ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน

ห้องพระ => พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร => ข้อความที่เริ่มโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 15 มกราคม 2554, 12:27:59



หัวข้อ: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 15 มกราคม 2554, 12:27:59
พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ศิษย์แห่งองค์หลวงปู่เสาร์
(http://www.ubonpra.com/uppic/?img=291295069263.jpg)

พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวน ๙ คน ของหลวงอินทร์ และแม่จันทรา วงศ์เสนา เกิดที่บ้านกุดน้ำใส อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ปีมะโรง พ ศ. ๒๔๓๕

ประมาณ พ ศ.๒๔๕๒ ครอบครัวของบิดาได้ย้ายไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร จึงจัดเป็นตระกูลที่เก่าแก่หลักบ้านหลักเมืองตระกูลหนึ่ง

พระอาจารย์ดี เคยบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๖ ปี จนถึงอายุ ๑๘ ปี ได้ลาสิกขาออกมาช่วยงานทางบ้าน พออายุ ๒๐ ปี ได้แต่งงานกับนางมี กาฬสุข อยู่ด้วยกัน ๓ ปี ไม่มีบุตร ได้หย่าร้างกัน

หลังจากนั้นได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย โดยมีพระธรรมบาล วัดบ้านกุดมะฮง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ ศ. ๒๔๕๗ แล้วมาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีบุญเรืองท่าแขก บ้านกุดแห่ จนได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกุดแห่ เป็นพระเถระนับพรรษาได้ ๒๔ พรรษา

วัดกุดแห่ ในสมัยพระอาจารย์ดี นั้นเป็นวัดที่ได้ชื่อว่าเจริญที่สุดในถิ่นนั้น มีศาลาโรงธรรมที่มีเสาใหญ่ที่สุด วัดโดยรอบได้ ๑ เมตร มีถึง ๓๖ ต้น

ท่านสร้างหอไตรที่มีลวดลายวิจิตรสวยงาม ทั้งประดิษฐ์ธรรมาสน์แบบไทยเดิม สร้างกุฏิใหญ่ ๒ หลัง เพราะท่านมีความชำนาญในทางช่างไม้ ช่างก่อสร้าง แกะสลัก เขียนภาพ ช่างเหล็ก ช่างปูน ช่างปั้นดินเผา ช่างเครื่องหนัง (เช่น ทำเข็มขัด อานม้า รองเท้า กระเป๋าหนัง เป็นต้น อีกทั้งมีความรู้ทางว่านยาแผนโบราณ เก่งทั้งทางคาถาอาคม เชี่ยวชาญในการปราบผีทุกชนิด จนชาวบ้านตั้งฉายาว่า ?อาจารย์ดี ผีย่าน? (ย่าน คือ กลัว) อีกทั้งเทศนาโวหารก็เฉียบคม ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไปไกลมีลูกศิษย์ลูกหามาก

ในปี พ ศ ๒๔๖๙ มีเหตุการณ์สำคัญของพระอาจารย์ดี ที่ทำให้กองทัพธรรมสายของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น มีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับความศรัทธาอย่างสูง

  (http://www.ubonpra.com/uppic/?img=241295069309.gif)
พระอาจารย์เกิ่ง
 (http://www.ubonpra.com/uppic/?img=321295069344.jpg)
 พระอาจารย์สีลา
 
เหตุการณ์ที่ว่านี้เป็นเพราะพระเถระที่ชาวบ้านศรัทธามาก ๓ องค์ได้ขอญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ติดตามปฏิบัติธรรมไปกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้แก่ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร

ในปี พ ศ. ๒๔๖๙ หลวงปู่ใหญ่ และคณะพักจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านดงยาง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ศิษย์อาวุโสองค์อื่นๆ แยกพักจำพรรษาในที่ต่างๆ ส่วนพระอาจารย์มั่นออกเดินธุดงค์ไปที่ตำบลหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

 พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และ พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ทั้งสององค์ได้ยินกิตติศัพท์ทางธรรมของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ก็มีความสนใจ พอทราบว่าหลวงปู่มั่น มาพักที่บ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ สกลนคร พระอาจารย์เกิ่ง จึงได้ชวนพระอาจารย์สีลา พร้อมพระเณรถูกวัดไปฟังเทศน์และสนทนาไต่ถามปัญหาข้ออรรถธรรมที่สงสัยค้างคาใจต่างๆ พร้อมทั้งสังเกตข้อวัตรของหลวงปู่มั่นอย่างใกล้ชิด จนเกิดความอัศจรรย์ใจในข้ออรรถข้อธรรมและจริยาวัตรของท่าน ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส

พระอาจารย์เกิ่ง ได้นิมนต์หลวงปู่มั่น ให้ไปโปรดญาติโยมและพักจำพรรษาที่บ้านสามผง ถิ่นที่พำนักของท่าน พร้อมทั้งขอถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ปฏิบัติธรรมใกล้ชิด จนเกิดผลประจักษ์ทางใจอย่างที่ไม่เคยได้สัมผัสรับรู้มาก่อน

พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ในเวลานั้นอายุพรรษาถึง ๑๙ พรรษาแล้ว เป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนแถบลุ่มแม่น้ำสงคราม ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิชัย บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นเจ้าสำนักเรียนนักธรรมและบาลี และเป็นครูใหญ่ท่านแรกของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งตำบลสามผง ที่ตั้งอยู่ในวัดนี้ด้วย

ส่วนพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ท่านเป็นสหธรรมิกกับองค์แรก เป็นชาวสกลนคร อายุพรรษา ๑๗ พำนักอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย (คนละแห่งกับพระอาจารย์เกิ่ง) ตำบลวาใหญ่ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ในที่สุดพระอาจารย์เกิ่ง และ พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ได้ตัดสินใจสละตำแหน่งและลาภยศต่างๆ ทั้งหมด แล้วขอญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุต ในเดือน ๗ ปี พ.ศ. ๒๔๖๙  พร้อมกับลูกศิษย์พระเณรก็ขอญัตติตามหมดทั้งวัด จำนวนพระภิกษุสามเณรที่ญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุตที่บ้านสามผงในครั้งนั้นมีประมาณ ๒๐ รูป รวมทั้งสามเณรสิม วงศ์เข็มมา (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ เชียงดาว จ เชียงใหม่) ที่มาจากวัดศรีรัตนาราม บ้านบัว ต.สว่าง อ พรรณานิคม จ สกลนครด้วย

ส่วนพระอาจารย์ดี ในปีนั้นท่านได้ดั้นด้นบุกป่าดงออกเสาะหาของดีของขลังมาถึงบ้านสามผง ได้รู้กิตติศัพท์เกี่ยวกับหลวงปู่มั่น จึงเข้าไปกราบขอฟังธรรมและปฏิบัติธรรมด้วย จนประจักษ์ผลทางใจอย่างน่าอัศจรรย์ ในที่สุดก็ขอสละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านกุดแห่ หรือ วัดศรีบุญเรือง ท่าแขก ที่โด่งดังในสมัยนั้น และได้ออกธุดงค์ติดตามคณะกองทัพธรรม ไป จนได้ญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ที่วัดสร่างโศก หรือวัดศรีธรรมาราม จังหวัดยโสธร ในปัจจุบัน และเป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่เสาร์จนถึงวาระสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่ท่าน

ในพรรษานั้นจึงเป็น การประกาศธรรมชนิดพลิกแผ่นดินที่บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ทำให้ชื่อเสียงของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมทั้งกิตติศัพท์ของกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ลือเลื่องกระเดื่องไกล เป็นที่อัศจรรย์ร่ำลือของผู้คนในแถบนั้น ถึงกับว่า หลวงปู่ทั้งสององค์ เป็นพระผู้วิเศษที่ทำให้พระดังถึงสามองค์ยินยอมถวายตัวเป็นศิษย์ได้

หลังจากนั้น พระอาจารย์ดี ก็ได้เป็นกำลังสำคัญช่วยเผยแผ่ธรรมปฏิบัติในกองทัพธรรมพระกรรมฐานตลอดภาคอิสาน รวมถึงฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอีกด้วย

ออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์มั่นก็ได้พาคณะเดินทางมาที่บ้านโนนแดง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอยู่ในกิ่งอำเภอนาหว้า) จังหวัดนครพนม พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรประมาณ ๗๐ รูป และ ได้มีการประชุมหารือกันในเรื่องที่จะไปเผยแพร่ธรรมและไปโปรดเทศนาญาติโยมที่เมืองอุบล และได้วางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติ เกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต เพื่อให้คณะศิษย์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน จากนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นก็ได้ปรารภเรื่องจะนำโยมมารดาท่านซึ่งบวชเป็นชี ไปส่งมอบให้น้องสาวท่านที่จังหวัดอุบลช่วยดูแล เพราะท่านเห็นโยมแม่ท่านชรามาก อายุ ๗๘ ปีแล้ว เกินความสามารถท่านผู้เป็นพระจะปฏิบัติได้แล้ว พระอาจารย์สิงห์ อาจารย์มหาปิ่น ต่างก็รับรองเอาโยมแม่ท่านไปส่งด้วย เพราะโยมแม่ของพระอาจารย์แก่มากหมดกำลัง ต้องไปด้วยเกวียนจึงจะไปถึงเมืองอุบล ฯ ได้

หลังจากที่พระอาจารย์ดีได้เข้ารับฟังธรรมและได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่นอยู่ระยะหนึ่งแล้วก็ได้กลับไปอยู่ที่วัดกุดแห่ ที่เป็นบ้านเกิดดังเดิม และได้อบรมธรรมปฏิบัติให้กับชาวบ้านกุดแห่แต่ก็ได้เกิดปัญหาบางประการขึ้นคือ เมื่อท่านได้สอนธรรมข้อปฏิบัติให้ญาติโยมทั้งหลายไปแล้ว แต่ญาติโยมบางคนเมื่อปฏิบัติแล้วได้เกิดวิปัสสนูกิเลส มีอันเป็นไปต่าง ๆ บางพวกออกจากการภาวนาเดินไปถึงสี่แยก เกิดเข้าใจเอาว่าเป็นทางเดินของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตเจ้า พวกนี้จะพากันคุกเข่ากราบไหว้อยู่ที่นั่นเป็นเวลานานจึงได้ลุกเดินไปบ้าง พอไปถึงสี่แยกหน้าก็เข้าใจผิด และปฏิบัติเช่นนี้อีกเรื่อย ๆ บางคนลุกจากภาวนาได้ ก็ถอดผ้านุ่งผ้าห่มออกจนหมด เดินฝ่าญาติโยมที่นั่งภาวนาอยู่ด้วยกัน จนเกิดโกลาหลกันยกใหญ่ มีญาติโยมบางคนกราบไหว้พระอาจารย์ดี ให้ท่านช่วยไปแก้ไขให้ ท่านก็มิรู้จะแก้ได้อย่างไร เป็นเหตุให้กระวนกระวายใจมาเกือบปีแล้ว

เผอิญในช่วงนั้นเป็นช่วงที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ซึ่งได้ออกติดตามท่านพระอาจารย์มั่นไปส่งโยมมารดาท่านพระอาจารย์มั่นกลับเมืองอุบล ได้เดินทางมาเยี่ยมพระอาจารย์ดี ฉนฺโนที่บ้านกุดแห่ เมื่อไปถึงพระอาจารย์ดี ก็ได้ต้อนรับขับสู้พระอาจารย์ฝั้นอย่างแข็งขัน จากการถามทุกข์สุข พระอาจารย์ดีได้แสดงความวิตกกังวลต่อพระอาจารย์ฝั้นเรื่องที่ชาวบ้านเกิดปัญหาในการปฏิบัติธรรมที่กล่าวข้างต้น จึงขอความกรุณาให้พระอาจารย์ฝั้นช่วยแก้ไขให้ด้วย พระอาจารย์ฝั้นตรองหาทางแก้ไขอยู่ไม่นานนักก็รับปาก พระอาจารย์ดีจึงให้เณรเข้าไปป่าวร้องในหมู่บ้าน ให้บรรดาญาติโยมไปฟังธรรมโอวาทของพระอาจารย์ฝั้นที่วัดในตอนค่ำ

ถึงเวลานัด ญาติโยมทั้งหลายก็หลั่งไหลเข้าไปในวัด เริ่มแรก พระอาจารย์ฝั้นให้ญาติโยมเหล่านั้นยึดพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง เมื่อบูชาคุณพระรัตนตรัยแล้ว ท่านได้เริ่มเทศนาให้รู้จักแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง เมื่อญาติโยมเข้าใจวิธีแก้แล้ว ท่านจึงนำเข้าที่ภาวนา เมื่อเห็นผู้ใดกำหนดจิตไม่ถูกต้อง ท่านก็เตือน ขณะเดียวกันท่านก็กำหนดจิตติดตามกำกับจิตของญาติโยมเหล่านั้นไปเรื่อย ๆ ญาติโยมที่เคยกำหนดจิตหลงทาง ต่างก็กลับมาเดินถูกทางไปทั้งหมด พอเลิกจากการภาวนา ต่างก็สาธุการ และแซ่ซ้องยินดีโดยทั่วกัน พากันกราบไหว้เคารพว่า ท่านอาจารย์ช่างเข้าใจวิธีแก้ได้เก่งมาก หากไม่ได้ท่าน พวกเขาอาจถึงกับเสียจริตไปก็ได้

พระอาจารย์ฝั้นได้นำพวกญาติโยมภาวนาติดต่อกันไปถึง ๔ ? ๕ คืน เมื่อเห็นว่าต่างก็เดินถูกทางกันแล้ว ท่านก็กลับมากราบเรียนพระอาจารย์มั่นที่บ้านหนองขอน ให้ทราบเรื่องราวที่ได้ปฏิบัติไป

ในครั้งนั้น เมื่อท่านพระอาจารย์ดีทราบข่าวว่า พระอาจารย์มั่นกำลังเดินทางสู่จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อส่งโยมมารดาท่านกลับบ้านเกิด และอยู่โปรดชาวจังหวัดอุบลในแถบนั้น ก็ได้เดินทางตามพระอาจารย์มั่นมา และได้อยู่ที่จังหวัดอุบล จนกระทั่งออกพรรษาแล้วประมาณเดือน ๓ หรือเดือน ๔ ท่านพระอาจารย์มั่นก็ได้ออกเดินทางต่อไปยังกรุงเทพฯ กับเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ จำพรรษาที่วัดสระปทุม และออกพรรษาแล้ว ก็ได้ติดตามพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ไปจำพรรษายังจังหวัดเชียงใหม่ โดยก่อนจะไปกรุงเทพฯ ท่านพระอาจารย์มั่นก้ได้เรียกประชุมคณะศิษยานุศิษย์แล้วได้มอบหมายให้อำนาจ หลวงปู่สิงห์และท่านมหาปิ่น เป็นผู้บริหารปกครองแนะนำพร่ำสอนตามแนวทางที่ท่านได้แนะนำมาแล้วต่อไป



หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 15 มกราคม 2554, 12:30:23
ติดตามหลวงปู่สิงห์ไปจังหวัดขอนแก่น

 (http://www.ubonpra.com/uppic/?img=31295069411.jpg)
หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
 
ในพ.ศ. ๒๔๗๑ ระหว่างนี้หลวงปู่สิงห์และพระมหาปิ่น กับพระภิกษุสามเณรรวมกันถึง ๘๐ รูป ก็ได้เดินทางเที่ยววิเวกไปในสถานที่ต่างๆ ก็ได้เที่ยวเทศนาอบรมศีลธรรมประชาชนโดยการขอร้องของ เจ้าเมืองอุบลฯ เมื่อจวนเข้าพรรษาได้ไปพักจำพรรษาอยู่วัดบ้านหัวงัว อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นบ้านญาติท่าน

ในช่วงที่หลวงปู่สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่นอยู่ที่บ้านหัวงัว ท่านก็ได้ทราบข่าวจาก เจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น เจ้าอาวาสวัดศรีจันทราวาส ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นญาติของท่านด้วย ว่าทางขอนแก่นมีเหตุการณ์ไม่สู้ดี ขณะนั้นพระอาจารย์ฝั้นซึ่งจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์ ที่หนองน่อง บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนมก็ได้มากราบนมัสการและได้ร่วมปรึกษาหารือกับหลวงปู่สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่นในเรื่องดังกล่าว และเห็นควรลงไปช่วยพระครูพิศาลอรัญเขต (จันทร์ เขมิโย) เมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันออกเดินทาง โดยกำหนดให้ไปพบกันก่อนเข้าพรรษาที่ที่วัดเหล่างา ขอนแก่น

เหตุการณ์ไม่สู้ดีที่ขอนแก่น

ที่เมืองขอนแก่น นั้นคณะหลวงปู่สิงห์และพระมหาปิ่นได้พบว่าเหตุการณ์ก็ไม่สู้ดี ตามที่พระครูพิศาลอรัญเขตว่าไว้ ดังที่ปรากฏในหนังสือ อัตโนประวัติหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ซึ่งในสมัยนั้นท่านได้ร่วมอยู่ในคณะด้วย ท่านได้เขียนไว้ว่า

?ข้าได้พักอยู่กับพระอาจารย์สิงห์ ฟังเสียงพวกโยนคนเมืองขอนแก่น ไม่เคยเห็นพระกรรมฐาน ตื่นเต้นกล่าวร้ายติเตียนกันไปสารพัดต่างๆ นานา มิใช่ เขาตื่นเต้นไปทางกลัวทางเสื่อมใส ดังพวกชาวเมืองราชคฤห์ ตื่นเต้นคราวได้เห็นพระพุทธเจ้าออกบรรพชาใหม่ไปเที่ยวบิณฑบาตนั้น

เมืองขอนแก่นพากันตื่นเต้นอย่างเห็นพระกรรมฐานเป็นสัตว์ เรียกพวกพระกรรมฐานว่า ?พวกบักเหลือง? คำว่า ?บักเหลือง? นี้เขาว่าพระกรรมฐานทั้งหลายเป็นงูจงอาง อีหล้าคางเหลือง

ฉะนั้นจึงมีคนเขาออกมาดูพวกพระกรรมฐาน เขาจำต้องมีมือ ถือไม้ค้อนกันมาแทบทุกคน เมื่อมาถึงหมู่พวกข้าแล้ว ถือค้อนเดินไปมาเที่ยวดูพระเณรที่พากันพักอยู่ตามร่มไม้และร้านที่เอากิ่งไม้ แอ้ม และมุงนั้นไปๆ มาๆ แล้วก็ยืนเอาไม้ค้อนค้ำเอว ยืนดูกันอยู่ก็มีพอควร แล้วก็พากันกลับบ้าน เสียงร้องว่าเห็นแล้วละพวกบักเหลือง พวกอีหล้าคางเหลือง พวกมันมาแห่น (แทะ) หัวผีหล่อน (กะโหลก) อยู่ป่าช้าโคกเหล่างา มันเป็นพวกแม่แล้ง ไปอยู่ที่ไหนฝนฟ้าไม่ตกเลยจงให้มันพากันหนี ถ้าพวกบักเหลืองไม่หนีภายในสามสี่วันนี้ ต้องได้ถูกเหง้าไม้ไผ่ค้อนไม้สะแกไปฟาดหัวมันดังนี้ไปต่างๆ นานา จากนี้ไปก็มีเขียนหนังสือปักฉลากบอกให้หนี ถ้าไม่หนีก็จะเอาลูกทองแดงมายิงบูชาละ ดังนี้เป็นต้น

ไปบิณฑบาตไม่มีใครยินดีใส่บาตรให้ฉัน จนพระอาจารย์สิงห์ภาวนาคาถาอุณหัสสวิชัย ว่าแรงๆ ไปเลยว่า ตาบอดๆ หูหนวกๆ ปากกืก ๆ (ใบ้) ไปตามทางบิณฑบาตนั้นแหละ

ทั้งมีแยกกันไปบิณฑบาต ตามตรอกตามบันไดเรือนไปเลย จึงพอได้ฉันบ้าง ทั้งพระอาจารย์ก็มีการประชุมลูกศิษย์วันสองวันต่อครั้งก็มี

ท่านให้โอวาทแก่พวกลูกศิษย์ได้มีความอบอุ่นใจไม่ให้มีความหวาดกลัวอยู่เสมอ แต่ตัวข้าก็ได้อาศัยพิจารณากำหนดจิตตั้งอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ นี้อยู่เรื่อยไป?

แยกย้ายกันไปตั้งวัดใหม่

ที่วัดเหล่างา (ปัจจุบันคือวัดวิเวกธรรม) พระปฏิบัติสัทธรรมชุดนี้ ได้ประชุมตกลงให้แยกย้ายกันไปตั้งเป็นสำนักสงฆ์วัดป่าฝ่ายอรัญวาสีขึ้นหลายแห่งในจังหวัดขอนแก่น เพื่อเผยแผ่ธรรม เทศนาสั่งสอนประชาชนให้ละมิจฉาทิฏฐิ เลิกจากการเคารพนับถือภูตผีปีศาจ และให้ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์ โดย ได้แยกกันอยู่จำพรรษาตามสำนักสงฆ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

๑. หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์หลุย อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าวิเวกธรรม ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

๒. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านพระคือ อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

๓. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านผือ ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

๔. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าชัยวัน บ้านสีฐาน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

๕. พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านคำไฮ ตำบลเมืองเก่า อำเภอพระลับ จังหวัด ขอนแก่น

๖. พระอาจารย์อุ่น พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านทุ่ง อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

๗. พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านโคกโจด อำเภอพระ ลับ จังหวัดขอนแก่น

๘. พระอาจารย์ซามา อุจุตฺโต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านยางคำจังหวัดขอนแก่น

๙. พระอาจารย์นิน อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านพร้อมด้วยเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และพระอุปัชฌาย์ในท้องที่ อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น ออกเทศนาสั่งสอนประชาชนให้ละมิจฉาทิฐิ เลิกจากการถือภูตผีปีศาจ ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ทุกปีตลอดมาทั้ง ๓ ปี

ฉันข้าวเหนียวจิ้มน้ำเปล่า

หลวงพ่อชาได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับพระอาจารย์ดี ไว้ในเทศน์ของท่าน ตอนหนึ่งว่า

อาจารย์ดีที่เป็นคู่กับอาจารย์ทองรัต เป็นพระกรรมฐานรุ่นกลางไม่ใช่รุ่นแรก ที่เป็นศิษย์อาจารย์มั่น ภูริทัตโต เที่ยวบิณฑบาตไปฉันตามบ้านป่า บางทีบางบ้านก็ไม่รู้เรื่องเลย พระไปบิณฑบาตก็ใส่แต่ข้าว จะเอาอาหารใส่บาตรหรือ ก็ไม่เคยทำกัน บางแห่งก็ว่า พระกรรมฐานท่านฉันแต่หวาน อย่างอื่นท่านไม่ฉันหรอก พอไปบิณฑบาตตามบ้านเขาก็เอาข้าวเปล่าใส่เท่านั้นแหละ พระจะไปบอกให้เขาเอาอาหารใส่บาตรก็ไม่ได้ เป็นอาบัติ

บางทีพระไปพักอยู่เป็นเดือนๆ เขาก็ยังไม่เข้าใจ ทีนี้ท่านอาจารย์ดีท่านไปบิณฑบาตในบ้านที่ยังไม่เคยไป โยมก็ใส่แต่ข้าว ตอนฉันจังหันเขาก็ตามไป ท่านก็ฉันจังหันอยู่อย่างนั้นแหละฉันแต่ข้าวเปล่าๆ เพราะของมันอยู่ในบาตร โยมเขาก็มองไม่เห็น เห็นพระเอามือล้วงลงไป ท่านก็เอาขึ้นมาฉันสบายๆ ก็นึกว่าอาหารท่านเยอะแยะแล้ว ท่านอาจารย์ดีท่านฉันข้าวเปล่าๆอยู่ ๗ วัน ท่านก็คิดว่า "จะทำอย่างไรดีหนอ" พระกรรมฐานนี่ท่านก็มีปัญญาพอสมควรเหมือนกันนะ

วันหนึ่งท่านก็เอาฝาบาตรหงายขึ้น จับเอากาน้ำมารินใส่มีแต่น้ำเท่านั้นแหละ โยมก็ตามมานั่งอยู่ จะมาฟังธรรม ท่านก็เอาข้าวเหนียวมาปั้นแล้วก็จิ้มกับน้ำในฝาบาตรที่รินมาจากกาน้ำนั่นแหละ ท่านก็ฉันข้าวไป โยมเขาก็มองท่าน ท่านก็ฉันของท่านไปเรื่อยๆ

โยมสงสัยก็ถาม "เอ้า หลวงพ่อทำไมฉันอย่างนั้นเล่า ทำไมฉันข้าวกับน้ำ"

ท่านก็ว่า "มันมีอย่างนี้ก็ฉันอย่างนี้"

โยมก็ว่า "ฉันพริก ฉันปลาร้า ไม่ได้หรือ"

"ถ้ามันมี ก็ได้" ท่านอาจารย์ตอบ

โอ้โฮ มันช่างเพราะเหลือเกินนะ ท่านเอาข้าวในบาตรนั้นมาจิ้มน้ำเปล่าอยู่นั่นแหละ นี่คือจะสอน เอากันถึงขนาดนั้น ทีนี้เขารู้แล้วก็ว่า โอ...เราบาปแล้วให้พระฉันข้าวกับน้ำเปล่าๆ อยู่ถึง ๑๕ วัน แล้วนี่ความไม่รู้เรื่องเป็นอย่างนี้ คนที่ไม่รู้เรื่องมันสอนยากสอนลำบาก

รับศิษย์

พ.ศ. ๒๔๗๖ - ๒๔๗๘ พระอาจารย์ดี จำพรรษาอยู่ที่ วัดป่าศิลาวิเวก อ.เมือง จ.มุกดาหาร และในช่วงนี้ก็ได้รับศิษย์ คือ พระอาจารย์ถิร ฐิตธมฺโม ซึ่งมาเป็นศิษย์ของท่านตั้งแต่เป็นสามเณร อายุ ๑๘ ปี และได้รับการอบรมวิธีการบำเพ็ญเพียรภาวนา สมาธิ และกัมมัฏฐาน จากพระอาจารย์ดี มาโดยตลอด จนกระทั่งบวชเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์



หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 15 มกราคม 2554, 12:34:41

(http://www.ubonpra.com/uppic/?img=241295069568.jpg)
ถวายตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่เสาร์

พระอาจารย์ดี ได้มีโอกาสกราบและถวายตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล จนกระทั่งได้ออกธุดงค์ติดตามตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๗๙ ไปจนตลอดอายุขัยของหลวงปู่ใหญ่

พระอาจารย์ดี ได้ติดตาม หลวงปู่ใหญ่ ไปจังหวัดอุบลราชธานีและไปพำนักอยู่กับท่านที่บ้านข่าโคม บ้านเกิดของหลวงปู่ใหญ่ ต่อมาได้ธุดงค์ไปที่อำเภอพิบูลมังสาหาร มีญาติโยมศรัทธาถวายที่ดินให้หลวงปู่ใหญ่สร้างวัดกรรมฐานขึ้น ชื่อวัดภูเขาแก้ว

ที่อำเภอพิบูลมังสาหาร หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พาคณะมาพำนักที่วัดภูเขาแก้ว แต่เดิม คือ ป่าช้าภูดิน ตั้งอยู่บนเนินสูงก่อนเข้าสู่ตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร

ประวัติการก่อตั้งวัดภูเขาแก้วนั้น มีอยู่ว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ได้ขอร้องให้หลวงปู่ใหญ่ พิจารณาหาหนทางสร้างวัดป่ากรรมฐานขึ้นที่อำเภอพิบูลมังสาหาร ด้วยปรากฏว่าญาติพี่น้องของสมเด็จฯ ได้อพยพมาจากบ้านแคน ดอนมดแดง มาปักหลักตั้งถิ่นฐานที่บ้านโพธิ์ตาก อ.พิบูลมังสาหาร เป็นจำนวนมาก

สมเด็จฯ ท่านอยากให้มีวัดกรรมฐาน เพื่อช่วยอบรมสั่งสอนทางธรรมให้ญาติโยมของท่าน ?ได้รับแสงสว่างหายมืดหายบอด? และเพื่อโปรดญาติโยมชาวบ้านทั้งหลายให้มีสถานที่บำเพ็ญบุญ เป็นศูนย์รวมปฏิบัติธรรมอบรมภาวนาจิต จึงบัญชาให้พระอาจารย์เสงี่ยม และพระอาจารย์ดี ฉนฺโน มาตั้งสำนักปฏิบัติธรรมในสถานที่ดังกล่าว โดยสมเด็จฯ ได้ให้ความสนับสนุน

ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่นี้ว่า วัดป่า หรือวัดป่าภูเขาแก้วหรือ วัดภูเขาแก้ว ในปัจจุบัน

