หัวข้อ: พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบล เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 11 ตุลาคม 2555, 10:42:24 พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบล
"พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก)" (2441-2530) อดีตเจ้าอาวาสวัดเวฬุวันและรองเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี สานุศิษย์ผู้เคารพศรัทธานิยมเรียกนามท่านว่า ?หลวงปู่จูมหรือพ่อท่าน? นับเป็นเถระผู้นำภารธุระทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ควบคู่กันอย่างเข้มข้นเต็มความสามารถโดยเฉพาะการพัฒนาการศึกษาสงฆ์และพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ทั้งสติปัญญา ร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนการบ่าเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างใหญ่หลวง เป็นแบบอย่างของพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และทรงไว้ซึ่ง ภูมิธรรม ภูมิปัญญา อย่างแท้จริง (http://upic.me/i/j2/200px-1.jpg) (http://upic.me/show/40001229) หัวข้อ: Re: พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบล เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 11 ตุลาคม 2555, 10:55:51 พระครูโศภนธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก ป.ธ. ๓)
(พ.ศ. ๒๔๔๑ ? ๒๕๓๐) ชาติภูมิ พระครูโศภธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) นามเดิม จูม นามสกุล บุญพูล เกิดวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๑ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๓ ค่่า ปีจอ ที่บ้านไผ่ใหญ่ ต่าบลไผ่ใหญ่ อ่าเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษา บรรพชาและอุปสมบท พระครูโศภนธรรมาภรณ์ บรรพชาเป็นสามเณร วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ และอุปสมบทวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ที่วัดสว่าง บ้านไผ่ใหญ่ อ่าเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี พักจ่าพรรษาอยู่วัดสว่าง ๒ ปี แล้วย้ายไปอยู่วัดเวฬุวัน ซึ่งเป็นวัดอีกแห่งหนึ่งในหมู่บ้านไผ่ใหญ่ ต่อจากนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดสร่างโศก จังหวัดยโสธร ๒ ปี เรียนนักธรรมและบาลี แต่ยังไม่ได้สอบ จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยเดินเท้าจากจังหวัดยโสธรถึงนครราชสีมา ใช้เวลา ๑๕ วัน แล้วขึ้นรถไฟที่สถานีนครราชสีมาเข้ากรุงเทพฯ ไปจ่าพรรษาอยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ๓ ปี เรียนบาลีแต่ไม่ได้สอบเพราะอาพาธเป็นโรคเหน็บชา และไปจ่าพรรษาอยู่วัดใหม่อมตรส เป็นเวลา ๓ ปี ได้ตั้งใจศึกษาทั้งนักธรรมและบาลีอย่างหนัก จนสามารถสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค และนักธรรมชั้นโทในส่านักเรียน วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ หน้าที่การงาน ด้านการศึกษา พ.