาต้นรัชกาลที่ 6 ได้แยกมณฑลอีสานเป็น 2 มณฑล คือมณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะว่าการทั้งสองมณฑล 5. พ.ศ. 2466 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอุดรอีกตำแหน่งหนึ่ง 6. ต้นรัชกาลที่ 7 ทางราชการได้รวมมณฑลอุบล ร้อยเอ็ด และนครราชสีมา เป็นมณฑลนครราชสีมา ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา 7. พ.ศ. 2485 ดำรงตำแหน่งสังฆนายกองค์แรกแห่งประเทศไทย ตามประกาศตั้งสังฆนายก ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2485 สมเด็จฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้ พ.ศ. 2447 พระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศาสนดิลก พ.ศ. 2454 พระราชาคณะเสมอชั้นราช ในราชทินนามเดิม พ.ศ. 2455 พระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชมุนี พ.ศ. 2464 พระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธี พ.ศ. 2468 พระราชาคณะชั้นเทพพิเศษที่ พระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ. 2472 พระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปาโมกข์ พ.ศ. 2475 ชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระพรหมมุนี พ.ศ. 2482 สมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ หัวข้อ: Re: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 30 สิงหาคม 2554, 22:37:43 ๏ การปกครองวัด
พ.ศ. 2447 เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนาราม อำเภอเมืองอุบลราชธานี พ.ศ. 2470 เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา มณฑลนครราชสีมา พ.ศ. 2475 เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ พ.ศ. 2484 เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพฯ ๏ ตำแหน่งพิเศษ 1. แม่กองธรรมสนามมณฑลตลอดระยะที่ยังมิได้ยุบมณฑล 2. รองแม่กองธรรมสนามหลวง 3. กรรมการตรวจข้อสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวง 4. กรรมการมหาเถระสมาคม 5. กรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย 6. กรรมการฝ่ายศึกษาประชาบาล เขตปทุมวัน 7. รองเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต 8. เจ้าคณะตรวจการภาค 3, 4, 5 9. องค์ประธานคณะวินัยธร ชั้นฎีกา ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 10. สังฆนายกรูปแรกแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 หัวข้อ: Re: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 30 สิงหาคม 2554, 22:38:53 การทำคุณประโยชน์
1. ตั้งโรงเรียนภาษาไทย-บาลี ได้ตั้งโรงเรียนสอนบาลี-นักธรรม ที่วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา ได้รวบรวมหนังสือเก่าแก่ และโบราณวัตถุของชาวอีสานขึ้นไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ ที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี จนได้เปิดเป็นสาขาหอสมุดแห่งชาติขึ้นที่วัดสุทธจินดา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2478 2. ถาวรวัตถุและการก่อสร้าง สร้างอาคารเรียน ?โรงเรียนอุบลวิทยาคม? ที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี สำเร็จด้วยแรงงานของพระภิกษุสงฆ์ ได้รับเงินช่วยเหลือจากกระทรวงธรรมการ 800 บาท นอกนั้น สมเด็จฯ จัดหาเองทั้งสิ้น สร้างอาคารเรียน 2 ชั้น สำหรับนักธรรมคณะจังหวัดอุบลราชธานี หล่อพระพุทธรูป ?พระสัพพัญญูเจ้า? อันเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดสุปัฏนาราม สร้างพระอุโบสถวัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี มีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร สูง 22 เมตร ชั้นบนเป็นทรงไทย ชั้นกลางทรงยุโรป (เยอรมัน) และชั้นล่างเป็นทรงขอมโบราณแบบนครวัด เริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 สำเร็จในปี พ.ศ. 2473 สิ้นค่าก่อสร้าง 70,000 บาท 3. ด้านการพิมพ์และคำสอน สมเด็จฯ ได้นิพนธ์ความเรียงเป็นคำสอนประเภท ธรรมเทศนา โอวาท บทความ สารคดี เรื่องต่างๆ ไว้มากว่า 46 เรื่อง นิพนธ์เรื่องที่เป็นที่นิยมและสนใจของสาธุชนและประชาชนทุกระดับชั้น ยกตัวอย่างบทนิพนธ์ของสมเด็จฯ บางเรื่องที่ดีเด่นจริงๆ คือ เรื่อง เงินเดือน เงินดาว เงินดิน ว่าด้วยการการแนะนำคนให้รู้จักการครองตนครองชีพ เรื่อง ?หลักชูชาติ? ว่าด้วยการเพราะปลูก การช่าง การชื้อขาย เรื่อง ?แว่นใจ? ว่าด้วยการทรัพย์ในดิน สินในน้ำ เรื่อง ?สอนหนุ่มน้อย? เป็นเรื่องตักเตือนให้เด็กเร่งศึกษาแต่เยาว์วัย เรื่อง ?สอนนายนาง? ว่าด้วยลูกอุปถัมภ์บำรุง พ่อ แม่ และหน้าที่ของสามี ภรรยา เรื่อง ?หลักครู? แนะวิธีการเป็นครูและการสอน เรื่อง ?โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยาก? อันเป็นคติพจน์ของสมเด็จ การสั่งสอนอบรมพุทธศาสนิกชน สมเด็จฯ ท่านได้เที่ยวเทศนา อบรมโปรดพุทธศาสนิกชนทุกภาค และให้คำขวัญซึ่งคือว่าเป็นการสร้างสรรค์ให้ชาวไทยสามัคคี ไม่แบ่งแยกกันพุทธศาสนิกชนถือเป็นอมตะคำขวัญ คือ ?ถิ่นไทยงาม? ได้แก่ ภาคพายัพของประเทศไทย ?ถิ่นไทยอุดม? ได้แก่ ภาคใต้ของประเทศไทย ?ถิ่นไทยดี? ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ?ถิ่นจอมไทย? ได้แก่ ภาคกลางของประเทศไทย บทนิพนธ์ทุกเรื่องสมเด็จฯ มอบให้เป็นลิขสิทธิ์ วัดบรมนิเวศ วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา และวัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี สาธุชนผู้ประสงค์จะพิมพ์เผยแพร่ให้ติดต่อขออนุญาตจากเจ้าอาวาส หัวข้อ: Re: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 30 สิงหาคม 2554, 22:40:14 การมรณภาพ
สมเด็จฯ ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2499 ณ วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ โดยอาการสงบด้วยโรคชรา รวมสิริอายุได้ 89 ปี นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของวงการบริหาร การปกครอง คณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยเฉพาะชาวจังหวัดอุบลราชธานี คัดลอกมาจาก :: http://www.dharma-gateway.com/ หัวข้อ: Re: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เริ่มหัวข้อโดย: พุทธาคม ที่ 31 สิงหาคม 2554, 10:46:12 พอรู้ประวัติเหรียญนี้หรือเปล่าครับ สร้างปีไหน
หัวข้อ: Re: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 31 สิงหาคม 2554, 11:09:44 ขอดูด้านหลังเหรียญด้วยครับ
หัวข้อ: Re: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 31 สิงหาคม 2554, 11:24:48 ที่พอเห็นได้ในเว๊บนะครับ.......
เหรียญวัตถุมงคลของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโล) พระเครื่องที่ได้จัดสร้างไว้ และเป็นที่นิยมกันมากในบรรดาเซียนพระ โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรก ปี พ.ศ.2477 เรื่องพุทธคุณเหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ โดดเด่นในด้านแคล้วคลาดปลอดภัย สยบสิ่งอัปมงคล ปกป้องโรคภัยไข้เจ็บ โดยเหรียญมีลักษณะ เนื้อทองแดงกะไล่เงิน คล้ายใบเสมา ด้านหน้าเป็นรูปสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นั่งสมาธิบนอาสนะ ด้านหลังเป็นยันต์ หัวข้อ: Re: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 31 สิงหาคม 2554, 11:26:03 เหรียญรุ่นสอง ปี พ.ศ.2482 เนื้อทองแดง
หัวข้อ: Re: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เริ่มหัวข้อโดย: พุทธาคม ที่ 31 สิงหาคม 2554, 11:26:59 ด้านหลังครับ
หัวข้อ: Re: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 31 สิงหาคม 2554, 11:28:11 เหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโล) รุ่นสาม จัดสร้างปี พ.ศ.2493 เป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญหนึ่งของท่าน มีลักษณะเป็นรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ครึ่งองค์ มีข้อความ "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโล)"ด้านหลังลงยันต์ มีตัวเลข "2493"
หัวข้อ: Re: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 31 สิงหาคม 2554, 11:36:44 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( พิมพ์ ธมฺมธโร)
วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ประวัติบอกเล่า ชาติภูมิ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ฉายา ธมฺมธโร นามเดิม พิมพ์ นามสกุล แสนทวีสุข เกิดวันเสาร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา จุลศักราช ๑๒๕๙ ตรงกับวันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๐ ที่บ้านสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โยมบิดาชื่อ ทอง แสนทวีสุข โยมมารดาชื่อ นวล แสนทวีสุข สามัญศึกษา ศึกษาอักขรสมัย คือ เรียนหนังสือไทย ที่โรงเรียนวัดบ้านม่วง ตำบลตาลสุม อำเภอพิบูล- มังสาหาร ๒ ปี ได้ย้ายเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนอุบลวิทยาคม วัดสุปัฏนาราม อำเภอเมือง จังหวัด อุบลราชธานี สำเร็จชั้นมูล ข. (เทียบชั้น ม.๒ ในปัจจุบัน) เมื่ออายุ ๑๔ ปี บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๗ อายุ ๑๗ ปี บรรพชาที่วัดสุปัฏนาราม อำเภอเมือง จังหวัด อุบลราชธานี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชมุนี เป็นพระอุปัช- ฌายะ พระศาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) เป็นบรรพชาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๖๐ อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ อุปสมบท ณ อุทกุกเขปสีมา ในลำแม่น้ำมูล ที่ท่าบ้านโพธิ์ตาก ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ พระราชมุนี เป็นพระอุปัชฌายะ พระศาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีฉายาว่า ธมฺมธโร ศาสนศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๘ ศึกษาสิกขาของสามเณร บาลีไวยากรณ์ และความรู้องค์นักธรรม สอบได้บาลีไวยากรณ์ และเรียนธัมมปทัฏฐกถา สำนักวัดสุปัฏนาราม พ.