ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน

ห้องพระ => พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร => ข้อความที่เริ่มโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 11 ตุลาคม 2555, 13:18:47



หัวข้อ: พระครูนวกรรมโกวิท (นาค ภูริปญฺโญ) วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบล
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 11 ตุลาคม 2555, 13:18:47
(http://upic.me/i/i6/tscan.jpg) (http://upic.me/show/40006462)
พระครูนวกรรมโกวิท (นาค ภูริปญฺโญ)
(พ.ศ. ๒๔๔๐ ? ๒๕๒๘)

ชาติภูมิ
พระครูนวกรรมโกวิท (นาค ภูริปญฺโญ) ซึ่งบางครั้งบรรดาศิษยานุศิษย์และผู้เคารพศรัทธาโดยทั่วไปเรียกขานนามว่า ?หลวงปู่นาค? นามเดิม นาค นามสกุล แก้วเลิศศรี เกิดวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่่า เดือน ๙ ปีจอ ณ ต่าบลเพียไฟ อ่าเภอเพียไฟ แขวงปากเซ เมืองนครจ่าปาศักดิ์ (ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปัจจุบัน) นามของบิดามารดาไม่สามารถสืบค้นได้
การศึกษาบรรพชาและอุปสมบท
พระครูนวกรรมโกวิท ได้บรรพชาอุปสมบท เมื่ออายุ ๒๑ ปีในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๗ ค่่า เดือน ๘ ปีมะเมีย ได้รับนามฉายาว่า ?ภูริปญฺโญ? ซึ่งหมายถึงผู้มีปัญญาอันเจริญ โดยมีพระครูสุตาธิคุณ วัดเพียไฟ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระชาลาเป็น พระกรรมวาจาจารย์ และพระชาอบ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ต่อมาพระอุปัชฌาย์ได้น่ามาฝากจ่าพรรษา ณ วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ปรากฏว่าสามารถสอบนักธรรมชั้นตรี โท และเอกได้ตามล่าดับที่นักเรียนประจ่าจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดสุปัฏนารามในขณะนั้น
พระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผโล) เมื่อครั้งด่ารงมมณศักดิ์ที่พระรัตนเมธี เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี มีแนวคิดที่จะฝึกอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่พระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนทั่วไป จึงได้จัดตั้งส่านักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นภายในวัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย) โดยสร้างกุฏิกัมมัฏฐานหลังเล็ก ๆ ขึ้น จ่านวน ๑๐ หลัง ในพื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของวัด และได้อาราธนาพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙) อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระจากวัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร มาแนะน่าฝึกอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นประจ่า แต่เนื่องจากพระรัตนเมธี รับภารธุระการคณะสงฆ์และพระศาสนามาก จึงสนับสนุนและมอบหมายให้พระครูนวกรรมโกวิท ด่าเนินการฝึกอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไป โดยได้ส่ง ?หลวงปู่นาค? ไปศึกษาอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐานเพิ่มเติม ที่ส่านักวัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เป็นเวลา ๑ พรรษา หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับมาจัดตั้งส่านักฝึกอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐานที่วัดมหาวนาราม และสนับสนุนให้วัดต่าง ๆ ในเขตปกครองจัดตั้งส่านักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นอีกหลายวัด