ข้อมูลอีกกระแสหนึ่งกล่าวว่า ขุนสิริสมานการ กับนายคำกาฬ เป็นผู้มานิมนต์ หลวงปู่ใหญ่ ท่านจึงได้ให้พระอาจารย์เสงี่ยม และพระอาจารย์ดี ฉนฺโน มาตั้งสำนักปฏิบัติธรรม ที่เนินป่าภูดิน นอกเมืองพิบูลมังสาหาร ซึ่งเล่ากันว่าเป็นที่อาถรรพณ์ร้ายแรง เพียงคืนแรกที่ไปปักกลดอยู่ใต้ร่มไม้ พระอาจารย์ทั้งสองก็โดนลองดีเสียแล้ว

กล่าวกันต่อมาว่า พระอาจารย์ทั้งสองได้นำพาชาวบ้านญาติโยมละแวกนั้น ทำบุญทำทาน รักษาศีล ปฏิบัติสมาธิภาวนา และทำบุญอุทิศแก่บรรพชนผู้ล่วงลับ เจ้าที่เจ้าทาง และเทพเทวดาอารักษ์ การสร้างวัดจึงดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

ประกอบกับการสนับสนุนของเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ด้วย วัดจึงมีความเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ

เจ้าอาวาสองค์แรกคือ พระอาจารย์ดี ฉนฺโนต่อมาหลวงพ่อเพชรเป็นองค์ที่สอง และหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค (พระครูวิบูลธรรมภาณ) เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน และเจ้าคณะอำเภอพิบูลมังสาหารฝ่ายธรรมยุต

หลวงปู่ใหญ่ มอบให้พระอาจารย์ดี เป็นเจ้าอาวาสวัดภูเขาแก้ว แล้วท่านไปสร้างวัดใหม่บนเกาะกลางลำแม่น้ำมูลชื่อ วัดดอนธาตุ และพำนักอยู่ที่วัดแห่งนี้เป็นวัดสุดท้ายในชีวิตของท่าน

พระอาจารย์เสาร์สร้างวัดดอนธาตุ

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้รับนิมนต์จากแม่ชีผุย โกศัลวิตร ไปในงานฉลองศาลาวัดภูเขาแก้ว ที่คณะศรัทธาชาวเมืองพิบูลมังสาหารสร้างถวาย

หลังจากงานฉลองศาลา ๔-๕ วัน หลวงปู่ใหญ่ ได้ปรารภกับลูกศิษย์ว่า... อันว่าลำน้ำมูลตอนใต้เมืองพิบูลฯนี้ องค์ท่านยังไม่เคยไปตามเกาะแก่งน้อยใหญ่ทั้งหลายนั้น จะมีผู้ใดอาสาพาไปสำรวจดูบ้าง

ก็มีลูกศิษย์ฝ่ายฆราวาสผู้ขันอาสา ได้แก่ ขุนสิริสมานการ (อดีตนายอำเภอพิบูลมังสาหาร) พ่อใหญ่อาจารย์บับ, พ่อใหญ่ครูคำดี, พ่อใหญ่พุทธา เป็นต้น

เมื่อถึงวันออกเดินทาง คณะศิษย์ได้จัดเตรียมเรือไว้หลายลำคอยอยู่ที่ท่าน้ำใต้แก่งสะพือลงไป

ตอนเช้าหลังฉันจังหันเสร็จแล้ว ได้ออกเดินทาง หลวงปู่ใหญ่นั่งรถสามล้อถีบซึ่งมารออยู่แล้ว

คณะพระเณรที่ไปด้วย มี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พระอาจารย์กงแก้ว พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส, พระอาจารย์บุญเพ็ง นารโท, สามเณรหงส์ทอง, สามเณรคำผาย และสามเณรปุ่น เป็นต้น พากันเดินตามสามล้อหลวงปู่ใหญ่ไปลงเรือที่รอรับอยู่ ๔-๕ ลำ มีทั้งเรือแจว และเรือพาย

กองเรือได้ออกจากท่า ล่องตามลำน้ำมูลไปทางทิศตะวันออกผ่านบ้านแก่งเจริญ บ้านหินสง บ้านหินลาด บ้านไก่เขี่ย บ้านชาด ถึงดอนคับพวง แวะขึ้นไปเดินสำรวจดู

แล้วต่อไปยังดอนธาตุ ดอนตากไฮ ดอนเลี้ยว จนตะวันบ่ายคล้อยราว ๔-๕ โมงเย็น ท้องฟ้าเริ่มมืดครึ้ม ฝนเริ่มตั้งเค้า จึงได้จอดเรือ แล้วขนบาตรขนบริขารขึ้นไปพักที่ศาลาท่าน้ำวัดบ้านหัวดอนของอุปัชฌาย์รัตน์

เย็นนั้นลมฝนพัดกรรโชกแรงอื้ออึง จึงได้พากันเคลื่อนย้ายไปขอพักยังศาลาวัดบ้านหัวดอนที่อยู่ใกล้กันนั้น

ตอนนั้น อุปัชฌาย์รัตน์ เจ้าอาวาสไม่อยู่ พระลูกวัดนิมนต์หลวงปู่ใหญ่ และคณะไปพักที่ศาลาการเปรียญ แล้วส่งข่าวให้ผู้ใหญ่บ้านหัวดอน บ้านทรายมูล และชาวบ้านละแวกนั้นทราบ

พอถึงค่ำ ผู้ใหญ่บ้าน และบรรดาลูกบ้านต่างก็พากันมากราบหลวงปู่ใหญ่ เป็นจำนวนมาก ในฐานะที่หลวงปู่ใหญ่เป็นพระอาจารย์ของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ซึ่งเป็นพระที่ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาอยู่แล้ว

หลวงปู่ใหญ่ พาคณะชาวบ้านสวดมนต์ไหว้พระ รับศีล แล้วให้พระอาจารย์ดี แสดงธรรมโปรดชาวบ้านจนดึกดื่น เป็นที่ซาบซึ้งและสร้างความศรัทธาให้ชาวบ้านมาก

เมื่อชาวบ้านทราบเรื่องราวและกิตติศัพท์ในทางธรรมของหลวงปู่ใหญ่ และคณะพระกรรมฐาน จึงได้พากันอาราธนานิมนต์ให้อยู่เผยแพร่ธรรมโปรดศรัทธาชาวบ้านในถิ่นแถบนั้น

รุ่งเช้าหลวงปู่ใหญ่ได้พาพระเณรออกบิณฑบาตในหมู่บ้านชาวบ้านหัวดอน และบ้านทรายมูลได้พากันมาถวายจังหันเป็นจำนวนมาก

พอฉันจังหันแล้ว หลวงปู่ใหญ่ บอกพระเณรและชาวบ้านว่าท่านพิจารณาแล้ว อยากเลือกดอนธาตุให้เป็นที่ตั้งวัด

เมื่อหลวงปู่ใหญ่ปรารภว่าอยากสร้างดอนธาตุขึ้นเป็นวัดกรรมฐานเพราะมีความเหมาะสม ญาติโยมต่างโมทนาสาธุการ แล้วผู้ใหญ่บ้านพร้อมทั้งประชาชนต่างยินยอมพร้อมใจยกที่ดินบริเวณเกาะดอนธาตุถวายให้ท่านนำพาสร้างวัดต่อไป

พ่อใหญ่จอม พันธ์น้อย ได้ถวายบ้านเก่าหนึ่งหลัง พ่อใหญ่หมาจุ้ย ผลสิทธิ์ (ภายหลังหลวงปู่ใหญ่เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า พ่อมงคล)ถวายบ้านหนึ่งหลัง และชาวบ้านอีกหลายคนก็ร่วมถวาย จึงได้บ้านเก่าหลายหลัง แล้วชาวบ้านได้พากันมาปลูกสร้างกุฏิสงฆ์ขึ้นได้หลายหลัง

พอถึงเทศกาลมาฆบูชา ชาวบ้านได้ช่วยกันขนหินทรายมาก่อเจดีย์ทรายถวายวัด ต่อมาหินทรายกองนั้นได้ถูกนำมาใช้สร้างพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) โดยมี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นช่างปั้นพระพุทธรูปในครั้งนี้

หลวงพ่อโชติ ได้บันทึกการสร้างพระพุทธไสยาสน์ว่า ท่านพระอาจารย์คำผาย (วัดป่าชีทวน) เล่าให้ฟังว่า สมัยนั้นท่านยังเป็นสามเณรอยู่ เมื่อได้วัสดุก่อสร้างมาพร้อมแล้ว พระอาจารย์ใหญ่ท่านกำหนดเอาตรงลานที่ใช้เป็นศาลาชั่วคราวเป็นที่สร้างพระ แม้จะได้มีการคัดค้านจากลูกศิษย์ลูกหา ว่ามันใกล้ตลิ่งแม่น้ำมาก กลัวว่าต่อไปน้ำจะเซาะตลิ่งพังมาถึงเร็ว แต่องค์ท่านไม่ยอม โดยให้เหตุผลว่า

ตรงที่กำหนดจะสร้างพระนั่นแหละเป็นพระธาตุอังคาร (ธาตุเถ้าฝุ่นพระบรมศาสดา) แต่เดิมที่ทรุดลงไป ซึ่งพังทลายแล้วอย่างไม่เหลือซาก จึงได้ให้สร้างพระพุทธไสยาสน์ครอบเอาไว้เป็นสัญลักษณ์สำหรับกราบไหว้ต่อไป

เมื่อเป็นความประสงค์ขององค์ท่านเช่นนั้นจึงไม่มีใครคัดค้านอีก?

ตลิ่งริมฝั่งแม่น้ำมูลตรงที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ก็ยังสมบูรณ์ดีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ ไม่เห็นน้ำกัดเซาะตลิ่งพังตามที่ลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านวิตกกันเลย

กล่าวหาพระพุทธรูปนอนขวางฟ้าขวางฝน

เมื่อการสร้างพระพุทธไสยาสน์ที่วัดดอนธาตุเสร็จแล้ว เป็นเวลาใกล้จะเข้าพรรษา หลวงปู่ใหญ่เดินทางกลับไปที่วัดบูรพาราม ในเมืองอุบลฯ แล้วกลับไปจำพรรษาที่บ้านข่าโคมอีกครั้งหนึ่ง

พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมพระเณรที่เหลือ กลับไปจำพรรษาที่วัดภูเขาแก้ว ในตัวอำเภอพิบูลมังสาหารวัดเดิมของท่าน

ในปีนั้นเกิดดินฟ้าอากาศแปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตกต้องฤดูกาลก่อให้เกิดความแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง ประชาชนชาวไร่ชาวนาต่างเดือดร้อนกันมาก

ฝ่ายพระอุปัชฌาย์พรหมา และบรรดาพวกมิจฉาทิฏฐิได้ฉวยโอกาสกล่าวร้ายโจมตีหลวงปู่ใหญ่ และบรรดาศิษย์กรรมฐานของท่าน ว่า

?ที่เกิดฝนแล้งก็เพราะพระอาจารย์เสาร์มาสร้างพระนอนที่ดอนธาตุนี้แหละ พระนอนขวางฟ้าขวางฝนอยู่ทำให้ฝนไม่ตก...?

ประชาชนบางส่วนหลงเชื่อ จึงได้พากันยกพวกไปที่ดอนธาตุเพื่อทำลายพระพุทธรูป แต่คงไม่กล้าทำลายองค์พระทั้งหมด เพียงแต่มีผู้ขึ้นไปทุบจมูกพระให้เสียหาย เอาเป็นเคล็ดว่าทำลายพระพุทธรูปที่นอนขวางฟ้าขวางฝนเรียบร้อยแล้ว ต่อไปฝนคงจะตกตามปกติ

ทว่า...ฝนฟ้าหาได้ตกตามที่ผู้นำกลุ่มได้บอกไว้ไม่ บางคนเกิดความสำนึกเสียใจ และกลัวบาปจากความโฉดเขลาเบาปัญญาของพวกเขาในครั้งนั้น

คำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า ?กมฺมุนา วตตี โลโก - สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม? บุคคลทำกรรมใดไว้ ผลกรรมย่อมตามสนองไม่ช้าก็เร็ว !

เหตุการณ์ในครั้งนั้นต่างประจักษ์แก่ชาวบ้านในละแวกตำบลระเว ตำบลทรายมูล ตำบลคันไร่ เรื่อยมาถึงตัวอำเภอพิบูลมังสาหารเป็นอย่างดี

คือ หลังจากนั้นไม่กี่วันก็มีข่าวว่า พระอุปัชฌาย์พรหมาไหลตาย

ลูกศิษย์ลูกหาเห็นท่านตื่นสายผิดสังเกต ได้พังประตูกุฏิเข้าไปดูปรากฏว่าท่านมรณภาพนอนตัวแข็งทื่อไปแล้ว

บันทึกของหลวงพ่อโชติ เขียนไว้ว่า ?นอกจากอุปัชฌาย์พรหมา บ้านระเวแล้ว ยังมีคนบ้านคันไร่อีกคนหนึ่งนอนไหลตายเช่นกัน และได้ข่าวว่าคนที่ไปทุบจมูกพระนอนนั้นโดนยิงตายใกล้ควายที่ถูกใครก็ไม่ทราบไปขโมยมาฆ่าชำแหละเนื้อ !?

ในหนังสืออาจารย์พิศิษฐ์ เขียนว่า ?...ส่วนผู้ที่ทุบจมูกพระพุทธไสยาสน์นั้น ก็โดนฟ้าผ่าตายทั้งนี้ไม่มีเค้าว่าฝนจะตก...?

สรุปว่า กรรมตามสนองทันตาเห็น !

ย้อนหลังไปก่อนการมรณภาพของท่านพระอุปัชฌาย์ไปประมาณ ๑ เดือน หลวงปู่ใหญ่ จะเพิ่งให้ลูกศิษย์ได้ยินเสมอๆ ว่า : -

?สงสารอุปัชฌาย์พรหมาแท้เด๊ !?


(http://www.ubonpra.com/uppic/?img=231295069633.jpg)
สมโภชพระพุทธไสยาสน์

 
พระพุทธไสยาสน์ที่พระอาจารย์เสาร์ให้สร้างไว้
 
พอออกพรรษาปวารณาในปีนั้นแล้ว หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลพร้อมด้วยคณะศิษย์ ประกอบด้วยพระ เณร ชี อุบาสกอุบาสิกา และผู้ติดตามจำนวนมากจากบ้านข่าโคม สมทบกับคณะของท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน จากวัดภูเขาแก้ว ก็ได้เดินทางกลับมาที่เกาะดอนธาตุ เพื่อประกอบพิธีทำบุญสมโภชพระพุทธไสยาสน์ที่ได้สร้างไว้

ครั้งแรกที่ทุกคนย่างเหยียบขึ้นไปบนเกาะ เห็นพระนอนโดนทุบจมูกทิ้ง ต่างก็รู้สึกสลดหดหู่ใจ ทำไมหนอเขาจึงสามารถกระทำเช่นนั้น ได้

นรกแท้ๆ !

พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ผู้ปั้นได้พูดขึ้นว่า ?โอ๊ย ! พระนอนไปเฮ็ดอีหยังให้เขา ย่านเขาบาปหลายเด้?

หลวงปู่ใหญ่ ท่านดูสงบเย็นเป็นปกติ หัวเราะในลำคอ หึ ! หึ ! แล้วพูดยิ้มๆ ว่า ?เห็นบ่ อาจารย์ดีเพิ่นเฮ็ดบ่งาม เขาจึงมาทุบถิ่ม คั่นว่าแปงใหม่งามแล้ว สิบ่มีไผมาทุบถิ่มดอก?

(เห็นไหม อาจารย์ดี ทำพระไม่สวยเขาจึงมาทุบทิ้ง ถ้าทำใหม่สวยงามแล้ว คงไม่มีใครมาทุบทิ้งหรอก)

พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้ทำการโบกปูนปั้นเสริมเติมต่อจนพระสมบูรณ์งดงามดังเดิม เสร็จแล้วจึงได้จัดพิธีสมโภชขึ้น โดยหลวงปู่ใหญ่นั่งปรกเป็นองค์ประธาน นำคณะสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์มีการแสดงธรรมและปฏิบัติสมาธิภาวนา

พระพุทธไสยาสน์ที่วัดดอนธาตุจึงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ให้ประชาชนได้กราบไหว้ขอพรมาจนทุกวันนี้



หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 15 มกราคม 2554, 12:35:45
ต้มยาหม้อใหญ่

ที่เกาะวัดดอนธาตุ มียาสมุนไพรขึ้นมาก ท่านพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์ดี เป็นผู้เริ่ม ยาพระกัมมัฏฐาน เป็นยาหม้อใหญ่ ชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นโรคอะไร เจ็บตรงไหน ก็อธิษฐานจิตเอา จะกินขม กินฝาด กินเปรี้ยว

สมัยนั้นคนเป็นอหิวาตกโรคกันมาก ชาวบ้านอาศัยยาวัดดอนธาตุรักษาเยียวยาและถอนพวกเวทย์มนต์คาถาได้

เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ชาวบ้านสะเว ตำบลสะเว เกิดอาเพท ประชาราษฎร์เจ็บป่วยกันมากเกือบจะทุกบ้าน หัวหน้าหมู่บ้านสะเวได้มานิมนต์พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เดินทางข้ามลำน้ำมูลไปทำพิธีปัดเป่าทางศาสนา และแต่งยาต้ม (ยาฮากไม้) ?หม้อใหญ่? รักษาชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วยจนเป็นที่ปกติสุขทั่วทั้งหมู่บ้าน

ในช่วงชีวิตสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่ พระอาจารย์ดี ได้ติดตามหลวงปู่ใหญ่ไปที่นครจำปาศักดิ์ จนกระทั่งหลวงปู่ใหญ่ได้มรณภาพทิ้งขันธ์ที่วัดอำมาตยาราม ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔

ในปี ๒๔๘๕ ท่านได้จำพรรษาที่วัดป่าบ้านกุดแห้ง ซึ่งในปีนั้นหลวงปู่บุญพา ปญฺญาพาโส ซึ่งมีพรรษาประมาณ ๑๐ พรรษาได้มาร่วมจำพรรษาอยู่ด้วย

บั้นปลายชีวิต

 (http://www.ubonpra.com/uppic/?img=71295069728.jpg)
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
 
ประวัติของท่านในช่วง ๑๖ ปีสุดท้าย ตั้งแต่ปี ๒๔๘๖ จนถึง ๒๕๐๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมรณภาพ ไม่พบบันทึกไว้ในที่ใด ทราบแต่ว่าในปัจฉิมวัย พระอาจารย์ดี มีปัญหาด้านสุขภาพ ท่านเจ็บป่วยบ่อย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านจึงพาไปพักรักษาตัวที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี หลวงพ่อพุธท่านเล่าถึงเรื่องที่ท่านได้ดูแลพระอาจารย์ดี ในบั้นปลายของชีวิตท่านพระอาจารย์ดี ไว้ว่า

?หลวงปู่ดี ฉนฺโน ท่านพูดถึงหลวงพ่อ (พุธ) ไว้ว่า

 ?ไม่ทราบว่าเราจะไปตายที่ไหน ลูกศิษย์คนไหนก็ไม่พอที่จะพึ่งพาอาศัยได้ ก็มองเห็นแต่ลูกศิษย์เอกของเรา (พระมหาพุธ) ที่วัดแสนสำราญนี่แหละ พอจะพึ่งพาอาศัยได้? เราได้ยินแล้วเราก็งง

บั้นปลายชีวิตของหลวงพ่อดี ฉนฺโน ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อ พอท่านป่วยหลวงพ่อก็นำมาดูแลรักษาที่วัดป่าแสนสำราญ จนกระทั่งแข็งแรงเดินได้

...พอประมาณ ตี ๔ เกือบ ตี ๕ ได้ยินเสียงขากเสลดผิดปกติ หลวงพ่อก็รีบไป พอไป ท่านมองซ้ายมองขวา หลวงพ่อไปประคองร่างท่าน

?ท่านอาจารย์ครับ ท่านเคยสอนผมว่าเบญจขันธ์เป็นของโลก ปล่อยวางเบญจขันธ์เสีย กำหนดจิตรู้ที่ผู้รู้?

ท่านก็นิ่งเงียบไป ประมาณสัก ๕ นาที ท่านก็ใจขาด?

จนกระทั่งมรณภาพลง ณ ที่นั้น เมื่อเวลา ๐๕.๓๐ น. ของวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๒ ในอิริยาบถท่านั่งอิงหมอนใหญ่ คล้ายกับนั่งเอนกายพักผ่อนตามปกติ สิริรวมอายุได้ ๖๗ ปี

หลังจากนั้นอีก ๑ ปี คณะศิษย์จึงได้ทำการฌาปนกิจ ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๓





หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2554, 21:48:12
หลวงปู่ดี ฉันโน เป็นพระอาจารย์กรรมฐานที่เชี่ยวชาญทางกสิณ 10 อย่างเยี่ยมยอด พระอาจารย์โชติ อาภัคโค วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี กล่าวยืนยันว่า เรื่องฤทธิจิตสำแดงปาฏิหาริย์แล้วละก็ พระอาจารย์ดีเป็นยอดไม่แพ้ สำเร็จลุน ผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือในยุคนั้นทีเดียว  ผู้ชำนาญทางกสิณเท่านั้น ถึงจะเก่งกล้าทางฤทธิจิตหรือทรงอภิญญา  พระอาจารย์โชติเล่าว่า  วันหนึ่งท่ามกลางพระเณรและญาติโยมทั้งหลายเต็มศาลาวัด   หลวงปู่ดีชี้มือ ไปที่สามเณรรูปหนึ่งแล้วว่า ? เอ้า...เณรมึงเป็นไข้จับสั่นให้กูดูซิ ? พอท่านพูดขาดคำเท่านั้นสามเณรรูปนั้นก็ล้มตึง เกิดอาการหนาว สั่นพั่บๆ ขึ้นมาทันทีทันใด ตาเหลือกตาตั้ง ทำท่าจะตายเอา พอเห็นเช่นนั้น หลวงปู่ดีก็ร้องขึ้นว่า ? เอ้า...หยุดๆๆ? สามเณรก็หยุดสั่นลุกขึ้นนั่งได้ทันทีตีสีหน้า บ้องแบ๊วงุนงง นี่ไม่ใช่เล่นมายากล แต่เป็นการใช้ฤทธิจิตอันแรงกล้าจริงๆ
       อีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่ดี ฉันโน พาพระภิกษุสามเณรไปเที่ยวธุดงค์หน้าแล้ง อากาศร้อนมากเดินธุดงค์ไปในที่ทุรกันดาร ไม่มีน้ำเลย น้ำในกาพระเณร ทุกรูปก็หมดสิ้น ต่างมีความกระหายน้ำกันเหลือสติกำลัง หลวงปู่ดีจึงหยุดที่ภูเขาหัวโล้นลูกหนึ่ง ท่านจึงสั่งให้พระเณรช่วยกันเอาหญ้า เอาใบไม้ ขุดทรายออกจากร่องหินภูเขาหัวโล้น
? เอาละโว้ย ทีนี้กูจะเรียกฝนให้ตกลงมา พวกมึงคอยรองเอาน้ำ ใส่กาใส่กระติกจากร่องน้ำนะโว้ย อาบกินกันให้สนุก ? หลวงปู่ดี ฉันโนประกาศขึ้นด้วยภาษาสำนวนลูกทุ่งที่ท่านเคยปาก ต่อจากนั้น ท่านก็นั่งลงเพ่งกสิณเรียกลมเรียกฝน เพียงชั่วแพล็บเดียว ท้องฟ้าหน้าแล้งจัดจ้าด้วยแดด พลันก็มืดครึ้มก้อนเมฆ สีเทาเข้ม ก็ม้วนไปม้วนมาปั่นป่วนเต็มท้องฟ้า ชั่วครู่ต่อมา ฝนก็เทกระหน่ำตกลงมา ตรงเฉพาะภูเขาหัวโล้นลูกนั้น ที่อื่นไม่ตก เมื่อฝนตกลงมาเต็มที่ พระเณรก็ร่าเริงกัน ช่วยกันตักน้ำจากหลุม และร่องน้ำกัน จนเต็มกระติกเต็มกาใส่น้ำ และอาบน้ำเล่นน้ำกัน เป็นที่รื่นเริงเย็นสบาย
 
 
 
 


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2554, 21:49:20
อีกครั้ง หลวงปู่ดีพาพระ เณร ออกบิณฑบาตในฤดูหนาว ท่านเห็นชาวบ้านก่อไฟกองใหญ่ มีคนนั่งล้อมวงผิงไฟ กันอยู่เต็มใต้ต้น มะพร้าวที่ออกลูกดกเต็มต้น หลวงปู่ดีนึกสนุกก็ร้องบอกพวกชาวบ้าน ว่าให้รีบหนีไปจากกองไฟให้หมด ลูกมะพร้าวมันจะตกหล่นใส่หัวแตกตาย  ชาวบ้านก็เชื่อฟังท่าน ต่างก็รีบหนีออกมาจากใต้ต้นมะพร้าว พอทุกคนออกมาพ้นหมดแล้ว มะพร้าว ก็หล่นพรูลงมาจากจั่นจนหมดต้น สร้างความตกตะลึงขนพองสยองเกล้าให้ชาวบ้านไปตามๆ กัน เมื่อมะพร้าวหล่นลงมาหมดแล้ว ชาวบ้านก็ช่วยกันนำเอามะพร้าวอ่อน ทั้งหมดมาถวายหลวงปู่ดีและพระเณร  นับตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านทุกหนทุกแห่งในถิ่นนั้น พอเอ่ยชื่อ พระอาจารย์ดี ฉันโน ต่างก็ยกมือไหว้ท่วมหัว ด้วยความกลัวแสยง สยองในฤทธิ์เดชของท่านไปตาม ๆ กัน
 
   


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2554, 21:49:57
ปู่ตาเอ๋ย
          ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้วชาวภาคอีสานนับถือผีเป็นส่วนใหญ่ แม้จะมีวัดในพระพุทธศาสนาในหมู่บ้าน แต่ก็ยังมีชาวบ้านนับถือ ผีปู่ตา ผีไท้ ผีแถนหรือผีฟ้า กันอยู่อย่างกว้างขวาง ที่นับถือผีหนักข้อถึงขนาดเวลาจะเดินผ่านวัด ต้องยกเท้าให้วัด ไม่ยอมยกมือไหว้
            พระอาจารย์เสาร์  กันตสีโร พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และพระอาจารย์หลวงปู่ดี มีความคิดเห็นตรงกันว่า ขืนปล่อยให้ชาวบ้านนับถือผีปู่ตา ผีทุ่งนาตาแฮก ผีฟ้า ผีแถนอยู่สืบไป ชาวบ้านจะไม่ได้ไปเกิดในสุคติ ตายแล้วจะพากันไปเกิดเป็นบริวารของผีหมด
            ฉะนั้นจำเป็นจะต้องเอาชาวบ้าน ให้ออกจากการนับถือผีเหล่านั้น  ให้ชาวบ้านหันมานับถือ    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถือศีลห้า ศีลแปดอุโบสถ จะได้บุญกุศลที่ถูกต้องร่องรอยทางธรรม จะมีความสุขความเจริญ 
เมื่อตายไปแล้วจะได้ไปเกิดในแดนสุคติสวรรค์ พระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น ได้ให้พระลูกศิษย์ทั้งหลายแยกย้ายออกไปตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อเทศนาอบรมเกลี้ยกล่อมเอาชาวบ้านให้ออกจากนับถือผีให้หันมาถือพระไตรสรณาคมน์เป็นสรณะที่พึ่ง
              พระอาจารย์ดี ฉันโน รับภาระหน้าที่จะเที่ยวเทศนาเกลี้ยกล่อมชาวบ้านในแถบถิ่นอำเภอพิบูลมังสาหารให้เลิกนับถือผี การกระทำของหลวงปู่ดี มีการให้รื้อถอนศาลเจ้าผีปู่ตาของหมู่บ้านลงเสีย ที่ไหนลือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านนับถือเกรงกลัวท่านก็ไปทำพิธีขับไล่ผีให้ออกไปเสีย ศาลปู่ตาบางแห่งที่เฮี้ยนเหลือหลาย หลวงปู่ดีก็จะประกาศดัง ๆว่า ? ปู่ตาเอ๋ย  ไปอยู่ที่อื่นเสียเถิด อย่าอยู่ทีนี่เลย ปู่ตาไปผุดไปเกิดเสียเถอะ อยู่ไม่ได้แล้ว ไฟไหม้ศาลปู่ตา แล้ว ?
           พอหลวงปู่ดีประกาศจบก็ปรากฎว่า ท่านเพ่งกสิณไฟ ทำให้ไฟลุกไหม้ศาลปู่ตาขึ้นทันทีทันใด  สร้างความตื่นกลัวให้แก่ชาวบ้านขนพองสยองเกล้าไปตาม ๆ กัน
 
 
 
 


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2554, 21:53:30
พระอัฐิธาตุหลวงปู่ดี ฉันโน

วัดป่าสุนทราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร

             

?ใจจะรู้แจ้งในสมมุติและปรมัตถ์นี้ ต้องอาศัยบุญบารมีที่สั่งสมมาแก่กล้า

จึงจะสามารถรู้แจ้งเห็นจริงได้ ถ้ายังไม่มีก็จงเร่งบำเพ็ญให้เกิด

ต่อไปในภายภาคหน้า ก็จะได้แจ้งประจักษ์เอง?