ศ. ๒๔๗๕ ครูสอนปริยัติธรรมส่านักเรียนวัดเบญจมบพิตร โดยได้รับแต่งตั้งจากพระพรหม มุนี (ปลด กิตฺติโสภโณ) เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร ต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช การที่ได้ศึกษาภาษาบาลีแบบตั้งเดิมที่ส่านักเรียนวัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ และที่ส่านักเรียน วัดสร่างโศกมาก่อนท่าให้มีความรู้แตกฉานบาลีไวยากรณ์เป็นอันมาก สามารถสอนการแปลธรรมบทโดยพยัญชนะและโดยอรรถ ตลอดทั้งการสัมพันธ์เนื้อหาประโยคได้อย่างยอดเยี่ยมเป็นที่ชื่นชอบของศิษยานุศิษย์เป็นอันมาก พ.ศ. ๒๔๗๖ พระพรหมมุนี ในฐานะเจ้าคณะภาคเหนือมีความรับผิดชอบการศึกษาของ พระภิกษุสามเณรในภาคเหนือทั้งหมด ได้ขอร้องให้ไปเป็นครูสอนที่ส่านักเรียนวัด เมืองชุมแม่ต่า ต่าบลต่า อ่าเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย (ปัจจุบัน คือ จังหวัด พะเยา) เป็นเวลา ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้ตัดสินใจปรับปรุงการศึกษาสงฆ์และพัฒนาชุมชนบ้านไผ่ใหญ่ให้มั่นคง เพราะ มีพระภิกษุสามเณรอยู่จ่าพรรษาเพื่อศึกษาเล่าเรียนเป็นจ่านวนมาก โดยจะไม่ย้ายไปที่ใดอีก ได้เปิดสอนบาลีและมูลกัจจายน์ รวมทั้งนักธรรมไปพร้อมกัน นักเรียนชอบแผนกใดก็เรียนแผนกนั้น ซึ่งมีครูสอนเพียงพอทุกแผนก เมื่อตั้งใจกลับมาอยู่ที่ถิ่นก่าเนิด ก็ได้ทุ่มเททั้งก่าลังกายและก่าลังมันสมองพัฒนาการศึกษาส่านักเรียนวัดเวฬุวันให้เจริญรุ่งเรืองทุกวิถีทาง จนกิตติศัพท์ระบือไปทั่วคณะสงฆ์ไทย เป็นยุคที่ส่านักเรียน วัดเวฬุวันเจริญรุ่งเรืองสูงสุด แต่ละปีมีพระภิกษุสามเณรแทบทุกจังหวัด โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดินทางมุ่งหน้ามาบ้านไผ่ใหญ่เพื่อศึกษาบาลีมูลกัจจายน์ และนักธรรมปีละหลายร้อยรูป โดยแยกพ่านักอยู่ที่วัดเวฬุวัน วัดสิงห์ทอง และวัดสว่าง ซึ่งเป็นวัดประจ่าหมู่บ้านไผ่ใหญ่ทั้งสามวัด ตั้งแต่เช้าจรดเย็น จะเห็นพระภิกษุสามเณร ครองจีวรเหลืองอร่ามอยู่ทั่วไป เวลากลางคืนก็จะเห็นแสงไฟตะเกียงส่าหรับดูหนังสือ ระคนกับเสียงท่องบ่นสาธยายต่าราของพระภิกษุหนุ่ม สามเณรน้อยก้องกังวานอยู่ทั่วอาม นับเป็นภาพแห่งความสุข สงบร่มเย็นแห่งพระพุทธศาสนา บางปีมีพระภิกษุสามเณรเดินทางมาศึกษามากเกินความสามารถของชาวบ้านไผ่ใหญ่ ที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้ พระภิกษุสามเณรผู้ใครต่อการศึกษาเหล่านั้นได้แยกย้ายไปจ่าพรรษาอยู่ที่วัดในหมู่บ้านใกล้เคียงก็มีมาก เช่นที่วัดบ้านเหล่าค้อ วัดบ้านเหล่าสูง วัดบ้านหนองมะทอ เป็นต้น แล้วเดินทางมาเรียนร่วมกันที่วัดเวฬุวันบ้านไผ่ใหญ่ ผลงานที่ท่านได้บากบั่นทุ่มเทให้กับการศึกษาที่ส่านักเรียนวัดเวฬุวันโดยใช้ระบบการศึกษาแบบพี่สอนน้อง ท่าให้ส่านักเรียนไม่ขาดแคลนครูสอน นอกจากนี้ศิษย์ส่านักเรียนวัดเวฬุวัน ยังได้ไปตั้งส่านักเรียนหรือเป็นผู้บริหารคณะสงฆ์เป็นจ่านวนมาก จะขอยกตัวอย่าง ๒ องค์ คือ พระมหาพรหมา ญาณจารี วิทยฐานะนักธรรมเอก เปรียญธรรม ๖ ประโยค มาตุภูมิบ้านเหล่าเสือโก้ก อ่าเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันเป็นพระราชาคณะที่ ?