การที่หลวงปู่นาคมีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดและมีพลังจิตที่มีพลานุภาพมาก ก็เนื่องจากความสนใจใฝ่รู้ ศึกษาอบรมด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานมาก่อน จนท่าให้วัดมหาวนารามกลายเป็นวัดสายปฏิบัติหรือสายวัดป่าที่ส่าคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี สืบเนื่องจากชื่อเดิมว่า ?วัดป่าหลวง? จนกลายเป็น ?วัดป่าใหญ่? หรือวัดมหาวนารามในปัจจุบัน
หน้าที่การงาน
ด้านการปกครอง
พ.ศ. ๒๔๖๘ เจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม
พ.ศ. ๒๔๖๘ พระอุปัชฌาย์ในเขตปกครองสงฆ์เมืองอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๔๘๕ เจ้าคณะหมวดขามใหญ่ พ.ศ. ๒๕๒๑ เจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม (พระอารามหลวง)
ด้านการเผยแพร่
พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับการอบรมและแต่งตั้งให้ด่ารงต่าแหน่งเผยแผ่จังหวัดอุบลราชธานี ท่าหน้าที่
อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ ทั้งภาคปริยัติธรรมและฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่อ่าเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ด้านสาธารณูปการ
พ.ศ. ๒๔๗๑ ? ๒๕๒๘ หลวงปู่นาคได้บอกบุญศรัทธาญาติโยม พุทธศาสนิกชนและศิษยานุศิษย์
ซึ่งมีความเลื่อมใสในพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ไดร่วมกันเสียสละบริจาคทุนทรัพย์ในการท่านุบ่ารุงซ่อมแซมวิหารพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง เช่น ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ มุงหลังคาด้วยแผ่นกระดานไม้ เป็นต้น และก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ หอระฆัง ศาลานาบุญ กุฏินวกรรมโกวิท ธรรมสภาสถาน ตึกโกศัลวัฒน์ กุฏิที่พักผู้ปฏิบัติธรรม และหอระฆังทรงไทย รวมเป็นเงินทุนก่อสร้างจ่านวนหลายล้านบาท
ปฏิปทาจริยาวัตร
จากค่าบอกเล่าของผู้อาวุโสหลายคน ที่อาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่รอบวัดมหาวนารามได้กล่าวถึงปฏิปทาจริยาวัตรของหลวงปู่นาค ซึ่งพอสรุปได้ ดังนี้
๑) เป็นพระเถระสุปฏิปันโนที่สมควรได้รับการยกย่องเคารพบูชาสักการะกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจเป็นอย่างสูงจากพระภิกษุสามเณรศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนที่ได้พบเห็นอย่างแท้จริง
๒) เป็นพระเถระที่ควรให้ความเคารพยิ่ง และยึดมั่นตามหลักธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ให้ความส่าคัญกับการลงท่าวัตร สวดมนต์ เช้า-เย็น มิได้ขาด และตั้งกฎกติกาเคร่งครัดกับพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด ต้องหมั่นท่าวัตรสวดมนต์ท่องบ่นเป็นประจ่าทั้ง เช้า-เย็น
๓) ตื่นจากการจ่าวัดตอนตี ๔ เป็นประจ่า สิ่งที่ปฏิบติก่อนลงท่าวัตรสวดมนต์ คือ การกวาดลานวัด ลานวิหาร ลานเจดีย์เป็นประจ่า เพื่อเป็นอุบายวิธีสอนพระภิกษุ สามเณรในวัด มิให้เกียจร้านในการปฏิบัติกิจวัตรประจ่าของสงฆ์
๔) ไม่ชอบเทศน์สั่งสอน หรือขึ้นธรรมาสน์เทศน์เอง แต่มักจะมอบให้พระภิกษุสามเณรฝึกหัดเทศน์บนธรรมาสน์แทนอยู่เสมอ มีผู้เล่าว่าในขณะที่นั่งฟังเทศน์ แม้จะเป็นภิกษุหรือสามเณรขึ้นเทศน์ หลวงปู่ก็แสดงความเคารพในพระธรรมนั่งฟังด้วยการประณมมืออย่างมั่นคง มือจะไม่หย่อนหรือตกลงแม้แต่น้อย หรือแสดงอากรเมื่อยล้าให้เห็นเลย จนกระทั่งเทศน์จบ
๕) สั่งสอนโดยไม่พูดอ้อมค้อม แบบพูดตรงไปตรงมา เช่น ถ้ามีพระ (บวชใหม่) เดินลงจากกุฏิเสียงดัง ก็จะดุว่า ?พวกพ่อแม่ไม่สั่งสอน? แต่นั้นมา พระรูปนั้นก็จะไม่เดินเสียงดังอีก หลวงปู่จะสอนด้วยการท่าตนเองให้เป็นแบบอย่างของลูกศิษย์ ผู้ที่ได้พบเห็นปฏิปทาจริยาวัตรก็จะเกิดความศรัทธาเลื่อมใส และเกิดความเคารพเกรงใจ ตามหลักการที่ว่า ?เมื่อผู้น่าเคร่งครัดพระธรรมวินัย ลูกศิษย์พระเณรในวัดก็ปฏิบัติเคร่งครัดตามผู้น่าด้วย?
๖) เน้นสอนการเดินจงกรม นั่งสมาธิเป็นประจ่าทุกวัน เนื่องจากในอดีต วัดมหาวนาราม เป็นวัดป่าอบรมวิปสสนากัมมัฏฐานสายวัดมหาธาตุ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นสาขาแห่งแรกในภาค
อีสาน และได้น่าหลักสูตรการสอนวิชาอภิธรรม มาเปิดสาขาที่จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันยังมีการเรียนการสอนวิชานี้อยู่อย่างต่อเนื่อง
ความสามารถพิเศษ
หลวงปู่นาค นอกจากเป็นพระเถระผู้คงแก่เรียนและเคร่งครัดทั้งสายปริยัติและปฏิบัติแล้ว ความรู้ความสามารถพิเศษที่ได้รับการถ่ายทอดจากบูรพาจารย์ คือการอ่าน เขียนหนังสือผูก ไม่ว่าจะเป็นอักษรขอม อักษรไทยน้อย (ภาษาลาว) และอักษรธรรมได้อย่างแตกฉานเชี่ยวชาญ รวมทั้งการลงอักขระอาคมลงในตะกรุด แผ่นโลหะและผ้าประเจียด (ผ้ายันต์) ซึ่งลูกศิษย์ ต่างเล่าขานกันว่า มีความศักดิ์สิทธิ์และน่าอัศจรรย์ ทั้งในด้านอยู่ยงคงกระพัน และเมตามหานิยม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของหลวงปู่ที่ส่าคัญ ก็คือ การสวดบทไชยน้อย ? ไชยใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นคาถาสวดที่ทรงความขลังและศักดิ์สิทธิ์ คณะสงฆ์วัดมหาวนารามใช้สวดเพิ่มเติมต่อจากบทสวดมนต์ในเจ็ดต่านานและสิบสองต่านานในการท่าวัตรเป็นประจ่า และในเวลาเจริญพุทธมนต์ในงานบุญกุศลต่าง ๆ เพราะเจ้าภาพมีความเชื่อว่า ก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ขับไล่ผี เสนียดจัญไร โรคภัยทุกข์เข็ญได้อย่างน่าอัศจรรย์ การสวดบทไชยน้อย ? ไชยใหญ่ ยังคงได้รับการถ่ายทอดสืบสานจนถึงปัจจุบัน
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี ในราชทินนามที่
?พระครูนวกรรมโกวิท?
พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ต่าแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้น
ตรีในพระราชทินนามเดิม
มรณภาพ
หลวงปู่ได้มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ปี พรรษา ๖๘
พระครูนวกรรมโกวิท หรือหลวงปู่นาค เป็นพระเถระสุปฏิปันโนที่มีปฏิปทาวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดน่าเคารพเลื่อมใสของบรรดาศิษยานุศิษย์ พุทธศาสนิกชนชาวอุบลราชธานีและทั่วไปเป็นอย่างมาก แม้ว่าหลวงปู่จะมีเชื้อสายมาจากประเทศลาว แต่ตลอดชีวิตเพศบรรพชิตก็ได้รับภารธุระพระพุทธศาสนาที่เมืองอุบลราชธานีโดยตลอด นับว่าหลวงปู่นาคได้ท่าคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่พระพุทธศาสนาและบ้านเมืองอย่างอเนกอนันต์ ทั้งทางคันถะธุระและวิปัสสนาธุระให้มั่นคงในเมืองอุบลราชธานี จึงสมวรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ?ปราชญ์? อย่างแท้จริง
หนังสืออ้างอิง
ประวัติวัดมหาวนาราม (พระอารามหลวง) : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๒.



หัวข้อ: Re: พระครูนวกรรมโกวิท (นาค ภูริปญฺโญ) วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบล
เริ่มหัวข้อโดย: บอย น้ำยืน ที่ 01 พฤษภาคม 2557, 03:33:52
ล็อกเก็ตครับ
(http://upic.me/i/5l/rscn8234.jpg) (http://upic.me/show/50810214)
(http://upic.me/i/ql/rscn8236.jpg) (http://upic.me/show/50810215)


หัวข้อ: Re: พระครูนวกรรมโกวิท (นาค ภูริปญฺโญ) วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบล
เริ่มหัวข้อโดย: บอย น้ำยืน ที่ 22 กันยายน 2557, 02:58:46
เหรียญรุ่นเเรก สร้างปี2512 พร้อมกับเหรียญพระเจ้าใหญ่อินทร์เเปลงรุ่นเเรกครับ
(http://upic.me/i/8o/rscn9936.jpg) (http://upic.me/show/52811159)
(http://upic.me/i/ga/rscn9939.jpg) (http://upic.me/show/52811160)