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 09 กุมภาพันธ์ 2554, 15:51:15
.


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 20 พฤษภาคม 2554, 21:01:33
เสริมให้นะครับ ท่านบ่อหัวซา
พระอาจารย์ดี ฉันโน เป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่เสาร์จนถึงวาระสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่ท่าน เมื่อวาระสุดท้ายของท่านมาถึง คือต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๒ คืนวันหนึ่งท่านนัดญาติโยมบ้านกุดแห่ ดอนสวรรค์ ดอนป่าโมง ดอนม่วง ให้มาประชุมที่วัดป่าสุนทราราม บ้านกุดแห่ มีประชาชนมาร่วมประชุมเป็นจำนวนมากจนผิดสังเกต ท่านได้กล่าวในที่ประชุมว่าท่านป่วยอยู่ที่วัดภูถ้ำพระหลายวันแล้ว ได้สกัดหินออกให้ถ้ำกว้างขึ้น ได้พระงามา ๑ องค์ ในหลืบหิน ขณะนี้อาการป่วยมีปวดบั้นเอวมาก ได้นิมิตว่าท่านเดินเข้าวัดได้เห็นคนปั้นขี้ผึ้งแล้วได้ถามว่า ปั้นอะไร เขาตอบว่า ปั้นเอวอาจารย์ดี อาตมาถามต่ออีกมา ต่อได้ไหม
        การประชุมวันนี้ก็เพื่อให้ญาติโยมทราบว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอมอบให้พระสิงห์ทอง ปภากโร ศิษย์อาตมาองค์นี้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกุดแห่แทนอาตมา ส่วนอาตมาจะเป็นเพียงเจ้าโอวาทและอีก ๓ วัน อาตมาจะลงไปอยู่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เพราะที่นั่นเป็นศูนย์กลางทางใต้ ทางกรุงเทพฯก็จะมารวมตัวที่นี่ ตะวันออก พิบูลฯ เดชอุดม ก็จะมารวมที่นั่น ทางเหนือ เขมราฐ อำนาจ ยโสธร เลิงนกทา มุกดาหาร กุดแห่ ก็จะมารวมกันที่วัดป่าแสนสำราญได้ง่าย ขอให้ญาติโยมช่วยกันรักษาวัดวาอารามของเรา ช่วยอาจารย์สิงห์พัฒนาให้วัดเจริญ ให้พากันเข้าวัดรักษาศีลกันตามเดิมเหมือนอาตมาอยู่ ส่วนพ่อออกสารวัตรจารย์บุญ วรโยธา นั้น ให้หาดอกกระเจียวให้ได้มากๆ ๒-๓ เข่งใหญ่ ไปร่วมทำบุญกับอาตมาที่วัดป่าแสนสำราญ อาตมาจะทำบุญใหญ่ในวันนั้นให้ญาติโยมไปร่วมกันมากๆด้วยนะอย่าลืม ส่วนครูใหญ่หงส์ วรโยธา นั้น วันพรุ่งนี้ให้มาหาอาตมา มาจดประวัติอาตมาไว้พิมพ์แจกญาติโยมอ่านต่อไป ส่วนนายหงส์ทอง ธนกัญญา นั้นให้หาช่างถ่ายรูปมาถ่ายภาพอาตมาไว้ ถ่ายท่านั่งสมาธิทั้งสี่ด้านเพื่อประโยชน์ต่อไป สำหรับข้อธรรมคำสั่งสอน อาตมาได้รวบรวมไว้กับอาจารย์สิงห์แล้วเพื่อให้ได้อ่านและถือปฏิบัติสืบไป


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 20 พฤษภาคม 2554, 21:03:45
(ต่อครับ)
เมื่อท่านประชุมสั่งการจบลง ทุกคนต่างซุบซิบกันว่า ท่านมอบวัดวาอารามสั่งเสียญาติโยมคล้ายกับท่านจะไปแล้วไม่กลับ ทุกคนต่างสังหรณ์ใจ เมื่อเดินกลับบ้านต่างก็วิพากษ์วิจารณ์กันไป ครูใหญ่ยงค์ วรโยธา พูดขึ้นกับเพื่อนดังๆว่า ?นี่แหละท่านปลงอายุสังขารละ?
   เมื่อท่านลงไปอยู่วัดป่าแสนสำราญ วารินชำราบคราวนั้น มีร้อยเอกแปลงนำรถมารับที่กุดแห่ ญาติโยมไปส่งโดยหงส์ทอง ธนกัญญา เป็นผู้นำคณะ เมื่อท่านไปอยู่วาริน ก็ได้ไปรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลทหาร โดยผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๖ เป็นผู้อุปถัมภ์ เมื่ออาการทุเลาก็กลับมาวัด และเมื่อป่วยก็ไปรักษาอีกที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์บ้าง อาการป่วยออดๆแอดๆ เป็นประจำโดยไม่หายขาด
   บั้นปลายชีวิตในปัจฉิมวัย พระอาจารย์ดี มีปัญหาด้านสุขภาพบริเวณเอว เล่าว่าท่านถูกวัวกระทิงชน ท่านเจ็บป่วยบ่อย ในบันทึกของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านจึงพาไปพักรักษาตัวที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี เล่าว่า ?บั้นปลายชีวิตของหลวงพ่อดี ฉันฺโน ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อ พอท่านป่วยหลวงพ่อก็นำมาดูแลรักษาที่วัดป่าแสนสำราญ จนกระทั่งแข็งแรงเดินได้ ...พอประมาณ ตี ๔ เกือบ ตี ๕ ได้ยินเสียงขากเสลดผิดปกติ จนกระทั่งมรณภาพลง ณ ที่นั้น เมื่อเวลา ๐๕.๓๐ น. ของวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๒ ในอิริยาบถท่านั่งอิงหมอนใหญ่?
ต่อมาเมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๒ เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. เสียงฆ้อง เสียงกลอง เสียงระฆัง ดังระงมแบบพิลึกพิลั่นขึ้นที่วัดบ้านกุดแห่ ประชาชนแตกตื่นออกไปวัดเพื่อฟังเหตุการณ์ สามเณรอุดมเป็นผู้มาบอกข่าวว่าท่านอาจารย์ใหญ่ของเราได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว เมื่อเวลา ๐๕.๓๐ น. ของวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๐๒ ต่างคนต่างร้องไห้ระงมไปทั่วบ้านทั่ววัด โศกเศร้า ซบเซากันไปหลายวัน


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 20 พฤษภาคม 2554, 21:04:40
รุ่งขึ้นวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๐๒ สารวัตรจารย์บุญพร้อมด้วยญาติโยมเป็นอันมากได้นำดอกกระเจียว ๓-๔ เข่งใหญ่ ไปร่วมกันทำบุญตามคำสั่งของท่านซึ่งสั่งไว้แต่วันประชุมเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ อัศจรรย์ เห็นจริง ไม่มีข้อสงสัย ท่านรู้วันมรณภาพของท่านว่าเป็นวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๐๒ จึงได้สั่งญาติโยมนำดอกกระเจียวไปในวันที่ ๙ และเป็นบุญงานศพของท่านเอง ทุกคนต่างลงความเห็นว่าพระอาจารย์ดี ฉันโน เป็นพระอริยสงฆ์โดยแท้ ?มรณภาพด้วยอาการสงบ ในท่านั่งสมาธิ อิงหมอนใหญ่อยู่คล้ายกับนั่งพักผ่อนธรรมดา? แม้ว่าท่านจะเจ็บปวดรวดร้าวบั้นเอวเพียงใด ท่านก็ตั้งจิตนั่งสมาธิมรณภาพเสมือนดั่ง พระมหากัสปเถระอาจารย์ของท่านในอดีตชาติ และหลวงปูเสาร์ ที่มรณภาพ ในท่านั่งกราบพระภายในพระอุโบสถวัดอำมาตยาราม นครจำปาสัก ประเทศลาว
   ข้าราชการและเถระผู้ใหญ่ พ่อค้าคฤหบดี ได้ลงความเห็นว่าให้เก็บศพท่านไว้บนศาลาปริยัติธรรม เป็นเวลา ๑ ปี จึงจะทำการฌาปนกิจ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 20 พฤษภาคม 2554, 21:05:33
ทางราชการและคณะสงฆ์ ได้ประชุมเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๓ ลงมติให้จัดงานฌาปนกิจท่านกำหนดเอาวันที่ ๑๐-๑๔ มีนาคม ๒๕๐๓ เป็นเวลา ๕ วัน ๕ คืน แบ่งออกเป็นเจ้าภาพ ๒๐ หน่วยงาน กรรมการดำเนินงานมีดังนี้
๑. เจ้าคุณธรรมไตรปิฎก   วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพฯ   เป็นประธาน
๒. เจ้าคุณรัตนมงคลเมธี   เจ้าคณะจังหวัดอุบลฯ      เป็นรองประธาน
๓. เจ้าคุณศรีธรรมวงศาจารย์ วัดสุปัฏนาราม      เป็นรองประธาน
๔. เจ้าคุณธรรมศรีโสภณ   วัดกลาง เมืองอุบลฯ      กรรมการ
๕. เจ้าคุณวิโรจน์รัตนโนบล วัดทุ่งศรีเมือง เมืองอุบล      กรรมการ
๖. เจ้าคุณเทพปัญญบัณฑิต            กรรมการ
๗. เจ้าคุณวินัยสารสุภี               กรรมการ
๘. พระครูวิจิตรรรมภานี               กรรมการ
๙. พระครูประจักษ์อุบาลคุณ            กรรมการ
๑๐.พระครูธรรมธรสำราญ            กรรมการ
๑๑.พระครูนวกรรมโกวิท               กรรมการ
๑๒.พระครูสังวรณ์ศรีลาขันธ์            กรรมการ
๑๓.พระครูกมลวิสุทธิ               กรรมการ
๑๔.พระครูชะโยบลบริบาล            กรรมการ
๑๕.พระครูทัศนะประกาศ                       กรรมการ
๑๖.พระครูโอภาสธรรมธาร            กรรมการ
๑๗.พระครูบริหารวัฒนกิจ            กรรมการ
๑๘.พระครูภัทรคุณาธาร               กรรมการ
๑๙.พระครูญาณวิจิตร               กรรมการ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 20 พฤษภาคม 2554, 21:06:12
๒๐.พระครูพิศาลศิลาคุณ               กรรมการ
๒๑.พระครูพิบูลสมณกิจ               กรรมการ
๒๒.พระครูวินิจสังฆภาร               กรรมการ
๒๓.พระอาจารย์มี โชติพโล            กรรมการ
๒๔.พระมหาเส็ง                  กรรมการ
๒๕.เจ้าอาวาสทุกวัดในเขต จังหวัดอุบลฯ         กรรมการ
๒๖.พระครูพุทธิสารสุนทร (เจ้าคุณชิน วงศาจารย์)      เลขานุการ
๒๗.พระครูปลัดพุฒ               ผู้ช่วยเลขาฯ
๒๘.พระอุทิศ อุตตะโร               ผู้ช่วยเลขาฯ
กรรมการฝ่ายฆราวาส
๑. ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๖      ประธานกรรมการ
๒. ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี         รองประธานกรรมการ
๓.ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดอุบลฯ      รองประธานกรรมการ
๔. รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๖      รองประธานกรรมการ
๕. ผู้บังคับการกรมผสมที่ ๖         กรรมการ
๖. ผู้บัญชาการตำรวจภูธร จังหวัดอุบลฯ      กรรมการ
๗. ข้าราชการทุกแผนกการในศาลกลางจังหวัดอุบลฯ      กรรมการ
๘. นายอำเภอวารินชำราบ            กรรมการ
๙. พันเอกหลวงสานดัสกร               กรรมการ
๑๐.พันโทอินทร วงศ์ฉัตร               กรรมการ
๑๑.พันตรีหลวงผจญ อริพ่าย            กรรมการ
๑๒.หัวหน้าส่วนราชการทุกแผนกการในที่ว่าการอำเภอวารินชำราบ กรรมการ
๑๓.ศึกษาธิการอำเภอวารินฯ            กรรมการ
๑๔.นายหงส์ทอง ธนกัญญา         รองเลขาฯ
๑๕.ร้อยเอกแปลง            ผู้ช่วยเลานุการ
การจัดงาน ๕ วัน ๕ คืน ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่น ได้เงินจากผู้ศรัทธาบริจาค เป็นจำนวนเงิน ๒ แสนเศษ  เป็นที่จำนวนมากพอดูในสมัยนั้น พระสงฆ์ สามเณร มาในงาน ๓,๐๐๐ กว่ารูป ประชาชนทั่วทุกสารทิศไม่ขาดวันละหมื่นคน ตลอดงาน


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 20 พฤษภาคม 2554, 21:08:10
ในการเก็บอัฐิธาตุ พระเถระผู้ใหญ่ให้แบ่งเอาไปคนละเล็กละน้อย ส่วนญาติโยมต่างก็แย่งกันเอาผ้าขาวห่อเอาเถ้าถ่านจนไม่มีเหลือไว้เลย ผู้ไปทีหลังก็ขูดเอาดินตรงที่เผาท่านไปไว้บูชาดินเป็นหลุมลงไป
   นายหงส์ทอง ธนกัญญา หลานชาย ได้นำอัฐิส่วนหนึ่งของท่านไปก่อเจดีย์บรรจุไว้ที่วัดกึ่งพุทธกาล วัดภูถ้ำพระ บ้านกุดแห่ แต่ยังไม่ได้ลาดลานเจดีย์ละก่อกำแพงรอบ ยังไม่มีมณฑปหลังคามุง จึงกำลังดำเนินการไม่หยุดยั้ง
 เพิ่มเติมแบบคร่าวๆ นะครับ รอชมหนังสือชีวะประวัติของท่านเล่มใหม่ กำลังจัดทำอยู่ครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: roaddog2007 ที่ 27 พฤษภาคม 2554, 18:44:46
บ้านอยู่ไม่ไกลจากวัดป่าแสนสำราญเลย แต่ไม่รู้เลยว่าเคยเป็นศูนย์กลางพระกรรมฐาน แล้วตอนนี้ยังมีพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านใดที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่ที่วัดวัดป่าแสนสำราญบ้าง เผยกลับบ้านจะไปกราบไหว้ (ตอนนี้อยู่กทม)


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: MaiUbon ที่ 29 พฤษภาคม 2554, 15:01:41
สุดยอดมากเลยครับท่าน ..

อยากเรียนถามท่านบ่อหัวซา ตอนนี้เหรียญหลวงปู่ดี เล่นหากันที่ราคาเท่าไหร่ครับ ?