พระเขมราฐเมธี? ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี พระเถระรูปนี้ได้เปิดส่านักเรียนที่ วัดเหนืออภเภอเขมราฐ เปิดการสอนบาลีนักธรรมมาตลอด พระมหาบุญเพ็ง สุจิตโต วิทยฐานะนักธรรมเอก เปรียญธรรม ๖ ประโยค มาตุภูมิบ้านโนนรังใหญ่ อ่าเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอ่าเภอม่วงสามสิบ และได้ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างมาก จัดทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรที่เรียนดี มีความตั้งใจเรียน ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่พระครูสุจิตธรรมาจารย์ ปัจจุบันมรณภาพแล้ว ด้านการปกครอง พ.ศ. ๒๔๘๐ เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ พ.ศ. ๒๔๘๑ พระอุปัชฌาย์ในเขตต่าบลไผ่ใหญ่ ต่าบลจิกดู่ และต่าบลสร้างถ่อน้อย พ.ศ. ๒๔๘๔ เจ้าคณะต่าบลไผ่ใหญ่ ต่าบลจิกดู่ ต่าบลสร้างถ่อน้อย พ.ศ. ๒๔๙๕ กรรมการสงฆ์ ต่าแหน่ง องค์การบริหารอ่าเภอม่วงสามสิบ ด้านการเผยแผ่และการทาประโยชน์เพื่อสังคม ๑) หลักประสานสามัคคีมีกิจกรรมร่วมกัน พระครูโศภนธรรมาภรณ์ ได้น่าหลัก ?ประสานสามัคคีมีกิจกรรมร่วมกัน? นี้มาใช้ในชุมชนบ้านไผ่ใหญ่ คือให้แต่ละครัวเรือนในหมู่บ้านไผ่ใหญ่รับภาระเป็นโยมอุปัฏฐากพระภิกษุหรือสามเณรครัวเรือนละ ๑ รูป บางครัวเรือนมีศรัทธามากก็อุปัฏฐาน ๒ รูป (โยมอุปัฏฐาก ชาวบ้านเรียกว่า พ่อออกค้่า แม่ออกค้่า ส่วนพระภิกษุสามเณรจะเรียกว่าลูกค้่า) โยมอุปัฏฐากจะรับถวายภัตตาหารจังหันและเพลตราบเท่าเวลาที่พระภิกษุสามเณร ลูกค้่าของตนอยู่จ่าพรรษา ส่วนพระภิกษุสามเณรลูกค้่า เมื่อถึงวันโกนหรือวันพระก็จะไปให้ศีลโยมอุปัฏฐากที่บ้าน เสร็จแล้วก็จะสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นซึ่งกันและกันเป็นนิตย์ หากพระภิกษุสามเณรลูกค้่าเกียจคร้านก็จะได้รับการตักเตือน พฤติกรรมนี้ถือว่าเป็นหลักสาคัญในการสร้างสามัคคีสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับวัดเป็นแบบอย่างที่ดีหลายหมู่บ้านหลายจังหวัดได้นารูปแบบนี้ไปใช้ ๒) การจัดตั้งมูลนิธิโศภนธรรมาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะศิษยานุศิษย์ ญาติโยมชาวบ้านไผ่ใหญ่และบ้านใกล้เคีย ตลอดจน ท่านผู้มีศรัทธาทั่วไป ได้ร่วมกันบจัดหาทุนด่าเนินงานจัดตั้งมูลนิธิ ชื่อ ?มูลนิธิโศภนธรรมาภรณ์? ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ มียอดเงินรวมดอกผล ๒๗๐,๐๐๐ บาท ขณะนี้มูลนิธิโศภนธรรมาภรณ์ก็ยังด่าเนินการอยู่ ๓) พัฒนาด้านสาธารณประโยชน์ พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้พร้อมกับชาวบ้านขุดลอกสระเซียงเมี่ยงหรือสระศรีธนญชัย ซึ่งเป็น สระน้่าโบราณที่ส่าคัญของหมู่บ้าน และท่ากังหันขนาดใหญ่วิดน้่าเข้า - ออก สระเพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ (สอนการใช้เทคโนโลยีให้ชุมชน) พ.