ศ. ๒๔๕๙ สอบได้ความรู้องค์นักธรรมภูมิสามเณร ๓ วิชา คือ ธรรมะ พุทธะ กระทู้ พ.ศ. ๒๔๖๐ สอบได้ความรู้องค์นักธรรมวิชาวินัย สำเร็จภูมินักธรรมชั้นตรี สำนักวัดสุปัฏนาราม พ.ศ. ๒๔๖๑ ย้ายเข้ามาศึกษาในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๔๖๒ สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดบรมนิวาส พ.ศ. ๒๔๖๕ สอบได้เปรียญ ๓ ประโยค สำนักเรียนวัดบรมนิวาส พ.ศ. ๒๔๖๗ สอบได้เปรียญ ๔ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๔๖๘ สอบได้เปรียญ ๕ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๔๖๙ สอบได้เปรียญ ๖ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร สมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระญาณดิลก ในรัชกาลที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชในนามเดิม ในรัชกาลที่ ๘ พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชกวี ในรัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี ในรัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปิฎก ในรัชกาลที่ ๙ พ.ศ.๒๕๐๔เป็นพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏที่พระพรหมมุนี ในรัชกาลที่ ๙ พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ในรัชกาลที่ ๙ สรุป สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้สำเร็จภูมิเปรียญธรรม ๖ ประโยค ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะสามัญถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ เป็นลำดับมา รับ ภาระพระพุทธศาสนา ประกอบศาสนกิจเพื่อให้เป็นหิตานุหิตประโยชน์ แก่พุทธจักรและอาณาจักร และ รักษาสมณวัตร ระเบียบปฏิบัติ ประเพณีราชการมาโดยเรียบร้อย ในด้านการปกครอง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ เจ้าคณะอำเภอบางเขน ผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา รองเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ผู้ช่วยเจ้าคณะตรวจการภาค ๓ และ ๔ เจ้าคณะธรรมยุตผู้ช่วยภาค ๓-๔-๕ เจ้าคณะธรรมยุตภาค ๓-๔-๕ เจ้าคณะภาค ๘,๙,๑๐,๑๑ สมาชิกสังฆสภา สังฆมนตรี กรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต กรรมการคณะธรรมยุต เป็นพระอุปัชฌาย์ รองประธานสังฆสภา เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๕ เป็น แม่กองงานพระธรรมทูต และเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ สมเด็จพระสังฆราช ๓ ครั้ง นับแต่รับภาระธุระบริหารการคณะมาตลอดกาล ๔๑ ปี ไม่เคยลาออกและลาพัก ในด้านการศึกษา เป็นอุเทศาจารย์สอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรมและบาลี เป็นกรรมการ ตรวจธรรมสนามหลวง กรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง เป็นผู้แทนรองแม่กองธรรมประจำ มณฑล อำนวยการสอบและตรวจธรรมสนามหลวง เป็นผู้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูพระภิกษุวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา และจัดตั้งโรงเรียนบาลมัธยมสมทบ สอบสำหรับพระภิกษุสามเณร เป็นกรรมการบริหารงานสภาการศึกษาของคณะสงฆ์ สอนศีลธรรม จรรยานักเรียน และสอนธรรมศึกษาแก่คณะครู ในด้านการเผยแผ่ เป็นพระคณาจารย์เอกในทางเทศนา เอาใจใส่เทศนาสั่งสอนศีลธรรม จรรยาแก่ประชาชน จัดการอบรมศีลธรรมจรรยาแก่นักเรียน และให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะโดย พระราชนิยม เป็นกรรมการจัดรายการกระจายเสียงในวันธรรมสวนะ กรมประชาสัมพันธ์ จัดให้ อุบาสกอุบาสิกามีประเพณี "อุโบสถสามัคคี" อบรมให้เกิดศรัทธาปสาทะในพระศาสนา และให้ประพฤติ ปฏิบัติชอบตามวัตถุประสงค์แห่งพระศาสนา รจนาหนังสือเกี่ยวกับหลักวิชาและศีลธรรม เช่น สากล ศาสนา ปัณณกเทศนาวิธี มงคลยอดชีวิต โลกานุศาสนี บทสร้างนิสัย และเรื่องอื่นอีก พิมพ์แจกจ่าย และอ่านทางวิทยุกระจายเสียงเพื่อให้ประชาชนได้อ่านและฟัง ถือปฏิบัติอบรมตนให้เป็นพลเมืองดี เป็น หัวหน้าคณะอบรมข้าราชการและประชาชนในเขต ภาค ๓-๔ เป็น ๒ ครั้ง หัวข้อ: Re: สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 31 สิงหาคม 2554, 11:38:28 เหรียญของท่านพี่เป็นของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( พิมพ์ ธมฺมธโร) นะครับผมต้องอภัยที่หาข้อมูลไม่ได้
รบกวนท่านผู้รู้ทั้งหลายด้วยนะครับ 017 017 017 |