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 29 พฤษภาคม 2554, 16:26:00
ราคาคร่าวๆนะครับสภาพสวยๆก็หลายหมื่นครับผม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้เช่าให้ผู้ให้เช่าเป็นสำคัญครับ แต่ขอฟันธงว่าอนาคตอีกไม่นานเหรียญรุ่นแรกพระอาจารย์ดี ฉันโนจะเป็นเหรียญลำดับที่3ของจังหวัดอุบลที่ขึ้นหลักแสนครับ ลำดับแรกคือเหรียญรุ่นแรก ลป.รอด วัดทุ่งศรีเมืองและลำดับที่2เหรียญมั่น-เสาร์หน้าหนุ่มยันต์แปดขึ้นหลักแสนมาหลายปีแล้วครับ หมายเหตุทั้งนี้นับเฉพาะเหรียญเนื้อธรรมดาไม่นับเนื้อพิเศษอย่างทองคำนะครับเพราะเหรียญรุ่นแรกเนื้อทองคำของหลวงปู่สวนและหลวงปู่ชานั้นหลายแสนบาทแล้วครับ 007 007


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: Gdragon22 ที่ 29 พฤษภาคม 2554, 16:28:54
พี่ บ่อหัวซา พอทราบประวัติเหรียญหลวงปู่ดี ฉันโน รุ่นแรก การสร้างหรือพระที่ร่วมปลุกเสกหรืออธิฐานจิตบ้างรึป่าวครับ
ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 29 พฤษภาคม 2554, 21:37:20
ถ้าเรื่องประวัติการสร้างเหรียญหลวงปู่ดี ต้องรบกวนท่าน ramin แล้วระครับผม 007


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: MaiUbon ที่ 05 มิถุนายน 2554, 02:10:27
ขอบคุณมากครับ .. ที่ให้ความรู้เล็กๆน้อยๆที่ยิ่งใหญ่ครับ (งง ๆ 555+)


เหรียญเสาร์-มั่น หน้าหนุ่มยันแปด เป็นยังไงช่วยลงเป็นวิทยาทานให้ดูได้ไหมครับ ขอบคุณครับ  017


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: vs12 ที่ 05 มิถุนายน 2554, 12:05:21
สวัสดีครับ รบกวนสอบถามประวัติการสร้าง เหรียญหลวงปู่ดี ฉันโน รุ่นตามภาพที่โพส ครับ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 05 มิถุนายน 2554, 13:40:14
ตอบคุณ vs12 ก่อนนะครับ
เหรียญที่ท่านถามมานั้น เป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร แห่งวัดป่าสุนทราราม เลิงนกทา ยโสธร ครับ
หลวงปู่สิงห์ทอง ท่านเป็นลูกศิษย์ และเจ้าอาวาสวัด สืบต่อจากหลวงปู่ดี
ในปี 2522 ศิษยานุศิษย์ จึงขออนุญาตสร้างเหรียญนี้ขึ้น เพื่อระลึกถึงพระคุณของหลวงปู่ดี จำนานการสร้างไม่ทราบแน่ชัด โดยหลวงปู่สิงห์ทองท่านได้เมตตาอธิษฐานจิตให้ครับ
ปัจจุบันในพื้นที่เลิงนกทา หายากแล้วครับ ราคาเช่าบูชาประมาณหลักพันต้นๆ ประสบการณ์เล่าคงไม่หมด
หลังจากนั้นอีกสิบปี จึงมีเหรียญรุ่นแรกที่เป็นรูปเหมือนของหลวงปู่สิงห์ทอง คือเหรียญปี 2532 จำนวนการสร้างประมาณ 800 เหรียญ อันนี้ราคาเช่าบูชาขอไม่บอกครับ บอกแต่ว่าใครมีแบ่ง บอกกระผมได้ ตลอด 24 ชั่วโมง 55555


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 05 มิถุนายน 2554, 14:04:52
สำหรับประวัติ ไม่ใช่สิ ต้องเรียกว่า ตำนานการสร้างเหรียญพระอาจารย์ดี ฉันโน วัดป่าภูเขาแก้ว นั้น ที่ผมค้นคว้ามาได้ มีอยู่ด้วยกัน สองตำนานครับ
ในแต่ละตำนานทำเอาผมอึ้ง ทึ่ง จนไม่รู้จะเขียนไปในแนวไหน เคยโทรคุยกับท่านพี่ บ่อหัวซาอยู่ ว่าจะเขียนดีไหม ถ้าท่านเจ้าของกระทู้ไม่ว่า ขออนุญาต
เล่าตำนานการสร้างเหรียญแห่งวัดป่าภูเขาแก้วทั้งสองตำนานเลยครับ (ท่านใดมีตำนานหรือหลักฐานทางประวัติสาสตร์อื่นใด ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมได้นะครับ
ผมถือว่าเราเป็นพี่น้องร่วมอุดมการณ์เดียวกัน คือเผนแพร่และอนุรักษ์ ปฏิปทาพ่อแม่ครูอาจารย์ ไม่ให้สูญหายไปกับกาลเวลา)
ตำนานแรกมีอยู่ว่า.....
      กาลครั้งนั้น เมื่อพ.ศ. 2480 หลวงปู่ดีท่านได้รับนิมนต์จากเลิงนกทา ให้ไปโปรดญาติโยมที่พิบูลมังสาหาร แต่ในเบื้องลึกของตำนานแล้ว ขอเล่าในแนวชาวบ้านหน่อย คือ สมัยนั้นวัดป่าภูเขาแก้ว ชาวบ้านเรียกว่า "ป่าช้าภูดิน" และ บริเวณ ดอนมูล หรือวัดดอนธาตุในปัจจุบัน  ชาวบ้านระแวกนั้นโดนภูตผีหลอกหลอนไม่เว้นกระทั่งกลางวันและกลางคืน ยังกับเรื่องราวของย่านาคพระโขนงที่เดียว  สมัยนั้นชาวบ้านยังนับถือผีปู่ผีย่ากันอยู่มาก พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านเคยบอกว่า การนับถือผีเลี้ยงผี ถ้าเลี้ยงไม่ดี ผีก็จะกลับมาทำร้ายคนเลี้ยง(บางทีจะกลายเป็นปอบหรืออวิชชาอย่างหนึ่ง)
     ในครานั้น หลวงปู่ดี ท่านไปจำพรรษาและอุปัฏฐากหลวงปู่เสาร์ ที่วัดบูรพา และช่วยสร้างวัดภูเขาแก้วและวัดดอนมูลขึ้น จนถึงปี พ.ศ.2492 หลังจากที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจากหลวงปู่เสาร์ วัดภูเขาแก้วก็ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เป็นวัดที่ถูกต้อง (ณ จุดนี้นี่เองที่ทำให้มีสองตำนาน) ดังนั้น คณะศิษย์จึงได้จดทำเหรียญรูปเหมือนของหลวงปู่ดี ขึ้น (ตำนานยังไม่จบนะครับ เดี๋ยวขอทำงานหาเงินก่อน) 


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 05 มิถุนายน 2554, 16:34:27
เล่าตำนานที่หนึ่งต่อนะครับ
 หลังจากที่ในปี 2492 วัดภูเขาแก้วได้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฏหมายแล้ว คณะศิษย์จากกรุงเทพฯ ที่ได้ติดตามงานขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ก็ขอจัดทำเหรียญ พระอาจารย์ดี ฉันโน ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก ของเหตุการณ์ของวัดภูเขาแก้วในครั้งนั้น ตามตำนานที่เล่าต่อกันมา บอกว่า สร้างจำนวนประมาณ 500 เหรียญ
ส่วนพิธีการปลุกเสกเหรียญนั้น ไม่มีบันทึกใดๆกล่าวถึง แต่เท่าที่ทราบมา พระอาจารย์สายวัดป่า สมัยนั้น ไม่มีพิธีการปลุกเสกใดๆทั้งสิ้น ท่านจะนำเหรียญใส่พาน แล้วนำไปเก็บไว้ในห้องนั่งกัมมัฏฐานหรือไม่ก็นำไปตั้งไว้หน้าพระประธาน คือเมื่อคราวไหว้พระสวดมนต์หรือเจริญวิปัสนาก็จะอธิฐานจิตในครานั้น จึงนำมาแจกจ่ายกันต่อไป
 ในตำนานที่หนึ่งนี้ ก็มีข้อสงสัยของผมอยู่ประการหนึ่ง คือ เหตุใดพิมพ์ด้านหลังจึงมีสองพิมพ์? ผมก็เสาะหาความจริงกันต่อไป ก็ได้รับการเล่าจากสายพิบูลมังสาหารว่า สาเหตุที่ด้านหลังมีสองพิมพ์ เนื่องจากมีการสร้าง 2 วาระ วาระแรกในโอกาสที่วัดภูเขาแก้วได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา สร้างจำนวน 200 เหรียญ และในวาระที่สองสร้างในโอกาสที่วัดภูเขาแก้วสร้างศาลาการเปรียญ(หลังเก่า)อีกประมาณ 200-300 เหรียญ
ซึ่งจากตำนานตรงนี้นี่เอง ผมก็ได้คัดลอกลาย เหรียญทั้งสองพิมพ์เพื่อหาข้อแตกต่าง ก็พบว่า ลักษณะตัวอักษรขอมด้านหลัง มีความแตกต่างกัน สรุปได้ว่า มีคนแกะพิมพ์สองคนแน่นอน เพราะลายมือพิมพ์หนึ่งมีตัวอักษรเช่นเดียวกับด้านหน้า(บล็อกสระอิเล็ก)  แต่อีกพิมพ์หนึ่งตัวอักษรจะเรียวกว่า(บล็อกสระอิใหญ่)
แต่ตำนานที่หนึ่งนี้ เป็นเพียงคำบอกเล่าของผู้ที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ครับ ผมเล่าให้ฟังเพื่อเป็นตำนาน แต่ข้อสันนิษฐานของผมท่านผู้อ่านเก็บไว้คิดตามนะครับ
เพราะว่าตำนานที่สองที่ผมจะเล่านั้น เป็นคำบอกของหลวงปู่โชติ แห่งวัดภูเขาแก้ว ซึ่งทีมงานของผมได้กราบสัมภาษณ์ท่าน และขอถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกเพื่อยืนยันของแหล่งที่มาสุดท้ายแห่งตำนานเหรียญ ซึ่งเป็นพยานบุคคล และเมื่อได้นำรูปเหรียญให้ท่านดู ท่านก็ร้องบอกว่า "อ๋ออออ  เหรียญรุ่นแรก จำได้อยู่..."
พักก่อนครับ เดี๋ยวจะมาเล่าตำนานที่สองให้ฟัง  เราจะได้จบตำนานของเหรียญพระอาจารย์ดี ฉันโน ไปพร้อมๆกัน  (แต่ว่าสมาชิกน้อยจัง ขอผู้ที่อยากฟังรายงานตัวหน่อยครับพี่น้อง ขอเช็คยอดก่อนเล่าตอนจบ)


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 05 มิถุนายน 2554, 16:49:17
ตอนนี้ ไปหาข้อมูลเหรียญ เกจิเมืองอุบลฯ สักหกเจ็ดเหรียญก่อน 5555 จะหาเจอรึป่าวน๊ออออ  ท่านบ่อหัวซาเล่นตั้งเงื่อนไข ยากจริงๆ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: vs12 ที่ 05 มิถุนายน 2554, 17:05:04
มารายงานตัว จบตำนานเหรียญหลวงปู่ครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: MaiUbon ที่ 05 มิถุนายน 2554, 19:31:19
มารอฟังจ 019บตำนานเหรียญหลวงปู่ดี ฉันโน ครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 06 มิถุนายน 2554, 14:08:25
มีสองท่านเองหรอครับ
ตำนานที่สองนี่ เป็นคำบอกเล่าของหลวงปู่โชติ เองครับ ท่านยืนยันว่า ตอนสร้างเหรียญของพระอาจารย์ดี ท่านพึ่งจะบวชได้ไม่กี่พรรษา
และท่านก้อเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำเหรียญนั้นด้วยครับ
ตำนานที่หนึ่งที่เล่าไป นั้นมีส่วนที่ตรงกับตำนานที่สองแค่เพียงบางส่วนเท่านั้นครับ แสดงให้เห็นว่า หากไม่มีการทำบันทึกไว้ ตำนานเหรียญ
ของพระอาจารย์ดี ก็อาจจะมีหลากหลายกระแสไป
อยากรู้เรื่องตำนานที่สอง จะขอเล่าให้ฟังเป็นรายบุคคลที่่สนใจจริงๆครับ
โทรหาผมได้ 089-7122477 แล้วผมจะเล่าให้ฟัง .........


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 06 มิถุนายน 2554, 19:05:19
(http://image.ohozaa.com/i/e10/b0020.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=c1705ca4b62cbcbfa8a3e89ac9b32524)


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 06 มิถุนายน 2554, 19:29:03
รูปข้างบนนี้ คณะที่ไปสัมภาษณ์หลวงปู่โชติ ถ่ายเก็บไว้เป็นที่ระลึกว่าได้กราบนมัสการสอบถามเกี่ยวกับเหรียญรุ่นแรกของพระอาจารย์ดี ฉันโน
ผมได้ตอบคำถามทางโทรศัพท์ไปแล้ว สองสามท่าน  ครานี้เวลาว่างครับ เลยจะเล่าตำนานไว้ ณ ที่นี่ เป็นที่แรกก่อนจะบันทึกไว้ในหนังสือเร็วๆนี้ครับ
ตำนานที่สองนี้ เกิดจากความต้องการของผมเองครับ ที่อยากจะให้เรื่องการสร้างเหรียญของพระอาจารย์ดี เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มหรือวงการที่อยากได้เหรียญของท่าน
ผมจึงได้เสาะหาบันทึกหรือพยานบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์เมื่อคราวนั้น ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวดังกล่าวได้ จุดเริ่มต้น อยู่ที่บ้านกุดแห่ เลิงนกทา สอบถามคนเฒ่าคนแก่
ที่เคยบวชกับท่าน หรือมีชีวิตอยู่ในยุคของท่าน ปรากฏว่าผู้ที่เก็บตำนานการสร้างเหรียญไว้ ได้เสียชีวิตไปประมาณ 3-4 ปีมานี่เอง ผู้ที่มีชีวิตอยู่ก็บอกว่า เคยเห็นแต่เหรียญ
ของหลวงปู่เฒ่า(ชาวบ้านกุดแห่เรียกท่านยังงั้นครับ)แต่ก่อนอยู่บนหิ้งพระ ไม่รู้ว่าให้ลูกหลานคนไหนไปบ้าง  เป็นอันว่าเหมือนงมเข็มในมหาสมุทรครับ
จนผมจะล้มเลิกความตั้งใจในการตามหาตำนานเหรียญหลวงปู่ดี แต่แล้วผมก็ได้เบาะแสผู้ที่จะให้ข้อมูลได้จากรุ่นน้องของผมคนหนึ่ง(คนที่ถ่ายรูปคู่กับหลวงปู่โชตินั่นแล่ะ)
เขาบอกว่า "พี่..หลวงอาผมบอกว่า หลวงปู่โชติ เจ้าอาวาสวัดภูเขาแก้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่ ลองไปกราบนมัสการสอบถามท่านดูว่าใครบ้างจะให้เบาะแสได้"
แล้วเราก็ไปตามหาตำนานจากหลวงปู่โชติกันครับ.............