ศ. ๒๔๙๖ พัฒนาหนองสวนซึ่งเป็นแหล่งน้่าขนาดใหญ่ประจ่าหมู่บ้าน เพื่อให้มีน้่า ใช้ในการอุปโภคบริโภคเพียงพอและเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ปลาอีกด้วย พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นประธานชักชวนชาวบ้านร่วมกับพระภิกษุสามเณรสร้างถนนสาย บ้านหนองขุ่น-บ้านสร้างถ่อน้อย ความยาว ๒๔ กิโลเมตร เป็นการรวมพลัง บ้านกับวัดอย่างเข้มแข็ง โดยจะพักค้างแรมตามจุดที่สร้างถนนไปถึงแต่ ละแห่ง คณะญาติโยมจากหมู่บ้านต่าง ๆ น่าภัตตาหารไปถวาย เมื่อ พระสงฆ์ฉันเสร็จชาวบ้านก็เลี้ยงอาหารผู้คนที่มาช่วยงาน ต่อจากนั้นก็ร่วม แรงร่วมใจสร้างถนนต่อจนเสร็จสิ้นสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้สะดวกทุกฤดูกาล โอวาทบางตอนของพระครูโศภนธรรมาภรณ์ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านได้ให้โอวาทแก่คณะกรรมการและสมาชิก ?ชมรมไผ่ใหญ่อุบลราชธานี? เนื่องในประเพณีวันสงกรานต์ ซึ่งอาจารย์วิจิตร ยิ่งยืน ผู้เป็นศิษย์ได้บันทึกไว้ ดังนี้ ?...ที่มากันวันนี้ ล้วนแต่ลูก ๆ หลาน ๆ ที่อาตมาภาพให้ความไว้วางใจให้ความรักนับถือ อันสังขารของคนเรานี้ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารแน่นอน ย่อมมีการเกิด แก่ เจ็บ และตายไปเป็นธรรมดา ดูตัวอาตมานี้ก็พอจะเห็นได้ว่าเป็นจริง นับวันเวลาที่มีความร่วงโรยหมดเรี่ยวหมดแรง และในที่สุดก็จะตายไป สิ่งทั้งหลายที่พวกเราคิดว่าเป็นของเรามันไม่จริงแล้ว อย่าไปยึดมั่นถือมั่นกับมันเลย ไม่มีอะไรที่จะเป็นของเราแท้จริง นอกจากความเสื่อมสลายเท่านั้น พวกเราส่วนมากยังยึดมั่นอยู่กับความโลภ โกรธ หลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นรากเหง้าแห่งอกุศลธรรม สาหรับการดาเนินชีวิตนั้น ขอให้ยึดหลักศีล ๕ และมรรค ๘ จะทาให้ชีวิตเต็มไปด้วยสันติสุข เจริญรุ่งเรือง ขอให้พวกเราทุกคนจงตั้งมั่นอยู่ในหลักธรรมของพระศาสดา ตั้งจิตอธิษฐานปฏิบัติจริง คิด พูด ทา ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยการพิจารณาจากเหตุและผลเป็นสาคัญ...? (วิจิตร ยิ่งยืน, ๒๕๓๐) สมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูโศภน ธรรมาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม เกียรติคุณที่ได้รับ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) เสด็จตรวจงานคณะสงฆ์ภาคอีสาน พระครูโศภนธรรมาภรณ์ได้ไปรับเสด็จและโปรดให้เข้าเฝ้าและรับสั่งถามว่า ?ท่านจูมยังอยู่หรือ ไปอยู่ด้วยกันไหม? แสดงถึงพระเมตตา ของสมเด็จพระสังฆราชที่มีต่อพระครูโศภนธรรมาภรณ์ และแสดงถึงคุณงามความดีที่ได้กระท่าเมื่อครั้งอยู่วัดเบญจมบพิตรส่วนจะเป็นเหตุการณ์ในวัน เดือน ปีใด ไม่สามารถสืบค้นได้ มีเจ้านายเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง ๒ พระองค์ คือ สมเด็จกรมพระยาด่ารงราชานุภาพและพระองค์เจ้า ธานีนิวัตรเคยเสด็จเยี่ยมวัดเวฬุวันและบ้านไผ่ใหญ่และได้เข้านมัสการถวายสักการะในครั้งนั้นด้วย ส่วนวัน เดือน ปีใดไม่สามารถสืบค้นได้ มรณภาพ บั้นปลายแห่งชีวิตของพระครูโศภนธรรมาภรณ์ ได้หันมาบ่าเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างจริงจัง โดยให้สร้างกุฏิกลางน้่าหลังเล็ก ๆ ขึ้นหนึ่งหลังที่หนองสวน เพื่อเป็นที่พ่านักและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้นิมนต์พระอาจารย์พันธ์จากจังหวัดสกลนครมาเป็นพระพี่เลี้ยง (พระอาจารย์พันธ์ เคยเป็นลูกศิษย์ของพระครูโศภนธรรมาภรณ์มาก่อน) เนื่องจากเป็นผู้เคร่งครัดไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม โดยถือว่าทุกอย่างจะต้องมีครูทั้ง ๆ ที่เป็นผู้คงแก่เรียน อาศัยจ่าพรรษาที่กุฏิหลังเล็กกลางน้่ามาตลอด เป็นพระสมถะสันโดษ ไม่สั่งสมอามิสใด ๆ เป็นพระที่ขยัน ต้องท่างานตลอดไม่อยู่นิ่ง เมื่อว่างเว้นจากการปฏิบัติจะปัดกวาดท่าความสะอาดกุฏิ ลานโบสถ์เสมอ แม้กระทั่งเวลากลางคืน มักชอบนั่งใช้ผ้าอาบน้่าฝนคลุมศรีษะอาศัยแสงสว่างจากตะเกียงเล็ก ๆ ดายหญ้ารอบบริเวณโบสถ์โดยไม่เรียกใช้หรือบังคับใคร ๆ มาช่วยเหลือ เป็นการท่างานด้วยศรัทธาของตนเอง ต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เวลา ๐๘.๐๐ น. หลังฉันจังหันมื้อสุดท้ายก็มรณภาพด้วยอาการสงบ รวมอายุได้ ๘๙ ปี พรรษา ๖๘ พระครูโศภนธรรมาภรณ์ ที่สานุศิษย์ผู้เคารพศรัทธาส่วนใหญ่นิยมเรียกนามท่านว่า ?หลวงปู่จูม? นับเป็นเถระผู้น่าภารธุระทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ควบคู่กันอย่างเข้มข้นเต็มความสามารถโดยเฉพาะการพัฒนาการศึกษาสงฆ์และพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ทั้งสติปัญญา ร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนการบ่าเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างใหญ่หลวง เป็นแบบอย่างของพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และทรงไว้ซึ่ง ภูมิธรรม ภูมิปัญญา อย่างแท้จริง สมควรที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป หนังสืออ้างอิง คณะกรรมการจัดท่าหนังสือ. อุบลราชธานี ๒๐๐ ปี. กรุงเทพฯ , ชวนการพิมพ์ ๒๕๓๕ พระดีบ้านไผ่ใหญ่ หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก เปรียญธรรม ๓ ประโยค) วัดเวฬุวัน อ่าเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ๘ ? ๑๐ เมษายน หัวข้อ: Re: พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบล เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 11 ตุลาคม 2555, 11:44:14 เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่จูม vs เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่นาค สร้างปี พ.ศ.2512 เนื้ออัลปาก้า ศิลปะเดียวกันครับ(http://upic.me/i/pq/img_2694.jpg) (http://upic.me/show/40002933)
(http://upic.me/i/bw/img_2695.jpg) (http://upic.me/show/40002947) หัวข้อ: Re: พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบล เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 11 ตุลาคม 2555, 11:46:26 เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่จูม สร้างน้อยหายาก เพราะเป็นที่หวงแหนของคนพื้นที่ครับ
