หัวข้อ: ***คำอาราธนาพระแก้วบุษราคัมลงจากบุษบก*** เริ่มหัวข้อโดย: คนโก้ ที่ 13 มิถุนายน 2554, 15:38:16 คำอาราธนาพระแก้วบุษราคัมลงจากบุษบก
ไหว้พระรัตนตรัย แล้วว่า นะโม ๓ จบ แล้วจึงว่าคำอาราธนา ดังนี้ อุกาสะ อุกาสะ อุกาสะ ภันเต ภะคะวา อะยัง กาโล สังขาระกาละ สัมปัตโต อิจฉามะ ภะคะวันตัง อะภิสิญจิตุง อาราธะนัง กะโลมะฯ สุสวัสดีพระแก้วองค์อุตตะมะ สังกาศจิตมาศกำหนด พระยาสังขารคือ พระสุริยาทิตย์ อรุณขึ้นในวันนี้บัดนี้ฝูงข้าทั้งหลาย หมายมีอันเตวาสิก คือ ศิษย์สาวก เหล่าผู้ฮักษาพระพุทธศาสนา ปฏิบัติครองพระอาฮาม มีใจใสซื่นซ้อย กับทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ปฏิบัติทุกสถานอยู่พร้อมด้วยยินดี บัดนี้ฝูงข้าทั้งหลาย พร้อมกันมีใจซื่นซ้อยยินดี มาน้อมนมัสการโปรยปรายคันธชาติ มุ่งมาสู่ที่ประดิษฐานแท่นอลังการ ตามโบราณจารย์กล่าวไว้ ฝูงข้าทั้งหลายก็ยังจำในมโนทวาร ก็จึ่งขอโอกาส ขออาราธนานิมนต์อัญเชิญ และโสรดสรงน้ำคนธา เผื่อฝูงข้าทั้งหลายได้อาราธานาจากแท่นนี้ และจับต้องที่องค์ ในฐานะอันบ่อบังควร ขอแต่พระพุทธรูปแก้วเจ้าองค์โคตมปฏิมา ได้อนุญาตแก่ฝูงข้าทั้งหลาย เทียวเทอญ ฝูงข้าทั้งหลายขอโอกาสราธะนาเสด็จสู่แท่นบัลลังก์รถบุษบก แลทรงรับเอายังเครื่องสักการะบูซา อันมีข้าวตอก ดอกไม้แลธูปเทียน ทั้งหลายเหล่านี้ ได้๔กต้องเกษเกล้าโมลี มุขา ทันตา ปาทา ทั้งมวล ขออย่าให้ฝูงข้าทั้งหลายมีบาปกรรมแต่ประการใดประการหนึ่ง ฝูงข้าทั้งหลายขอขมาคารวะ ขอพระองค์จงทรงตัดเสียซึ่งบาปกรรม นำเสียซึ่งโทษ โปรดปรานสัตว์ทั้งหลายผู้เข้ามากระทำพิธีอัญเชิญแลกราบไหว้ เผื่อว่าได้ประมาทด้วยกายและวาจาจิต สันติอุบาทวืลูกใดลูกหนึ่งก็ดี ขอให้อโหสิกรรม นำเสียซึ่งโทษบาปกรรมทั้งมวล แล้วจงให้แผ่เมตตา ปกปักฮักษาฝูงข้าทั้งหลายพร้อมชาวเมืองถ้วนหน้า ขอให้ฝูงข้าทั้งหลายประสบความสุขความเจริญสมบูรณ์ มีความสุขกาย สบายใจ โดยทั่วหน้ากันตลอดกาลนานเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ ว่านะโม ๓ จบ บัดนี้ถึงฤดูปีเดือนใหม่ ฝูงข้าทั้งหลายภายในมีพระเถระผู้ใหญ่เป็นประธาน ภายนอกมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเค้า ทั้งฝูงผู้เฒ่าหมู่ชาวเมือง มานันเนืองโฮมเฮ้า อาราธนาพระแก้วเจ้าองค์เป็นมิ่งขวัญเมือง อันมีฤทธีเฮืองสะพู่ ออกมาสู่ผามหลาง เพื่อให้คนทั้งปวงได้โสรดขาบไหว้บูซา พระแก้วเจ้าขอได้โปรดกูณา ให้ฝูงข้าทั้งหลายได้บูซาขาบไหว้ เป็นเหตุให้ยินสะออน บัดนี้ฝูงข้าทั้งหลายจักทำพิธีบายศรีฉลองเดช เผื่อให้ฮูปพระจอมเกษองค์หัตถา จำเริญวัฒนามั่นคงอยู่ ปกป้องหมู่ชาวเมือง ให้หายคำเคืองและทุกข์โศก ฝูงโรคฮ้ายหลีกหนีไกลก็ข้าเทอญ ศรี ศรี ปีเดือนใหม่มาแถมเขต พระสุริเยศร์เข้าสู่ราศี ข้าจักปูนเป็นปีโดยปกติมาศ ฝูงข้าน้อยนาทข้าพระบาททั้งหลายยอมือใส่หัวเกษเกล้า นบองค์พระแก้วเจ้า องค์มีรังสีรัศมีใสสะอาด ถวายแก่พระบาทเจ้าจอมศรีเสด็จลงมาตีกาบ ฝูงข้าขอขาบไหว้บูชา พากันมานั่งเรียงอยู่ซ่ายร่าย เพื่ออยากได้เมื่อเกิดในชั้นฟ้าดาวดึงษา ฝูงข้าก้มขาบไหว้บาทา มีบุปผามาลายอยื่น ชมชื่นไหว้บูซา ของหอมดาดีดอกไม้ ขอให้ได้ดั่งคำมักคำปรารถนา