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 06 มิถุนายน 2554, 20:22:51
เราปริ๊นรูปเหรียญพระอาจารย์ดี ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เตรียมไปด้วย เมื่อไปถึงก็สนทนาทุกข์ สุข สุขภาพของท่าน แล้วก็เริ่มเข้าเรื่องเลยครับ
เรายื่นรูปเหรียญพระอาจารย์ดี ให้หลวงปู่โชติท่านพิจารณาดู แล้วถามท่านว่า
          "หลวงปู่ครับ พอจะทราบเกี่ยวกับเหรียญพระอาจารย์ดี รุ่นนี้หรือเปล่าครับ?"
หลวงปู่โชติท่านมองดูนิดหนึ่ง แล้วก็ยิ้มพร้อมกับอุทานออกมาว่า
          "อ้อออ.....เหรียญหลวงปู่ดี  จำได้อยู่"  พอได้ยินเราอยากจะกระโดดดีใจไชโย เย้เย้เย้... แต่เก็บอาการครับ เริ่มถามหาตำนานต่อ..
           "แล้วหลวงปู่จำได้หรือเปล่าครับ ว่าท่านสร้างในโอกาสอะไร" เรารีบยิงคำถามจนลืมไปว่าหลวงปู่โชติท่านอาพาธเป็นอัมพฤกอัมพาตอยู่ พูดจาด้วยความลำบาก
แต่เราก็นั่งฟังจับใจความที่ท่านเล่ายาวนิดหนึ่งว่า
           "สมัยนั้น..หลวงปู่โชติเอง พึ่งจะบวชได้ไม่นาน ไม่กี่พรรษา และไม่ได้บวชกับหลวงปู่ดี ท่านบวชกับเจ้าคณะอำเภอพิบูลมังสาหาร ในตอนนั้น เมื่อบวชเสร็จแล้วก็มาฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ดี เป็นพระคอยปรนนิบัติท่านหลวงปู่ดี เมื่อนั้น พ.ศ.2492 จำได้ดีว่าวัดภูเขาแก้วได้รับวิสุงคามสีมาครั้งแรก หลังจากนั้นหลวงปู่ดี ฉันโน ท่านก็มีความประสงค์อยากจะสร้างศาลาการเปรียญ และก็ได้รับศรัทธาจากญาติโยมศิษยานุศิษย์ ท่านจึงให้ช่างภาพมาถ่ายรูป(หาดูได้ในเวปนี้ กระทู้ไหนจำไม่ได้ครับ)แล้วนำไปสร้างแม่พิมพ์ขึ้น เมื่อนำต้นแบบมาให้ท่านดู หลวงปู่ดี ท่านก็บอกให้ทำสองแบบ สำหรับแจกผู้ชายกับแจกผู้หญิง คณะที่จัดทำเหรียญจึงให้ช่างแกะพิมพ์เพิ่มโดยใช้ยันต์และอักขระขอมเหมือนเดิม เมื่อได้แม่พิมพ์แล้ว ท่านก็สั่งให้พิมพ์อย่างละ 90 เหรียญ ประมาณ 100 เหรียญเท่านั้น"  ถึงตรงนี้หลวงปู่หยุดพักเล่า  พวกเราก็เริ่มอึ้ง ทึ่ง กับคำบอกเล่า เสวนากันถึงเรื่องที่ท่านเล่าสักพักใหญ่  
แล้วก็เริ่มถามต่อครับ  
            "เอ..แล้วหลวงปู่ทราบหรือเปล่าครับ ว่าแบบไหนแจกผู้ชาย แบบไหนแจกผู้หญิง?"
หลวงปู่โชติท่านก็เล่าต่อว่า
            "จั๊กแหล่ว.. จำบ่ได้ .. รู้แต่ว่าสมัยนั้นครูบาอาจารย์สายวัดป่า จะไม่ค่อยทำเหรียญหรือวัตถุมงคล ถ้าทำก็ทำน้อย และท่านหลวงปู่ดีก็สั่งให้ทำน้อย ประมาณอย่างละร้อยเหรียญ อันไหนแจกผู้หญิง อันไหนแจกผู้ชาย ก็จำบ่ได้...." เอาล่ะครับ งานนี้เป็นการบ้านให้เราค้นหาคำตอบกันต่อไปครับ เราหยุดถามคำถามกับหลวงปู่โชติ เพราะเกรงว่าจะเป็นการรบกวนสุขภาพของท่าน เพราะเวลาท่านพูดจา ท่านจะพูดด้วยความลำบากมากครับ ท่านใดอยู่อุบลฯใกล้ รีบไปกราบนมัสการท่านนะครับ
           เป็นอันว่าจบตำนานที่สองครับ เหลืออย่างเดียวที่ผมติดไว้ให้คิดตาม นั่นก็คือ อันไหนเหรียญแจกชาย อันไหนเหรียญแจกหญิง เพราะว่าผมพิสูจน์แล้วว่าลายมือหรือลักษณะการแกะตัวอักษรทั้งสองพิมพ์ไม่เหมือนกัน มีคนแกะพิมพ์สองคนแน่นอน
         ข้อสันนิษฐานของผมคือว่า "ทำไมช่างทั้งสองคน ไม่แกะพิมพ์ให้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทำไมต้องแกะยันต์เหมือนกัน จนหากไม่พิจารณาให้ดีจะแยกไม่ออกเลย"
         ตำนานจบไปแล้วครับ แต่เหลือคำตอบสุดท้าย ให้เราได้ค้นหาความจริงต่อไปครับ เพราะนี่คือตำนานอันเป็น อมตะ  แห่งเหรียญพระอาจารย์ดี ฉันโน หากใครมีเบาะแสอื่น ช่วยนำมาบอกกล่าวเล่าแจ้งด้วยครับ
ขอบคุณทกท่านที่ติดตามครับ.......


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 08 มิถุนายน 2554, 18:56:20
คำบางคำพิมพ์ผิด หรือพิมพ์เลขพ.ศ.ผิดบ้าง ก็อย่าว่ากันนะครับ ละไว้ในฐานที่เข้าใจ 5555


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: คนโก้ ที่ 09 มิถุนายน 2554, 06:39:37
ยอดเยี่ยมจริงครับ 017


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: MaiUbon ที่ 09 มิถุนายน 2554, 11:01:41
 007


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 18 มิถุนายน 2554, 21:28:16
อันนี้เป็นหนังสือประวัติหลวงปู่ดี เล่มที่กำลังจะนำมาเรียบเรียงใหม่ครับ
(http://image.ohozaa.com/i/39d/img_1191.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=0a94efc017c09208727b909cfee172da) (http://image.ohozaa.com/i/b8b/img_1192.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=45b172b218a41a0d89462e61219736c8)
รอพบกับหนังสือประวัติของท่านเล่มล่าสุดจากผมเอง เวอร์ชั่นสมบูรณ์ที่สุด เจาะลึกทุกแง่มุม .....


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: tar ที่ 18 มิถุนายน 2554, 22:50:00
ขอบคุณครับ รอติดตามครับ  017  017


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: roaddog2007 ที่ 19 มิถุนายน 2554, 00:12:31
เยี่ยมมากครับ 024 กับประวัติหลวงปู่ดี ฉันโน เคยไปวัดภูเขาแก้วมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว เสียดายไม่ได้ไปกราบหลวงปู่โชติ ปีใหม่นี้กะจะไปกราบท่านซักหน่อย แต่ไม่รู้ว่าท่านพักอยู่กุฏิไหน


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 23 มิถุนายน 2554, 21:02:38
วันนี้ใจดี  และดีใจครับ  ผมจะขออัญเชิญพระคาถาประจำตัวของ หลวงปู่ดี ฉันโน มาลงไว้ ณ ที่เวปแห่งนี้เป็นครั้งแรก
        ผมได้พระคาถานี้มา โดยการบีบนวดขา ปรนนิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโรครับ ตั้งแต่สมัยบวชโน่นนนนนนนนนนนน
 โบราณอีสานถึงว่า "ขุดน้ำบ่อ ก่อศาลา บีบขาผู้เฒ่า  ได้บุญท่อกัน..." อันนี้ท่านถ่ายทอดท่องให้ฟังแล้วให้ผมท่องตามจนขึ้นใจ ห้ามจด เพราะถ้าจดจะไม่ขลัง ท่านว่ายังงั้น
สืบทอดและบันทึกไว้ครับ มิให้สุญหายไปตามกาลเวลา เพราะถ้าไม่มีครูอาจารย์แล้ว ไม่รู้จะไปเสาะหาสอบถามใคร
พระคาถาป้องกันพญามาร(หลวงปู๋ดี ฉันโน)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3จบ)
กิเลสสะมาร  ขันธะมาร  มัจจุมาร อะภิสังขาระมาร  เทวะบุตตะมาร  มารห้าเอ๋ย เวลานี้เราโอนอ่อนแก่ท่าน  ท่านทั้งหลายอย่ามาทำร้ายแก่เราเลย
อุททะทุกเข  ปะริวาเร  สัมมาสัมพุทเธนะ เทสิตาฯ (ท่านให้ภาวะนาคาถา 7 จบ เอามือขีดรอบตัวหรือใช้จิตกำหนดรอบตัว 3 รอบ ป้องกันมารต่างๆ ดีนักแล)


พระคาถาเสริมบารมี(หลวงปู่ดี ฉันโน)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3จบ)
อิติปิโส  วิเสเสอิ  อิเสเส พุทธะนาเมอิ  อิเมนา  พุทธะตังโสอิ  อิโสตัง  พุทธะปิติอิฯ
ตะโจ พระพุทธะเจ้าจงมาเป็นหนัง  มังสัง พระธรรมมะเจ้าจงมาเป็นเนื้อ  อัฏฐิ พระสังฆะเจ้าจงมาเป็นกระดูกตรีเพชรคงทน
อิสะวาสุ  สะวาสุอิ  สุสะวาอิ พุทธะปิติอิฯ (ท่านให้ภาวะนาคาถา 3 จบ ใช้จิตกำหนดรอบตัว 3 รอบ เป็นเมตตาบารมีแก่ตน ดีนักแล)
ขอให้ทุกท่านมีความสุข ความเจริญครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: MaiUbon ที่ 25 มิถุนายน 2554, 18:27:53
เยี่ยมครับ  007


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 10 กรกฎาคม 2554, 20:43:35
เหรียญแห่งตำนานพระป่าศิษย์เอกแห่งองค์พระอาจารย์ใหญ่เสาร์ เหรียญรุ่นแรกพระอาจารย์ดี ฉันโน ปี2492 สภาพนี้หาชมได้ยากยิ่งครับ 007


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: MaiUbon ที่ 10 กรกฎาคม 2554, 21:28:33
เหรียญสวยมากๆ ๆ เลยครับพี่ เป็นบุญตาแท้ๆครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: คนโก้ ที่ 11 กรกฎาคม 2554, 09:35:01
สวยสะดุดตามากครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: sansuk ที่ 15 กรกฎาคม 2554, 12:38:11
 017 017


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: tar ที่ 21 กรกฎาคม 2554, 12:44:44
เลี่ยมมากเลย จนแสบตา มีเงินอย่างเดียวใช่ว่าจะได้มาครอบครอง
ต้องมีบุญวาสนาพร้อม แม่นบ่ครับเสี่ย  007


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 22 กรกฎาคม 2554, 06:59:41
(http://image.ohozaa.com/i/318/6Tibw.JPG) (http://image.ohozaa.com/view/dtg)

เก็บมาฝากครับ ภาพหายากของท่านอีกภาพ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: aon-ubon ที่ 31 กรกฎาคม 2554, 21:23:51
สุดยอด อิจฉาครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: Kongkrapan ที่ 28 ตุลาคม 2554, 11:23:40
พอดีผมไปเจอเหรียญท่านครับ ดูเหมือนจะเลียนแบบจากเหรียญรุ่นแรกที่ท่านสร้าง
ดูแล้วน่าจะประมาณ ปีพ.ศ. 252... กว่าๆ  (ไม่ชัวร์ครับ)
อยากถามท่านสมาชิกที่รู้ประวัติการสร้างครับ ( ท่าน Ramin น่าจะเฉลยได้ น๊อ )
(ลองบีบอัดภาพใหม่แล้วนะครับ ท่านผู้ดูแล Website )


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: Kongkrapan ที่ 28 ตุลาคม 2554, 22:17:54
ครับ นายช่างใหญ่(Ramin) ไม่ต้องรอขออณุญาตปลูกสร้างกระมังครับ ผมใจร้อนอยากฟังครับ อ้ายพยัคฆ์ VS12 ด้วยครับ 023


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: vs12 ที่ 29 ตุลาคม 2554, 00:21:56
ครับ นายช่างใหญ่(Ramin) ไม่ต้องรอขออณุญาตปลูกสร้างกระมังครับ ผมใจร้อนอยากฟังครับ อ้ายพยัคฆ์ VS12 ด้วยครับ 023
ไม่มีข้อมูลการสร้างครับ ตอบแบบเดา..อ้างอิงเหรียญหลวงปู่คำคะนิง ปี 2524 น่าจะสร้างพร้อมกันโดยหลวงปู่โชติ วัดภูเขาแก้ว


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: vs12 ที่ 29 ตุลาคม 2554, 00:23:59
เหรียญหลวงปู่ดี ฉันโน


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: vs12 ที่ 29 ตุลาคม 2554, 00:26:25
เหรียญหลวงปู่โชติ ครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: vs12 ที่ 29 ตุลาคม 2554, 00:29:52
แถมอีกเหรียญที่ไม่รู้ประวัติการสร้างครับ หลวงปู่ดี ฉันโน


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 29 ตุลาคม 2554, 08:39:10
ครับ นายช่างใหญ่(Ramin) ไม่ต้องรอขออณุญาตปลูกสร้างกระมังครับ ผมใจร้อนอยากฟังครับ อ้ายพยัคฆ์ VS12 ด้วยครับ 023

ใจร้อนจิงๆ ท่านหนังเหนียวคงกระพัน พอดีอินเตอร์เนตของผมล่มไปหลายวัน ไวรัสเข้าคอมฯอีก เลยไม่ได้เข้ามาดู ขอโทษอย่าสูงครับ.......
เหรียญพระอาจารย์ดีที่ถามมานั้น เป็นเหรียญที่หลวงปู่โชติ วัดภูเขาแก้วสร้างขึ้นมาเพื่อสำหรับแจกญาติโยมที่ไปวัดภูเขาแก้ว สร้างเมื่อปี 2525(บางครั้งก็มีคนบอกว่าสร้างปี 2524 แต่แจกปี 2525)
หลังจากที่ท่านสร้างเหรียญหลวงปู่คำคะนิงอีกครับ จำลองรูปแบบเหรียญรุ่นแรกและรุ่นสองที่พระอาจารย์ดีให้สร้าง(แต่มีความแตกต่างกันอยางชัดเจน)
ส่วนเหรียญที่ท่าน vs12 ลงให้ชมล่าสุด สร้างโดยหลวงปู่โชติอีกนั่นเอง สร้างประมาณปี 2525
สำหรับแจกผู้ไปทำบุญที่วัดภูเขาแก้ว รูปแบบเหรียญก้อเปลี่ยนไป ไม่ได้ลอกแบบเหรียญรุ่นเก่ามา
ตอบแค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวจะเรียบเรียงเหรียญพระอาจารย์ดี ที่สร้างโดยหลวงปู่โชติให้ใหม่
ส่วนเหรียญพระอาจารย์ดี ปี 2522 อธิษฐานจิตโดยหลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร นะครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: Kongkrapan ที่ 29 ตุลาคม 2554, 22:42:47
ขอบคุณหลาย เด้อครับ รอฟังต่อครับ
เอ..ว่าแต่ว่า เหรียญหลวงปู่ดี ที่จัดสร้างโดยหลวงปู่โชติ มีเรื่องเล่าอภินิหารหรือเปล่าน้อ
ใครมีเล่าให้ฟังบ้างนะครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ ที่ 30 ตุลาคม 2554, 05:04:53
มีใครอยากได้เหรียญหลวงปู่ดี(รุ่นแรกเลยนะครับ) อีกไหมครับ หากผมมีสวยๆสู้ได้เท่าไหร่ครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ ที่ 30 ตุลาคม 2554, 11:44:17
แท้ไหม(http://)


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: Kongkrapan ที่ 30 ตุลาคม 2554, 14:22:34
ท่าน Kingandya ต้องถ่ายใหม่ครับไม่ชัด


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 30 ตุลาคม 2554, 16:03:51
มีใครอยากได้เหรียญหลวงปู่ดี(รุ่นแรกเลยนะครับ) อีกไหมครับ หากผมมีสวยๆสู้ได้เท่าไหร่ครับ

เหรียญแท้นะครับ น่าจะเป็นบล็อกอิใหญ่ โทรหาผมเลยนะครับ 089-7122477 ตลอด 24 ชั่วโมง
หรือ ส่งภาพมาให้ดูที่ ramin_ut62@hotmail.com รออยู่นะครับ
ขออนุญาตจองคิวแรกแล้วกัน
007


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ ที่ 30 ตุลาคม 2554, 17:27:38
ครับผมจะให้สิทธคุณคนแรก เป็นเหรียญที่สมบูรณ์มากเลย ได้มานานแล้วครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 30 ตุลาคม 2554, 21:56:38
ยินดีด้วยครับพี่รามิน 007


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ ที่ 31 ตุลาคม 2554, 16:10:24
คุณรามินนิมนต์ไปเรียบร้อยแล้งขอรับ[/color][/font][/size][/size]


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ ที่ 31 ตุลาคม 2554, 17:06:39
มีเงินมากใช่ว่าจะได้ครอบครอง หากคนเราถูกใจกันอาจไก้มาฟรีๆก็ได้ ใช่ไหมครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ ที่ 01 พฤศจิกายน 2554, 23:37:11
 หลวงปู่เนย สมจิตโต
วัดป่าโนนแสนคำ
บ้านทุ่งคำ ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 06 พฤศจิกายน 2554, 12:27:57
(http://image.ohozaa.com/i/21b/JFy1j.JPG) (http://image.ohozaa.com/view/4q7pn)

(http://image.ohozaa.com/i/456/ePmt.JPG) (http://image.ohozaa.com/view/4q7pq)

ได้รับแล้วครับ นำมาให้ชมกัน เป็นเหรียญบล็อก "สระอิใหญ่" จริงๆด้วยครับ
           บล็อกนี้ สร้างต่อจากบล็อกแรก"สระอิเล็ก" เมื่อปี 2493 ในโอกาสที่หลวงปู่ดี ฉันโน ท่านสร้างศาลาการเปรียญแบบไม้ หลังเก่า
จำนวนสร้างโดยประมาณไม่เกินสองร้อยเหรียญ สำหรับแบ่งแจกชายและหญิงอย่างละครึ่ง(ร้อยเหรียญ) ด้านหลังแกะบล็อกขึ้นมาใหม่ เนื่องจาก
แม่พิมพ์ชำรุดหรือสูญหายไม่ทราบแน่ชัด  ที่แน่ชัดก็คือความแตกต่างของฝีมือการแกะพิมพ์ทำให้เกิดตำหนิ ซึ่งผู้สะสมรุ่นเก่าใช้เรียกว่า
"บล็อกอิเล็ก" และ "บล็อกอิใหญ่" นั่นเอง  หลังจากนั้นไม่เคยปรากฏว่า ท่านอนุญาตให้สร้างเหรียญรูปเหมือนท่านแต่อย่างใด

         
          ชมสภาพเหรียญทองแดง กาหลั่ยทองอายุ 62 ปี ที่ไม่ผ่านการใช้เลย คงจะอยู่แต่บนหิ้งพระ จนกาหลั่ยทองแห้ง ซีด จนสีออกขาวคล้ายเนื้อเงิน
จุดดำๆ วงใหญ่ๆ น่าจะเกิดจากหยดน้ำตาเทียน ดูแล้วคลาสสิคสวยแบบดั้งเดิม ปราศจากการล้างและตกแต่งใดๆทั้งสิ้น ชมศิลปะของช่างสมัยก่อนแล้วแทบจะวาง
กล้องไม่ลงเลย คงเหลือแต่ขอบตัดของเหรียญ เดี๋ยวลงให้ชมนะครับ ขอบตัดรุ่นเก่า


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ ที่ 06 พฤศจิกายน 2554, 12:38:59
สวยงามจริงๆ ของดีๆต้องคู่ควรกับกรูรู


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 06 พฤศจิกายน 2554, 15:12:22
สวยคลาสิกครับ ท่านได้จำพรรษาอยู่ผู้ที่คู่ควรที่สุดครับ 007 007


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ramin ที่ 14 มกราคม 2555, 19:54:12
หนังสือประวัติท่านหลวงปู่ดี ฉันโนใกล้จะพิมพ์เสร็จแล้ว น่าจะแจกได้ประมาณกลางเดือนหน้า มีแบบสำหรับแจกทั่วไปและแบบพิเศษ(ภาพสีทั้งเล่ม)
กำลังคิดว่าจะแจกเป็นของขวัญปีใหม่ให้เพื่อนสมาชิกที่สนใจ
ลงชื่อไว้ได้เลยครับ ตามลำดับนะครับ 10 ท่านแรกเท่านั้นครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 14 มกราคม 2555, 20:28:53
งั้นก็ขอลงชื่อคนแรกเลยแล้วกันครับ  

TaeUbon  คนแรกครับ  :wan-e007:


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: vs12 ที่ 14 มกราคม 2555, 20:39:32
ลงชื่อคนที่2ครับ 017


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: Kongkrapan ที่ 14 มกราคม 2555, 23:55:28
ลงชื่อคนที่สามเลยครับ 008


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่แม่นเซียนเป็นคนซื้อพระ ที่ 15 มกราคม 2555, 00:02:19
คนที่ 4 ขอบคุณครับ ผม  017 017


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: ทัตโต ที่ 15 มกราคม 2555, 08:27:35
ขอลงด้วยคนครับ 55555


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: เล็ก หัวตะเข้ ที่ 15 มกราคม 2555, 19:51:50
ขอผมด้วยซักคนนะ....คร้าบ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: aon-ubon ที่ 15 มกราคม 2555, 22:27:42
ลงชื่อด้วยครับ 019 019


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: พุทธาคม ที่ 16 มกราคม 2555, 08:21:31
ลงชื่อด้วยครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: สองแสนแสบ ที่ 16 มกราคม 2555, 22:52:19
คนที่9ครับผมพี่อ.รามินคร้าบบบ 017


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: roaddog2007 ที่ 17 มกราคม 2555, 01:59:39
คนสุดท้ายครับ 001


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 17 มกราคม 2555, 09:06:00
เอ้าหมดสิทธิ์เสียแล้วเรา มาช้าตามเคยครับ :wan-e046:


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: MaiUbon ที่ 17 มกราคม 2555, 15:02:19
อ้าวไม่ทันซะงั้น  :wan-e003:


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: chanatip ที่ 17 มกราคม 2555, 16:38:30
 ติดสำรองโครต้า คนที่ 3   :wan-e002:


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ ที่ 19 มกราคม 2555, 11:30:40
เหลือให้พี่ไปรามิน


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: tar ที่ 09 กุมภาพันธ์ 2555, 00:51:19
(http://upic.me/i/nc/p16xx.jpg) (http://upic.me/show/32833309)


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: att ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555, 02:00:28
(http://upic.me/i/hm/dsc03180.jpg) (http://upic.me/show/33058851)
(http://upic.me/i/or/dsc031811.jpg) (http://upic.me/show/33058863)




หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: jaidee2011 ที่ 04 กรกฎาคม 2555, 15:57:34

ไม่ได้เข้ามาดูนาน อยากได้หนังสือประวัติครูอาจารย์ครับ

ไม่ทราบว่ามีแจกอีกไหมครับ  หรือว่าเหลือแจกที่วัดไหนครับ  จะตามไปขอ..  017


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: Gdragon22 ที่ 18 กันยายน 2555, 17:55:13
เป็นรูปวาดที่หลวงปู่ดี ฉันโน ท่านวาดรูปตัวองศ์ท่านเองนะครับ
รูปมันสะท้อนไปหน่อยครับ พอดีรูปอยู่สูงอะครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: Gdragon22 ที่ 18 กันยายน 2555, 18:00:03
รูปใหญ่เกินไป เดียวยังไงรูปต่อๆไปจะแก้ไข้ใหม่นะครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: sawai ที่ 17 สิงหาคม 2556, 14:13:08
(http://upic.me/i/dk/xe4s8.jpg) (http://upic.me/show/46557642)
(http://upic.me/i/jn/79ql8.jpg) (http://upic.me/show/46557648)


ฝากดูด้วยครับ  เผื่อมีใครผ่านเข้ามา  พอดีเพิ่งเป็นสมาชิกใหม่   ไม่ทราบว่าาเป็นเหรียญรุ่นใหนของหลวงปู่ดี  ฉันโนครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: sawai ที่ 17 สิงหาคม 2556, 14:18:16
ทั้งสองภาพเป็นเหรียญเดียวกันครับ  แต่ถ่ายรูปต่างวาระกันครับ 


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 17 สิงหาคม 2556, 17:07:59
หลวงปู่เฒ่า หลวงปู่ทองรัตน์ หลวงปู่ดี แมนองค์เดียวกันบ่ครับ
 :wan-e005: :wan-e005: :wan-e005:


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 17 สิงหาคม 2556, 21:12:08
หลวงปู่เฒ่า หลวงปู่ทองรัตน์ หลวงปู่ดี แมนองค์เดียวกันบ่ครับ
 :wan-e005: :wan-e005: :wan-e005:
หลวงปู่ทองรัตน์และหลวงปู่ดีเป็นคนละองค์ครับ
หลวงปู่ทองรัตน์เป็นศิษย์มหานิกายรุ่นแรกของพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ศิษย์สายหลวงปู่ทองรัตน์ ทั้งนี้ อาทิ หลวงปู่บุญมาก ภูมะโรง  หลวงปู่บุญมี โคราช หลวงปู่่กิ วัดสนามชัย  หลวงปู่สาย วัดป่าหนองยาว หลวงปู่่ชา วัดหนองป่าพง ส่วนหลวงปู่ดีก็เป็นศิษย์พระอาจารย์เสาร์แต่ได้แปลญัตติเป็นธรรมยุติ ศิษย์สายหลวงปู่ดี อาทิ หลวงปู่เคน วัดเมืองเดช หลวงปู่สิงทอง เลิงนกทา ครับ ส่วนหลวงปู่เฒ่าเป็นคำเรียกทั่วไปของพระอาจารย์ผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นต้นกำเนิดของวัดหรือสายนั้นๆครับ อย่างที่วัดภูเขาแก้วพระที่วัดก็จะเรียกหลวงปู่ดีว่าหลวงปู่เฒ่าครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 18 สิงหาคม 2556, 08:28:34
หลวงปู่เฒ่า หลวงปู่ทองรัตน์ หลวงปู่ดี แมนองค์เดียวกันบ่ครับ
 :wan-e005: :wan-e005: :wan-e005:
หลวงปู่ทองรัตน์และหลวงปู่ดีเป็นคนละองค์ครับ
หลวงปู่ทองรัตน์เป็นศิษย์มหานิกายรุ่นแรกของพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ศิษย์สายหลวงปู่ทองรัตน์ ทั้งนี้ อาทิ หลวงปู่บุญมาก ภูมะโรง  หลวงปู่บุญมี โคราช หลวงปู่่กิ วัดสนามชัย  หลวงปู่สาย วัดป่าหนองยาว หลวงปู่่ชา วัดหนองป่าพง ส่วนหลวงปู่ดีก็เป็นศิษย์พระอาจารย์เสาร์แต่ได้แปลญัตติเป็นธรรมยุติ ศิษย์สายหลวงปู่ดี อาทิ หลวงปู่เคน วัดเมืองเดช หลวงปู่สิงทอง เลิงนกทา ครับ ส่วนหลวงปู่เฒ่าเป็นคำเรียกทั่วไปของพระอาจารย์ผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นต้นกำเนิดของวัดหรือสายนั้นๆครับ อย่างที่วัดภูเขาแก้วพระที่วัดก็จะเรียกหลวงปู่ดีว่าหลวงปู่เฒ่าครับ

หลวงปู่ดีเพิ่นเรียนทางธาตุมาก่อนแมนบ่ครับ จั่งมาญัติธรรมยุตินะครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 18 สิงหาคม 2556, 08:44:07
ถูกต้องครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 19 สิงหาคม 2556, 18:17:39
ปู่ทองรัตน์ได้เรียนธาตุบ่ครับ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 20 สิงหาคม 2556, 11:05:42
ปู่ทองรัตน์ได้เรียนธาตุบ่ครับ
บ่เคยได้ยินว่าท่านเรียนธาตุครับ   007