(http://upic.me/i/gh/img_2696.jpg) (http://upic.me/show/40003004) (http://upic.me/i/yv/img_2697.jpg) (http://upic.me/show/40003098) หัวข้อ: Re: พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบล เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 11 ตุลาคม 2555, 13:09:49 (http://upic.me/i/9c/387004_237199413006166_1602517519_n.jpg) (http://upic.me/show/40005605)
โบสถ์ วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ครับ 007 หัวข้อ: Re: พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบล เริ่มหัวข้อโดย: เจิดบ้านทุ่ง ที่ 28 กรกฎาคม 2556, 21:52:39 เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่จูม
หัวข้อ: Re: พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบล เริ่มหัวข้อโดย: บอย น้ำยืน ที่ 03 กรกฎาคม 2557, 03:19:29 เหรียญรุ่นเเรกครับ
(http://upic.me/i/5x/rscn9132.jpg) (http://upic.me/show/51725585) (http://upic.me/i/eb/rscn9134.jpg) (http://upic.me/show/51725586) หัวข้อ: Re: พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบล เริ่มหัวข้อโดย: magic ที่ 26 พฤศจิกายน 2557, 20:04:03 อยากตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเหรียญหลวงพ่อจูม (พระครูโศภณธรรมาภรณ์) รุ่นแรก ปี ๒๕๑๒ นะครับ คือ จากการนำเหรียญรุ่นนี้ ๒ เหรียญมาเทียบกัน ผมพบความแตกต่างในหลายจุด เช่น คำว่า "วัดเวรุวัน จ.อุบลราชธานี" บนเหรียญทั้ง ๒ มีความหนา/บางต่างกันอย่างชัดเจน และตำแหน่งของตัวเลขพ.ศ. "๒๕๑๒"ก็ต่างกันชัดเจนเช่นกัน (ยังมีจุดต่างอีกหลายจุด)แต่ที่น่าสนใจคือ เมื่อนำเหรียญทั้งสองมาประกบกันจะเห็นขอบด้านข้างมีรอยตำหนิต่างๆตรงกันเหมือนใช้ตัวตัดอันเดียวกัน ในความเห็นของผม เหรียญรุ่นนี้อาจมี ๒ บล็อค และแต่ละบล็อคมีความต่างกันในรายละเอียดตามจุดดังที่กล่าว นี่แค่เป็นข้อสังเกตของผมซึ่งอาจจะผิดก็ได้นะครับ เพราะผมเองก็ไม่ใช่ผู้รอบรู้เหรียญสายนี้ จึงอยากขอความเห็นจากผู้รู้ประวัติการสร้างเหรียญรุ่นนี้ที่เป็นคนในพื้นที่ด้วยนะครับ ส่วนภาพการเปรียบเทียบของเหรียญทั้งสองไว้วันหลังผมจะนำมาให้ดูครับ 006 หัวข้อ: Re: พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบล เริ่มหัวข้อโดย: magic ที่ 27 พฤศจิกายน 2557, 18:16:45 ลองพิจารณาดูนะครับ
(http://upic.me/i/35/10816087_815773631820870_942073429_n.jpg) (http://upic.me/show/53706000) หัวข้อ: Re: พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบล เริ่มหัวข้อโดย: teeradas07 ที่ 16 มกราคม 2558, 12:19:11 :wan-e007: :wan-e007:เหรียญไหนคับบล็อกแรก :wan-e007: :wan-e007:
หัวข้อ: Re: พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบล เริ่มหัวข้อโดย: fartus01 ที่ 28 กันยายน 2558, 23:05:40 :wan-e003:อยากได้จัง ใครปล่อยบอกด้วยครับ
|