ฝูงข้าทั้งหลายบ่อมีใจทึบหนาดอบโทษ บ่อกริ้วโกรธโกธา จึงได้พร้อมกันมาบายศรีพระแก้วจ้าทั้งฝูงเฒ่าแลปานกลาง ทั้งสาวฮามแลเด็กน้อย มีใจซื่นซ้อยยินสะออน ฝูงข้าทั้งหลายจึงมีคำปรารถนาผัดสิสรงเกษองค์พระแก้วเจ้า ตามประเทศเมืองคน จึงพร้อมกันกระทำสร้างโกศลสัตย์ซื่อ ก็จึงได้มาอุปฐากพระแก้วเจ้า ตนเป็นเหล่าแก่คนแลเทวดาทั้งหลาย ฝูงข้าทั้งหลายจึงพร้อมกันยอมือถวายเครื่องบูซาแก่องค์พระแก้วเจ้า องค์มีรัศมีรังสีฮุ่งเฮืองงามยียับ เป็นดั่งน้ำครั่งใส่ใตคำ คันทีดำก็ยียับยียับ เป็นดังปีกแมงคับเหลื่อมเหลืองลาย คันทีเหลืองกะเหลืองหลายภาค ประการหนึ่งคนทั้งหลายกะยอย้อง ว่าองค์พระแก้วเจ้าบ่อมีศูนย์เศร้าตราบเท่า ๕,๐๐๐ พระวรรษาข้าเทอญ อันหนึ่งฝูงข้าทั้งหลายทั้งหญิงชายเฒ่าแก่ พ่อแม่แลลุงป้า ทั้งอาวอาแลเด็กน้อย ขอยอมือปรารถนาต่างๆ บางผ่องปรารถนาเป็นมหาเศรษฐี บางผ่องจักเป็นพ่อค้ารัตนะพร้อมเนืองนอง ด้วยเงินทองมีมายิ่ง พร้อมทุกสิ่งนับด้วยอสงไขย บางผ่องปรารถนาเป็นอินทราธิราช เป็นองค์อาจกับทั้งเทพธิดา บางผ่องปรารถนาเป็นพระยาจักรวรรติราช ได้ปราบแพ้ทั้งทวีปชมพู บางผ่องปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูองค์ประเสริฐให้ล้ำเลิศกว่าโลกโลกา บางผ่องปรารถนาเป็นพระออระหันตาผายผ่อง ขอพระแก้วเจ้าจงกูญาให้ได้ดั่งคำมักคำปรารถนาแก่ฝูงข้าทั้งหลายก็ข้าเทอญ อันหนึ่งฝูงข้าทั้งหลายครั้นตายจากเมืองคน ขอให้เอาตนเมื่อเกิดในชั้นฟ้าเลิศดาวดึงษา ยัตถะ ภาเว ชาโต ฝูงข้าทั้งหลายเกิดมาในภาวะที่ใดๆก็ตาม ขอให้มีหูตาแจ้งโสต เม็ดงาไว้ฮ้อยโยชน์ก็ให้หลิงเห็นเป็นวิตการแจ้งโสต ธรรมชาติโสดาผมดกหนาดำเส้นแลบ มันแจ้งแจบเสมอเทา เลาคีงขาเสมอเต่า ขออย่าให้ถ่อยเฒ่าชรากาล เนื้อคีงบางกลมป้อง บ่อเว้าย้องกะหากดูงาม คนได้เห็นหายอยากเข้า ฝูงผู้เฒ่าเห็นแล้วหายพยาธิโรคา ท้าวพระยาเห็นแล้วชมชื่น ชื่น ชื่น ทั่วชมพู ปัญยาผายแผ่กว้าง ให้มีช้างม้าฝุงหมู่เงินคำ อย่าได้ขาดดังคำมักคำปรารถนาก็ข้าเทอญ จัตตาโร ธรรมมา วุฒิธรรม ทั้ง ๔ ดวง คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ อโรคยาภาวะถ้วน ๕ ปฏิภาณะถ้วน ๖ อธิปัจจะยะถ้วน ๗ จงเสด็จมาในขันธสันดานแห่งฝูงข้าทั้งหลายทุกเมื่อ ทุกยาม ทุกวัน ทุกคืน แลทุกคน ทุกตน ตราบต่อเท่าเข้าสู่เวียงแก้ว อันกล่าวแล้วคือ พระนิพพานก็ข้าเทอญ สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สัพพะธรรมานุภาเวนะ สัพพะสังฆานุภาเวนะ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ทุกคน ทุกคน เทอญฯ คัดลอกจากหนังสือประวัติวัดศรีอุบลรัตนาราม ประวัติพระแก้วบุษราคัม มูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม พ.ศ.๒๕๓๗ ฝากเป็นข้อมูลเพื่อศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น มิได้มีเจตนาอื่นแอบแฝง หากผิดพลาดประการใดกราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย หรือหากใครมีข้อมูลอื่นที่อ้างอิงเกี่ยวเนื่องกันกรุณาบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานให้อนุชนได้ศึกษาเรียนรู้ด้วย จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง |